เกี่ยวกับผู้เขียน ปาซิ่วเฟิน ชาวหรูข่าย ชื่อชนเผ่า: Dresedrese.Celrevege จากชนเผ่าจี๋ลู่ เมืองอู้ไถ มณฑลผิงตง ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการห้องสมุดจงเจิ้งในเมืองอู้ไถ มณฑลผิงตงและพิพิธภัณฑ์หรูข่าย Rukai Museum of Cultural Relics ในเมืองอู้ไถ มณฑลผิงตง แนะนำหน่วยงาน พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรม Rukai ในเมืองอู้ไถ มณฑลผิงตง เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ด้านนอกของอาคารก่อสร้างด้วยวิธีเรียงแผ่นหินแบบดั้งเดิม มีการเก็บสะสมมรดกทางวัฒนธรรม124 ชิ้น รวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิดที่จำเป็นในชีวิตประจำวันแบบดั้งเดิมของชาว Rukai และงานฝีมือที่ประณีต เช่น การทอผ้า งานเย็บปักถักร้อย งานแกะสลักไม้ และงานแกะสลักหิน ตลอดจนการจัดแสดงบ้านหินชนวนแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นสถานที่จำลองขนาดเล็กของวัฒนธรรม Rukai เป้าหมายที่จัดตั้งขึ้น ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ประชาชนเข้าใจและชื่นชมวัฒนธรรม Rukai เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นสถาบันอนุรักษ์วัฒนธรรมถาวรและสถาบันการศึกษาชาติพันธุ์ เพื่อรวมอัตลักษณ์และความรู้สึกเป็นเจ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ และสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาว Rukai เขียนอัตประวัติของตนเอง - ตั้งแต่นิทรรศการพิเศษ Lawbubulu กลับคืนสู่บ้านเกิด ไปจนถึงนิทรรศการพิเศษ Kialreba กลับสู่เมืองอู้ไถ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันได้ร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรม Rukai ในเมืองอู้ไถ มณฑลผิงตง เพื่อจัดงาน 「สมบัติของ Lawbubulu Rukai-นิทรรศการพิเศษมรดกทางวัฒนธรรมร้อยปีจากเมืองอู้ไถคืนสู่มาตุภูมิที่พิพิธภัณฑ์ไต้หวัน」Lawbubuluในภาษา Rukai หมายถึงงานหัตถกรรมประดิษฐ์ขึ้นที่ใช้ประโยชน์ได้จริงหรือมีความสำคัญทางสังคม นิทรรศการนี้เป็นการจัดนิทรรศการใหญ่ครั้งแรกด้านโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง Rukai ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังนำของใช้และสิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของบรรพบุรุษชาวRukai เมื่อร้อยปีก่อนที่จากไปกลับมายังบ้านเกิดเป็นครั้งแรก เพื่อที่จะได้จัดงานนิทรรศการครั้งนี้ขึ้นมา ทางเราได้ดำเนินขั้นตอนการแบ่งรายการโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์ไต้หวันและพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรม Rukai ทั้งยังให้ผู้อาวุโสเข้าไปในคลังพิพิธภัณฑ์ไต้หวันเพื่อตรวจสอบโบราณวัตถุของชนเผ่า มีการจัดประชุมเพื่อคัดเลือกสิ่งของเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ สำรวจวิจัยภาคสนาม ทั้งสองพิพิธภัณฑ์ทำงานร่วมกันเพื่อตีความและดูแล มีการประชุมหารือเกี่ยวกับงานนับครั้งไม่ถ้วน จัดการนิทรรศการ จัดการเปิดงาน และให้ความรู้และฝึกอบรมอาสาสมัคร เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมงานได้สอบถามผู้อาวุโสของชนเผ่าเกี่ยวกับความหมายแฝงและความหมายของโบราณวัตถุทางวัฒนธรรม รวมถึงแหล่งที่มาของวัตถุทางวัฒนธรรม วิธีการที่ชนเผ่าพูด วิธีการใช้งาน วิธีทำและอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการตีความของโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมในนิทรรศการพิเศษนี้ ในระหว่างการสำรวจภาคสนามของชนเผ่าและผู้อาวุโสของชนเผ่าทีมภัณฑารักษ์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวความหมายแฝงทางวัฒนธรรมและความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่อยู่เบื้องหลังโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมชาว Rukai แต่ละชิ้น ในระหว่างการสัมภาษณ์ยังได้ยินคำศัพท์ชาว Rukai หลายคำที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานานหรือเกือบจะลืมไปแล้ว ทำให้เราค้นพบว่านี่ไม่ใช่แค่ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับนิทรรศการเท่านั้น แต่ยังเป็นการเดินทางเพื่อค้นหาตัวเองอีกด้วย
ข่าวสารกิจกรรม

ข้อมูลข่าวสาร
