:::

อำพรางการฆ่า: ศิลปะแห่งความขัดแย้งในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

แนะนำผู้เขียน

ณัฐพร ส่งสวัสดิ์ สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาอังกฤษ และวิชาโทวรรณคดีเปรียบเทียบ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย ปัจจุบันเธอทำงานเป็นนักเขียนอิสระและผู้ช่วยวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศไทยที่มุ่งมั่นความยุติธรรมที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในประเทศ

แนะนำหน่วยงาน: มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) (มูลนิธิฯ) ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2545 เป็นมูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไรที่มีสำนักงานใหญ๋ในประเทศไทย มูลนิธิฯ มุ่งสร้างความยุติธรรมที่เท่าเทียมกันสำหรับทุนคนในประเทศไทย พร้อมทำงานอย่างใกล้ชิดกับเครือข่ายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ช่วยให้ชนเผ่าพื้นเมืองและชนกลุ่มน้อยสามารถอยู่ร่วมในสังคมและเสริมสร้างอำนาจให้พวกเขา ขอบเขตภารกิจเฉพาะของ CrCF ดังนี้: ติดตามและตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน, สนับสนุนการส่งเสริมวิสัยทัศน์แห่งความยุติธรรม กล่าวคือ การเสริมอํานาจแก่ประชาชน ช่วยให้ประชาชนเข้าใจและใช้สิทธิของตน, ป้องกันการทรมาน, ปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยกลยุทธ์ทางกฎหมาย ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อยที่อยู่จังหวัดบริเวณชายแดนไทยอย่างเป็นรูปธรรม


"ไม่ว่าพวกเราจะกรีดร้องดังแค่ไหน พวกเขาก็ไม่ได้ยิน"

ข้อความนี้เป็นหนึ่งในข้อความที่เขียนบนผืนผ้าใบทรงว่าว เพื่อทำให้เสียงจากภาคใต้ของประเทศไทยสามารถไปถึงภูมิภาคอื่นได้อย่างแท้จริง ผืนผ้าใบนี้เป็นหนึ่งในงานศิลปะแบบอินเทอร์แอคทีฟที่จัดแสดงในนิทรรศการ“จมหาย” (Submerged).

 “จมหาย” (Submerged) เป็นนิทรรศการศิลปะในจังหวัดปัตตานี ( Patani) ประเทศไทยที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2022 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นภาคใต้ของประเทศไทยและปลุกจิตสำนึกของผู้คน

รูปที่ 1: ถ่ายภาพโดยกลุ่มทะลุฟ้า

รูปที่ 1: ถ่ายภาพโดยกลุ่มทะลุฟ้า

ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสเป็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย มีความขัดแย้งกับรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่อง 85% ของประชากรในพื้นที่นี้เป็นชาวมุสลิม อีก 25 % ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ความขัดแย้งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1902 ขนะนั้นพื้นที่นี้ (เดิมเรียกว่าอาณาจักรปัตตานี) ถูกควบรวมผนวกโดยราชอาณาจักรสยาม ซึ่งก็คือประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมา รัฐบาลไทยเกิดเหตุการณ์ขัดแย้งกับกลุ่มมุสลิมมาเลย์ที่พยายามกู้เอกราชและสร้างรัฐบาลปกครองตนเองปัตตานีมาโดยตลอด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดและทำให้ความขัดแย้งนี้ยืดเยื้อนั้นรวมถึงการที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยมีการปฏิบัติที่อยุติธรรมและการเหยียดชาวมุสลิมมาเลย์ตลอดหลายสิบปี และพวกเขาต้องปฏิบัติตามกฎหมายประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธ โดยที่หน้าที่ทางกฎหมายเหล่านี้ขัดต่อประเพณีอิสลาม