ผู้เขียน: ทีมบรรณาธิการเว็บไซต์ FIHRM-AP เพื่อส่งเสริมการปรองดองและการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ อภิปรายเฟรมเวิร์คแผนปฏิบัติการสมานฉันท์ของพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลีย ชนพื้นเมือง (Indigenous Peoples) ส่วนใหญ่หมายถึง 「คนกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่บนที่ดินผืนหนึ่ง」 พวกเขามีภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาและระบบความรู้ในแบบของตนเอง สร้างสังคม เศรษฐกิจ และนโยบายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และยังคงรักษาสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับดินแดนที่พวกเขาอาศัยอยู่ [1] อย่างไรก็ตาม ในยุคต่อมาได้มีอิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคมเข้ามาแทรก จึงทำให้ชนพื้นเมืองกลายเป็นกลุ่มเปราะบางที่ถูกกดขี่โดยระบอบของลัทธิที่มาจากถิ่นอื่นในประวัติศาสตร์ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ยังคงเผชิญกับความท้าทายในด้านไม่เท่าเทียมกันในสังคม[2] การขาดโอกาสด้านบริการ รวมถึงภาษาและวัฒนธรรมที่สูญหายไป จะต้องเผชิญกับประวัติศาสตร์ที่ยากลำบากอีกครั้งได้อย่างไร (Difficult History) ส่งเสริมความปรองดองระหว่างกลุ่มชนพื้นเมืองและกลุ่มที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง แล้วค่อยนำมาปรับปรุงแก้ไขตามบริบทของวัฒนธรรม การปกครองและสังคม และยิ่งไปกว่านั้นให้เน้นประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก
เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และในฐานะที่พิพิธภัณฑ์เสมือนสะพานแห่งการสื่อสารประเด็นที่เกี่ยวกับผู้คน จะสามารถทำอะไรได้บ้าง? สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (Federation of International Human Rights Museums- Asia Pacific หรือ FIHRM-AP) เพื่อตอบรับกับหัวข้อ "พลังของพิพิธภัณฑ์" (The Power of Museums) ในงานประชุมสมาชิกสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (ICOM) ณ กรุงปรากในปีนี้ ได้ต่อยอดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันด้านสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่นในปี 2020 สำหรับครั้งนี้ FIHRM-AP ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันในธีม “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน" โดยใช้วิธีการอภิปรายทุกเดือน การศึกษาดูงานในสถานที่จริง และงานประชุมเชิงปฏิบัติการสื่อสารอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา5เดือน นอกจากนี้ FIHRM-AP ยังได้เชิญองค์กรพัฒนาเอกชน 12 แห่งและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ 9 แห่งร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายร่วมดำเนินการเพื่อประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศและสิทธิมนุษยชน FIHRM-AP ทบทวนความเหมือนและความต่างระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและพิพิธภัณฑ์ โดยวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนี้คือส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ใช้ประโยชน์จากทั้งสองหน่วยงานในการผลักดันและคิดค้นแผนปฏิบัติการอีกขั้นหนึ่งสำหรับประเด็นสภาพภูมิอากาศและประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน การเรียนรู้ร่วมกันครั้งแรกของกิจกรรมนี้ คุณเฉินซือถิง นักวิจัยสมาคมสหพันธ์เพื่อปฏิบัติการพลเมืองสีเขียว (Green Citizen Action Alliance Association) ได้ถูกรับเชิญให้มาอธิบายประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ จะเห็นได้ว่า กลุ่มพลเมืองมีข้อได้เปรียบเชิงปฏิบัติการในการริเริ่มและสนับสนุนประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ เช่น การผลักดันนโยบาย การแถลงข่าว การอบรมครูผู้ฝึก ฯลฯ นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ฯ ยังได้เชิญคุณหวงซวี่เจ๋อ นักผู้ช่วยวิจัย จากพิพิธภัณฑ์ธ์วิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งชาติ (National Museum of Natural Science) มากล่าวถึงกลยุทธ์การจัดนิทรรศการสภาพภูมิอากาศขึ้นเป็นตัวอย่างในหัวข้อ “นิทรรศการภาพถ่ายเมื่อลมใต้พัดผ่าน เรื่องเล่าแห่งหมู่บ้านไถซี” (When the South Wind Blows—The Documentary Photography of Taixi Village) เพื่ออธิบายว่าพิพิธภัณฑ์ดำเนินการ อภิปรายและวิจัยเรื่องสภาพอากาศอย่างไร