ความขัดแย้งในปัจจุบันเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 1932 โดยมีการโจรกรรมปืนที่ค่ายทหารปิเลงในจังหวัดนราธิวาส อาวุธปืนหลายร้อยกระบอกถูกขโมยและทหารสี่นายถูกสังหาร ต่อมา ระหว่างปี 1932 ถึง ปี 1933 รัฐบาลไทยได้ออกกฎหมายพิเศษสามฉบับในเขตการปกครองที่ชายแดนภาคใต้จำนวน 33 เขต ได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กฎหมายพิเศษเหล่านี้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐสามารถตรวจค้นทรัพย์สิน, จับกุมและกักขัง “ผู้ต้องสงสัย” โดยไม่ต้องมีหมายศาลได้นานถึง 37 วัน ขณะเดียวกันเกิดรายงานเกี่ยวกับการทรมานในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวระบุว่าในช่วงหลายปีที่มีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษสามฉบับนี้ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ร้ายแรงขึ้นมาก สื่อถูกกดขี่ และทางการมีอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ตามใจในพื้นที่ที่ห่างไกลและไม่เป็นที่สนใจแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เปิดโอกาสให้สื่ออิสระในท้องถิ่นและองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่ดำเนินงานในพื้นที่ชายแดนภาคใต้สามารถอยู่ได้มากขึ้น การที่ทางการจะใช้อำนาจรัฐตามอำเภอใจโดยไม่ดึงดูดความสนใจกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation: CrCF) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนและมูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 และให้ความสำคัญและให้ได้มาซึ่งการอยู่ร่วมของชนพื้นเมืองและชนกลุ่มน้อยและประโยชน์ส่วนรวม เนื้อหาการทำงานของมูลนิธิรวมถึงการเคลื่อนไหวต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน การติดตามสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชน และให้คำปรึกษาทางกฎหมายฟรีและความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมแก่กลุ่มเปราะบาง

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยมาโดยตลอด ให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ มีอาสาสมัคร CrCF ท่านหนึ่งตัดสินใจที่จะใช้แนวทางที่แตกต่างออกไปในการริเริ่มการเคลื่อนไหวด้วยโครงการศิลปะของเธอ “อำพรางการฆ่า” (Kills Are Coated)

ณัฐพร ส่งสวัสดิ์  อาสาสมัครสิทธิมนุษยชนที่ CrCF และผู้สร้างสรรค์ผลงาน“อำพรางการฆ่า” (Kills Are Coated) ได้อธิบายว่าโครงการนี้เกิดจากการที่เธอหลงใหลในการเผยแพร่ “ข้อเท็จจริงอีกแง่หนึ่ง”:

คุณณัฐพรกล่าวว่า “ในระหว่างหนึ่งปีที่ฉันเป็นผู้ช่วยทนาย CrCF ฉันมีโอกาสพูดคุยกับผู้รอดชีวิตจากการถูกทรมานหลายท่านและครอบครัวของพวกเขา ฉันสังเกตเห็นว่ากระบวนการทางกฎหมาย แม้แต่เอกสารบันทึก “ข้อเท็จจริง”ของศาล ไม่ได้บันทึกความรู้สึกของผู้ถูกทำร้าย ในความเห็นของฉัน ข้อเท็จจริงอีกแง่หนึ่งที่ถูกปกปิดในนามของ “ความรู้สึก” ควรถูกบันทึกอย่างเหมาะสมเช่นกัน นั่นเป็นเหตุผลที่ฉันคิดโครงการนี้ขึ้นมา”

คุณณัฐพรสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้โดยการถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ของผู้รอดชีวิตจากการถูกทรมานและครอบครัวของพวกเขาในขณะที่พวกเขาเล่าเรื่องราวตนเอง จากนั้นเธอก็แปรความรู้สึกเหล่านั้นให้กลายเป็นเรื่องสั้น 4 เรื่องลงบนผ้าใบสีเขียว สุดท้ายใช้สีดำพ่นคิวอาร์โค้ดลงบนผ้าใบดังกล่าว นำพาผู้ชมไปอ่านบทความข้อเท็จจริงและสถิติการละเมิดสิทธิมนุษยชนชายแดนภาคใต้

รูปที่ 2: เรื่องสั้นที่เขียนด้วยมือ 4 เรื่อง บางส่วนถูกซ่อนภายใต้คิวอาร์โค้ดสีดำ

รูปที่ 2: เรื่องสั้นที่เขียนด้วยมือ 4 เรื่อง บางส่วนถูกซ่อนภายใต้คิวอาร์โค้ดสีดำ

เรื่องสั้นเริ่มเรื่องจากชีวิตประจำวันที่ “ธรรมดา” ของผู้รอดชีวิตจากการถูกทรมาน ผลงานนี้นำเสนอความคิด, ความรู้สึก และอารมณ์ในชีวิตประจำวันของตัวเอกในแต่ละเรื่อง—ชายนิรนาม, แม่คนหนึ่ง และเด็กคนหนึ่ง ในฉากทัศน์ชีวิตประจำวันเหล่านี้ กิจวัตรทั่วไปและเป็นที่คุ้นเคยสอดแทรกสถานการณ์ “ทั่วไป”หลังหรือที่กำลังเกิดขึ้นด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย บนผ้าใบมีคิวอาร์โค้ดปกปิดเรื่องสั้นไว้ด้านหลัง ซึ่งก็คือ “ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง” ของการทารุณกรรม โดยมีจุดประสงค์สองประการ: เพื่อแจ้งให้ประชาชนทั่วไปทราบเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในชายแดนภาคใต้ ขณะเดียวกันเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าเอกสารบันทึก “ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง”ของกระบวนการทางกฎหมาย เพิกเฉยต่อ "ความรู้สึก" เหล่านี้ สำหรับคุณณัฐพรแล้ว วิธีการแบบนี้ไม่สามารถทำให้ประชาชนเห็นภาพรวมของสถานการณ์ชายแดนภาคใต้หรือไม่สามารถทำให้พวกเขารับรู้ความรู้สึกที่คนในพื้นที่เผชิญอยู่