พร้อมนำเสนอวิธีคิดและการอ้างอิงในนิทรรศการที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และใช้ช่วงอภิปรายในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่ออภิปรายและแบ่งปันความแตกต่างและจินตนาการระหว่างพิพิธภัณฑ์และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันดำเนินการในประเด็นร่วม ละครเวทีหนึ่งเรื่องสำหรับหนึ่งคน ผสมผสานรูปแบบการสื่อสารและมุมมองที่แตกต่างเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ มีวิธีอื่นในการสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนอกจากข้อริเริ่มขององค์กรพัฒนาเอกชนและประเภทนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์หรือไม่? FIHRM-AP เชิญ “โรงละครโนอิง” (Knowing Theatre) ใช้การแสดงสดในการช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมเกิดการอภิปราย และสื่อสารผ่านการแสดงเพื่อถ่ายทอดความคิดและการโต้ตอบที่หลากหลายมากขึ้น อันดับแรก เขาได้เชิญผู้เข้าร่วมมาแชร์ประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยใช้การแสดงสอดแทรกเพื่อชวนให้คิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภูมิอากาศกับชีวิตประจำวันของผู้คน ใช้การแสดงในการโต้ตอบกับผู้ชม ช่วงท้าย คุณเกาอวี๋เจิน ผู้อำนวยการโรงละคร และคุณเฉินเจิ้งอี อาจารย์สอนละคร ได้มาแบ่งปันตัวอย่างของการออกแบบแผนการเรียนการสอนในชุมชนและโรงเรียน โดยวิธี “การแสดง”สร้างมุมมองและพื้นที่การสื่อสารใหม่ๆ ของพิพิธภัณฑ์กับองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีผลต่อผู้ชมหรือผู้ร่วมประเด็น
งานวิจัย
การทำงานของฉัน ปัจจุบันฉันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมของมูลนิธิวัฒนธรรมไอนุ(The Foundation for Ainu Culture) ซึ่งเป็นนิติบุคคลสมาคมสวัสดิการสาธารณะ อุโปะโปยซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการอยู่ร่วมกันแห่งชาติ (UPOPOY: National Ainu Museum and Park) อุโปะโปยเป็นสถาบันทางวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นในเมืองชิราโออิ ทางตอนใต้ของเกาะฮอกไกโด เป็นสถานที่ระดับประเทศแห่งแรกที่อุทิศให้กับการแนะนำวัฒนธรรมไอนุ อุโปะโปยก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็น "ฐานในการฟื้นฟูและสร้างสรรค์วัฒนธรรมไอนุ" ในขณะเดียวกัน ยังเป็นสัญลักษณ์ของ "การมองไปสู่อนาคต การเคารพในศักดิ์ศรีของชนเผ่าพื้นเมือง และสร้างสังคมที่มีความหลากหลายและมีชีวิตชีวาโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ" (จากเว็บไซต์ UPOPOY) มี "พิพิธภัณฑ์ไอนุแห่งชาติ" (National Ainu Museum)และ "อุทยานไอนุแห่งชาติ" (National Ainu Park) ในอุโปะโปย "อุทยานแห่งชาติ" แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์สนาม เช่น หอแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (Cultural Exchange Hall) หอการเรียนรู้ (Workshop) สตูดิโองานฝีมือ (Crafts Studio) และโคตันแบบดั้งเดิม (Traditional Village) ที่คุณสามารถเยี่ยมชมได้ สัมผัสทัศนียภาพของชีวิตเก่าๆ เรามีหลักสูตรต่างๆ มากมายที่ให้คุณเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และการเดินทางของชาวไอนุตลอดจนศิลปะและงานฝีมือของพวกเขา อุโปะโปยเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2563 ประวัติความเป็นมานั้นมีความเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ดิ้นรนมาเป็นระยะเวลายาวนานของชาวไอนุ เพื่อให้ได้เป็น "ชนพื้นเมือง" ตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่นในที่สุด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เพิ่งเปิดได้เพียง 3 ปี แต่เดิมพื้นที่ชิราโออิมีพิพิธภัณฑ์ "พิพิธภัณฑ์ไอนุ"(The Ainu Museum)อยู่แล้ว ที่ดำเนินการโดยชาวไอนุเอง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้หันหน้าไปทางทะเลสาบโปโรโตะที่อยู่ด้านหน้า จึงได้ชื่อว่า "โปโรโตะ โคตัน" (โคตัน แปลว่า "การตั้งถิ่นฐาน หมู่บ้าน" ในภาษาไอนุ) ที่เกาะฮอกไกโดมีพิพิธภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่แนะนำวัฒนธรรมโดยชาวไอนุ และชิราโออิได้รับเลือกให้เป็นสถานที่สำหรับการก่อสร้างแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2561 มูลนิธิเพื่อการวิจัยและส่งเสริมวัฒนธรรมไอนุ (Foundation for Research and Promotion of Ainu Culture)ซึ่งเป็นองค์กรระดับชาติ และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์ไอนุ(Ainu Museum Foundation) ซึ่งเป็นมูลนิธิทั่วไปที่รับผิดชอบการดำเนินงานโปโรโตะ โคตัน ได้รวมเข้าด้วยกันเพื่อร่วมสร้างระบบปฏิบัติการในปัจจุบัน ฉันเริ่มทำงานที่พิพิธภัณฑ์ไอนุแห่งชาติ ซึ่งเป็นมูลนิธิทั่วไปก่อนการควบรวมกิจการในเดือนเมษายน พ.ศ.2556 ตอนนี้เป็นธุรกิจหลักของ อุโปะโปย นั่นคือพื้นที่ "โคตันแบบดั้งเดิม" ที่คุณสามารถสัมผัสทิวทัศน์ของชีวิตในสมัยโบราณ และมีหน้าที่อธิบายชีวิตดั้งเดิมของชาวไอนุและแนะนำศิลปะแบบดั้งเดิมของชาวไอนุให้ผู้มาเยี่ยมชม เป็นต้น