คุณณัฐพรสรุปว่า “ในสังคมของเราที่เต็มไปด้วยอคติและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ฉันต้องการใช้สิ่งที่เป็นคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์ที่สุดเพื่อทำให้กลุ่มชาติพันธุ์อื่นมีความรู้สึกร่วม: ความรู้สึก ฉันหวังว่าผู้คนจากภูมิหลังที่แตกต่างกันจะได้รู้จักกันและมีความรู้สึกร่วมโดยผ่าน“อำพรางการฆ่า” (Kills Are Coated) บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่เรียบง่าย นั่นก็คือเราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ที่รู้สึกเจ็บปวดทรมาณได้ ทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติหรือจุดยืนทางการเมืองใด ไม่ควรถูกทรมาน”

ภาพที่ 3: งานศิลปะแบบอินเทอร์แอคทีฟ คนท้องถิ่นนั่งพักผ่อนในบรรยากาศเสมือนคาเฟ่และทำให้เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะ

ภาพที่ 3: งานศิลปะแบบอินเทอร์แอคทีฟ คนท้องถิ่นนั่งพักผ่อนในบรรยากาศเสมือนคาเฟ่และทำให้เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะ

“อำพรางการฆ่า”เป็นหนึ่งในงานศิลปะ 8 ชิ้นที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยอาสาสมัครสิทธิมนุษยชนรุ่นใหม่ พวกเขาสนใจปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ผลงานเหล่านี้จัดแสดงในนิทรรศการ“จมหาย” (Submerged) เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นเอง สถานที่จัดงานคือปัตตานี อาร์ตสเปซ (Patani Artspace) เป็นแกลเลอรีท้องถิ่นที่ใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้ศิลปะของชุมชน ผู้ก่อตั้งแกลเลอรีคือนายเจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ (Jehabdulloh Jehsorhoh) ศิลปินที่อาศัยอยู่ปัตตานีระยะยาว เขาได้ใช้วิธีสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อต่อสู้กับทารุณกรรมที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

 นิทรรศการ “จมหาย”  (Submerged)ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากผู้เข้าชมทั้งในและต่างถิ่นกว่า 150 คน หลายคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความชื่นชอบต่องานนี้ รวมถึงคุณแม่วัยกลางคนท่านหนึ่งที่เกิดและโตในยะลา น้ำตาซึมเมื่อเธอนึกถึงนิทรรศการดังกล่าว

“พูดตรงๆ นิทรรศการนี้ไม่ใช้แนวคิดที่เปิดศักราชหน้าใหม่ ศิลปินชายแดนภาคใต้ได้ใช้งานศิลปะต่อสู้กับความรุนแรงของรัฐบาลไทยมาช้านาน แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันได้เห็นคนนอกชายแดนภาคใต้มาบ้านเกิดเราจัดงานแบบนี้ มันมีความหมายสำหรับฉันมาก เพราะนั่นหมายความว่าในที่สุดเสียงของเราก็ไปถึงพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ มีคนสนใจเราจริงๆ”

 

ข้อมูลอ้างอิง:

ลิงค์เรื่องสั้น (ภาษาไทย) https://voicefromthais.wordpress.com/2022/06/09/shortstories/

QRcodeลิงค์บทความ (ภาษาไทย) https://voicefromthais.wordpress.com/2022/05/30/coat/

https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1014477

http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2559-2560/PDF/wpa_8216/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203.pdf

https://voicefromthais.files.wordpress.com/2016/02/e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899e0b897e0b8a3e0b8a1e0b8b2e0b899e0b89be0b8b1e0b895e0b895e0b8b2e0b899e0b8b5-2557-2558-1.pdf

https://m.facebook.com/683279248798345/photos/a.684290105363926/1119416695184596/?type=3&_rdr

https://kyotoreview.org/trendsetters/the-impact-of-implementation-of-security-laws-on-civilians-in-the-deep-south-of-thailand/