แนะนำผู้เขียน 【ทาดะยูกิ โคมาอิ (Tadayuki Komai) 】 เกิดปี 1972 ในเมืองโกเซะ จังหวัดนารา ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 1998 เขาก็เป็นภัณฑารักษ์ตอนขณะที่พิพิธภัณฑ์ฯ พึ่งเปิด และในปี 2015 ได้เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯ เขาทำให้แนวคิดการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเผยแพร่ไปทั่วโลกผ่านกิจกรรมสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติและ”มรดกความทรงจำของโลก” เขาเป็นอาจารย์สอนเรื่องว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสถาบันสตรีโกเบ และเป็นผู้ร่วมประพันธ์หนังสือ: “ที่มาของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ” ฉบับใหม่ (สำนักพิมพ์ Jiefang, 2022), “ความอบอุ่นและแสงสว่างของคำแถลงสมาคม เซนโกกุซุยเฮฉะ” (สำนักพิมพ์ Jiefang, 2012),“ปัญหาบุราคุสมัยใหม่” (“สัมมนาปัญหาบุราคุในญี่ปุ่นสมัยใหม่ 1 (หมายเหตุ 2)” สำนักพิมพ์ Jiefang, 2022) “พิพิธภัณฑ์สุ่ยผิงเซ่อ” (Suiheisha History Museum) พิพิธภัณฑ์สุ่ยผิงเซ่อ (พิพิธภัณฑ์ฯ) เปิดทำการ ณ คาชิฮาระ เมืองโกเซะ จังหวัดนารา เดือนพฤษภาคม 1998 ซึ่งเป็นสถานที่ก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูต่อยอดวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและเผยแพร่แนวคิดสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการเหยียดและสิทธิมนุษยชน เดือนกันยายน 2015 พิพิธภัณฑ์ฯ เข้าร่วมการประชุม FIHRM( สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ) เป็นครั้งแรกที่เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ และเดือนธันวาคมในปีนั้นได้กลายเป็นองค์กรญี่ปุ่นแห่งแรกที่เข้าร่วม FIHRM จากนั้นพิพิธภัณฑ์ฯ จะผลักดันกิจกรรมต่างๆ เพื่อแบ่งปันการ “แสวงหาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสันติภาพ” กับทั่วโลก ซึ่งเป็นปรัชญาการก่อตั้งสมาคม เดือนพฤษภาคม 2016 ในที่ประชุม ICOM (สมัชชาสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ) กับการประชุมสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ (FIHRM) ณ เมืองโรซาริโอ (อาร์เจนตินา) สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะได้แนะนำ “สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะและฮยองพยองซา-บันทึกข้ามพรมแดนของผู้ที่ถูกรังเกียจ(ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ 5 ประเด็นที่พิพิธภัณฑ์ฯ รวบรวมไว้นั้น) บันทึกดังกล่าวถูกขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจำของโลก(Memory of the World)” แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของยูเนสโก ตอนนี้ยังพยายามที่จะขอขึ้นทะเบียนในกลุ่มระหว่างประเทศ วันที่ 3 มีนาคม 2022 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งก่อตั้ง สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ พิพิธภัณฑ์ฯ ได้เปิดให้เข้าชมอีกครั้ง คำนำ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1922 ณ หอประชุมเมืองเมืองเกียวโต ได้จัดตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะขึ้น เพื่อมุ่งแสวงหาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาพ ผู้ก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเป็นคนหนุ่มสาวที่เกิดและโตที่เขตคาชิฮาระ เมืองโกเซะ จังหวัดนารา การก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะมีเป้าหมายเพื่อขจัดการเหยียดบุราคุ (ชนชั้นที่ถูกเหยียดในสังคมญี่งปุ่น), ส่งเสริมเสรีภาพและความเสมอภาพ, สร้างแนวคิดสิทธิมนุษยชน, เคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยบุราคุ คนรุ่นก่อนที่ได้เข้าร่วมความเคลื่อนไหวสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะได้สานต่อจิตวิญญาณนี้ เพื่อให้กระบวนการต่อสู้ของพวกเขาเป็นที่รับรู้ของคนรุ่นหลัง เดือนพฤษภาคม 1998 เงินทุนสนับสนุนจากทั่วประเทศได้สถาปนาพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ซุยเฮฉะขึ้นมา ณ คาชิวาบาระซึ่งเป็นสถานที่ก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ (เปลี่ยนชื่อเป็นพิพิธภัณฑ์สุ่ยผิงเซ่อในปี 1999) ปรัชญาการก่อตั้งก่อที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน คำแถลงการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเรียกร้องให้ “เคารพผู้อื่นเพื่อปลดปล่อยตนเอง” และส่งเสริม “ให้โลกมนุษย์มีความอบอุ่น มนุษย์มีความผ่องใส” เป็นคำแถลงสิทธิมนุษยชนฉบับแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและโลกที่เรียกร้องโดยผู้ถูกเหยียด ปรัชญาการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะคือการทำให้อัตลักษณ์(identity)จากทุกฐานะชนชั้นเป็นที่ยอมรับในสังคม, ร่วมสร้างสังคมที่ไร้การเหยียด สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ได้รับการตอบรับจากบุราคุมิน(Burakumin) ทั้งทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกร่วม เป็นการสร้างแรงกระตุ้นและความกล้าหาญให้กับชาวเกาหลีในญี่ปุ่น, ชาวโอกินุ, ชาวไอนุและผู้ป่วยโรคเรื้อนที่เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชนด้วยตนเอง กระทั่งส่งผลกระทบต่อ “ชาวแบกจอง(Pekuchon)”ที่ถูกเหยียดในเกาหลี เดือนเมษายนปี 1923 นำโดยชาวแบกจองเป็นหลักได้ก่อตั้งสมาคมฮยองพยองซา(Hyonpyonsa) ประวัติการสร้างพันธมิตรระหว่างสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะและสมาคมฮยองพยองซาเป็นบันทึกขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน, เสรีภาพ, ความเสมอภาค, ภราดรภาพ และประชาธิปไตยตามหลักสากล ข้อมูลประวัติศาสตร์การสร้างพันธมิตรนี้ปรากฎให้เห็นที่“สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะและฮยองพยองซา-บันทึกข้ามพรมแดนของผู้ที่ถูกปฏิบัติต่างในปี 2016 ถูกขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจำของโลก” แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของยูเนสโก นอกจากนี้และการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะยังเป็นที่จับตามองของสื่อต่างประเทศอีกด้วย เมื่อวันที่ 5 กันยายน 1923 นิตยสารเดอะเนชั่น (The Nation) ของอเมริกาตีพิมพ์คำแปลภาษาอังกฤษที่แนะนำคำแถลงสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ อะไรคือการเหยียดบุราคุที่สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะต้องการขจัด สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะมีแนวคิดตามคำแถลงการก่อตั้ง เป้าหมายของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะคือปลดปล่อยการเหยียดบุราคุที่ “บุราคุมิน” (ผู้ที่มาจากชนชั้นที่ถูกเหยียดในสังคมญี่งปุ่น) กลุ่มน้อยประสบอยู่ในสังคม ที่มาของการเหยียดบุราคุเกิดจากระบบชนชั้นในญี่ปุ่นก่อนยุคสมัยใหม่(pre-modern era) ชนชั้นที่ถูกเรียกว่า “เอตะ(穢多)”จะถูกสังคมดูแคลน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าญี่ปุ่นสมัยใหม่ยกเลิกระบบชนชั้นทางกฎหมาย ชนชั้น “เอตะ(穢多)” ถูกยกเลิก ในปี 1871 แล้ว แต่ในสังคมเมืองสมัยใหม่(Civil Society) การเหยียดบุราคุมินที่เปลี่ยนชนชั้นใหม่แล้วกลายเป็นปัญหาสังคมดเฉพาะในสังคมญี่ปุ่น การเหยียดบุราคุถูกมองว่ามีความคล้ายคลึงกับการเหยียด “ผู้ที่แตะต้องไม่ได้(Untouchables)” “ผู้อยู่นอกวรรณะ(outcasts)”และ “ทลิต(Dalit)” (*ผู้ที่แตะต้องไม่ได้, ผู้อยู่นอกวรรณะและทลิตเป็นคำเรียกผู้ถูกเหยียดที่แตกต่าง แต่ไม่ได้หมายรวมถึงชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน) ตามระบบวรรณะในอินเดีย นอกจากนี้ มาตรา 14 รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นที่ประกาศใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1946 ตีความว่าการเหยียดบุราคุเป็นการเหยียดที่เกี่ยวข้องกับ “ฐานะทางสังคมและภูมิหลังครอบครัว” ดังที่ปรากฎใน “อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ(ICERD)” ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 20 เห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม 1965 การเหยียดบุราคุมินถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม การเหยียด “ชั่วอายุคน(descent)” การขจัดการเหยียดไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เป็นปัญหาสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ปี 1868 ญี่ปุ่นใช้ “การปฏิรูปเมจิ” (*1868เป็นจุดเริ่มต้น มิได้เกิดขึ้นในปีนี้อย่างเดียว) เป็นจุดเริ่มต้นของประเทศสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม การเหยียดชนชั้นก่อนยุคสมัยใหม่กลายเป็นกฎเกณฑ์ในการเหยียดรูปแบบใหม่ในสังคมยุคใหม่ (*การใช้คำประธานจะทำให้เข้าใจผิด การเหยียดมิได้เกิดจาก “การจัดการ” แต่มันเกิดขึ้นเองขณะที่กฎเกณฑ์ทางสังคมเกิดขึ้นใหม่) แต่สังคมสมัยใหม่ยังคงมีการเหยียดบุราคุมินอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราวปี 1900 การเหยียดบุราคุรุนแรงขึ้นอย่างมาก รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้เริ่มใช้นโยบายจากบนสู่ล่างปรับเปลี่ยนบุราคุเพื่อแก้ไขปัญหาการเหยียดบุราคุมิน และช่วยให้บุราคุมินและผู้ที่มิใช่บุราคุมินอยู่ร่วมกันได้ แต่บุราคุมินยังไม่พอใจเพียงแค่นี้ หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทุกภาคส่วนเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อแสวงหาเสรีภาพ, ความเสมอภาคและภราดรภาพ โดยหวังว่าการปลดปล่อยบุราคุมินจะเกิดขึ้นจริง ผู้ผลักดันให้เกิดการปลดปล่อยบุราคุก็คือสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ เป้าหมายคือทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นจริง แม้ว่าหลังปี 1942 สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะจะไม่มีสถานะทางกฎหมายแล้ว แต่ปรัชญาการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะที่มุ่งแสวงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมกันยังคงสืบทอดต่อไป การเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยบุราคุยังคงดำเนินการต่อเนื่อง ในปี 1948 “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”ที่สหประชาชาติได้ผ่านนั้นได้วางหลักการสิทธิมนุษยชน ในปี 1995 เริ่มผลักดัน “ทศวรรษสหประชาชาติเพื่อการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน” ในปี 2005 สหประชาชาติริเริ่ม “การทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นกระแสหลัก” ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดผลกระทบมากเลยทีเดียว ทำให้กระแสสิทธิมนุษยชนเป็นความเห็นร่วมของประชาคมโลก และในปี 2015 การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน สมาชิกทุกคนลงมติเป็นเอกฉันท์ผ่านเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนSDGs เพื่อสร้างโลกที่ไม่มีคนถูกกีดกัน(leave no one behind) มีเป้าหมายให้คนทุกคนบนโลกใบนี้สามารถกินดีอยู่ดีใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในอนาคต เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีสิทธิมนุษยชนเป็นคำสำคัญ พร้อมได้กำหนดเป้าหมาย 17 ประการและโครงการชี้วัด 169 นี่มีความสอดคล้องกับ “แนวความคิด” ของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะที่มองว่า “รู้ถึงหลักการความเป็นมนุษย์และมีการมุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ขั้นสูงสุดเป็นเป้าหมาย” ในฐานะเป็นพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่นแห่งแรกที่เข้าร่วมสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ (FIHRM) พิพิธภัณฑ์ฯ ได้เผยแพร่แนวคิดการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะไปทั่วโลก โดยผ่าน “มรดกความทรงจำของโลก” และกิจกรรมของFIHRM พิพิธภัณฑ์ฯ ใช้นิทรรศการและการถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ได้มาซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กิจกรรมเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์กร คาชิวาบาระซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ฯ ในปี 1999 ได้มีการสถาปนาสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะท้องถิ่น โดยมีบุคคลจากองค์กรต่างๆ เป็นองค์ประกอบและมีคณะกรรมการปกครองตนเองเป็นแกนหลัก สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะท้องถิ่นได้ปรับภูมิทัศน์ในสวนสาธารณะใกล้เคียงกับพิพิธภัณฑ์ฯ ให้มีความเขียวขจี เพื่อต้อนรับผู้มาเยือนอย่างอบอุ่น นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ฯ และเพื่อเป็นการรักษาและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ฯ กลุ่มบุคคลด้านการศึกษา, กีฬา, ศาสนา, ธุรกิจ, สหภาพแรงงาน ฯลฯ ในจังหวัดนาราได้ก่อตั้งคณะสบทบพิพิธภัณฑ์ฯ (*ประธานประโยคผิด)”สหพันธ์จังหวัดนาราพันธมิตรเพื่อปลดปล่อยบุราคุ” (สหพันธ์ฯ) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มในเครือของคณะสบทบพิพิธภัณฑ์ฯ มีพื้นฐานมาจากจิตวิญญาณของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะและสืบทอดการเคลื่อนไหวการปลดปล่อยบุราคุ ทุกปี สหพันธ์ฯ จะซื้อตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ เพื่อเพิ่มยอดจำนวนคนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ นอกจากนี้ หนึ่งในกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ ประกอบกับมีการปรับปรุงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ฯ สหพันธ์ฯ ได้ช่วยทบทวนเนื้อหานิทรรศการ พร้อมพิจารณาความคิดเห็นจากมุมมองต่างๆ เพื่อทำให้เนื้อหาของนิทรรศการมีความสมบูรณ์มากขึ้น สร้าง “ความประทับใจ” แก่ผู้เยี่ยมชมจำนวนมาก นิทรรศการ“ปัจฉิมกถา(epilogue)”หลังการปรับปรุง นิทรรศการ ได้นำเสนอวลีอันจับใจของบุคคลที่มีชื่อเสียงและรวบรวม “คำพูดที่เป็นที่จดจำ”ของประชาชนทั่วไป บนผนังสีขาวใช้ตัวอักษรนูนคงที่จัดแสดงวลี “โลกมนุษย์ที่อบอุ่นกว่าเดิม” เป็นต้น ซึ่งเป็นคำพูดที่สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเรียกร้อง (โปรดดูภาพประกอบด้านล่าง) นอกจากนี้ บนหน้าจอขนาดใหญ่ 5 จอที่ติดตั้งบนผนังได้โชว์ประโยคที่ผู้มาเยือนรู้สึกจับใจ” เปลี่ยนไปเรื่อยๆ นิทรรศการได้รับขนานนามว่าเป็น “พิพิธภัณฑ์ศิลปะภาษา” จากนี้ไปจะเปิดรับ“คำพูดที่สร้างความประทับใจ” เช่นนี้ให้บุคคลทั่วไปนำเสนอได้ต่อเนื่อง โดยหวังว่าพื้นที่ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมนี้ จะเป็นพื้นที่ส่วนรวมสำหรับทุกคนในการแบ่งปันแนวคิด “การทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นจริง” สร้างโลกมนุษย์ให้อบอุ่นกว่าเดิม นับตั้งแต่ปี 1992 หลังการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ การเคลื่อนไหวเพื่อขจัดการเหยียดบุราคุและการเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 100 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาญี่ปุ่นในปัจจุบัน ชนกลุ่มน้อยที่ถูกเหยียดที่ก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะยังคงถูกเหยียดเมื่อมีการแต่งงานหรือทำสัญญาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ พูดได้ยากว่าได้ขจัดการเหยียดให้หมดสิ้นไปแล้ว นอกจากนี้ ขณะนี้ยังมีพฤติกรรมแย่ๆ เกิดขึ้น คนทั่วไปมีอคติพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเกี่ยวข้องกับบุรา อคตินี้ถูกใช้ไปในทางที่ผิด เช่น การใช้ข้ออ้างว่าเข้าใจบุราคุมินไม่เพียงพอ เพื่อขายหนังสือราคาแพงลิ่ว ฯลฯ ทั้งหมดนี้ เป็นการอ้างปัญหาบุราคุมิเพื่อได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม หรือขอให้คนอื่นเป็นทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของพวกเขา พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเหตุทำให้เกิดอคติและความเข้าใจผิด จนกระทั่ง บนอินเทอร์เน็ตมีข้อความใส่ร้ายป้ายสีบุราคุมินอย่างไม่จบไม่สิ้น เป็นสาเหตุทำให้ปัญหาการเหยียดรุนแรงยิ่งกว่าเดิม ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ในปี 2016 ญี่ปุ่นจึงได้ปรับแก้ “กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 3 ฉบับ” ประกอบด้วย “พระราชบัญญัติว่าด้วยผลักดันขจัดการเหยียดบุราคุ”, “พระราชบัญญัติว่าด้วยขจัดเหยียดคนพิการ” และ “พระราชบัญญัติว่าด้วยขจัดวาจาสร้างความเกลียดชัง” ในปี 2019 ได้มีการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วย “มาตรการส่งเสริมชาวไอนุ” ในสภาพการเหยียดบุราคุในปัจจุบันและการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง การปลดปล่อยบุราคุและความเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนได้เชื่อมโยงกันผ่านเครือข่ายชุมชนที่สร้างขึ้นในแต่ละพื้นที่ ยังมีความพยายามที่จะขจัดการเหยียดเป็นแกนหลัก โดยมีจังหวัดนาราเป็นฐานทัพอีกครั้ง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องสู่ภายนอก พิพิธภัณฑ์ฯ ร่วมมือกับความเคลื่อนไหวนี้ พร้อมรับบทเป็นฐานทัพในการเผยแพร่ข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชน รับเอาความมุ่งมั่นที่จะได้มาซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และจิดวิญญาณอันแน่วแน่ที่ไม่ยอมจำนงต่อการเหยียดของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ พร้อมฝากฝังความคิดนี้ส่งต่อสู่อนาคต หวังว่าเราจะมี“โลกมนุษย์ที่อบอุ่นกว่าเดิม”ตามที่สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะคาดหวังไว้ ร่วมทำให้อุดมการณ์ในการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเกิดขึ้นจริง ร่วมสร้างสังคมที่โอบอ้อมอารี ให้ทุกคนมีชีวิตเป็นของตัวเอง ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เรามั่นใจว่าผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ฯ จะเห็นด้วยและมีความรู้สึกร่วมกับแนวนี้ของเรา “ขอให้โลกมนุษย์มีความอบอุ่น เมืองมนุษย์มีความผ่องใส”
คำนำ FIHRM มีวัตถุประสงค์ในการสถาปนาขึ้นเพื่อให้ผู้คนหันมาสนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และสนับสนุนให้พิพิธภัณฑ์มีส่วนร่วมในประเด็นด้านประชาธิปไตยและความครอบคลุม งานประชุม FIHRM ประจำปี 2022 จัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ณ เมืองออสโล โดยมีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนแห่งนอร์เวย์ (Demokratinetverket) เป็นเจ้าภาพจัดงาน ระยะเวลาประชุม 3 วัน ทั้งนี้ สถานที่จัดงานประชุมได้ถูกเลือกให้จัดที่พิพิธภัณฑ์รัฐธรรมนูญไอด์สโวลล์ 1814 (Eidsvoll 1814), ศูนย์สันติภาพโนเบล (Nobel Peace Center) และศูนย์การศึกษาความหายนะของชาวยิวและชนกลุ่มน้อยแห่งนอร์เวย์(The Norwegian Center for Holocaust and Minority Studies) จึงมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่ง งานประชุมเริ่มด้วยการหารือว่าในพื้นที่ที่มีการกดขี่สิทธิมนุษยชนและแนวคิดคิดประชาธิปไตย จะใช้วิธีการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงการปกครองตนเองและความคล่องตัวของพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร ระหว่างพิพิธภัณฑ์ รัฐบาล และชุมชนควรมีความสัมพันธ์แบบใด มีแรงกดดันแบบไหนต่อการพัฒนา? พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนจะกำหนดบทบาทของตนได้อย่างไร และจะมีปฏิสัมพันธ์กับประเด็นที่มีความขัดแย้งได้อย่างไร ส่วนที่สองแสดงถึงสถานการณ์ปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก แก้ไขปัญหาการเปิดกว้างหรือการกีดกันเชิงสังคม วัฒนธรรม และการเมืองจากมุมมองที่แตกต่างกัน เสนอแนวทางหรือกลยุทธ์ที่เปิดกว้างที่เป็นไปได้แก่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน ผู้เข้าร่วมประชุมมาจากยุโรป,เอเชียและสหรัฐอเมริกา คุณหงซื่อฟาง ประธาน FIHRM-AP และผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไต้หวัน และ คุณเทนซิน ท็อปเดน (Tenzin Topdhen) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทิเบตซึ่งเป็นสมาชิกสาขาภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ฯลฯ ต่างได้เข้าร่วมงานประชุมดังกล่าว พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์และวิธีการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง โดยหวังว่าจะสามารถแก้ไขหารือปัญหาความครอบคลุมในพื้นที่พิพิธภัณฑ์และสังคมโดยรวม โดยมีพิพิธภัณฑ์เป็นจุดเริ่มต้นของการมุ่งมั่นส่งเสริมและสร้างสังคมที่เท่าเทียมกัน พิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญกับแรงกดดันและความท้าทายทั้งภายในและภายนอกในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ทุกคนเท่าเทียมกันเป็นอุดมคติของจิตวิญญาณที่ขาดไม่ได้ในสังคม อย่างไรก็ตาม หนทางสู่ยูโทเปียยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรค พิธีเปิดในวันแรก คุณแคทริน แปบส์ต (Kathrin Pabst) ประธานคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยความขัดแย้งทางจริยธรรมแห่งสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (ICOM International Committee on Ethical Dilemmas : IC Ethics) และผู้จัดนิทรรศการอาวุโสของพิพิธภัณฑ์เวสท์-แอกเดอร์ (Vest-Agder Museum) ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนอาจต้องเผชิญ พิพิธภัณฑ์มักจะต้องเผชิญหน้ากับแรงกดดัน 5 ประการคือความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมวงการ, ความพยายามลบล้างอดีต, การแทรกแซงทางการเมืองอย่างกะทันหัน, สงคราม, และความพยายามที่จะทำลายและปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศชนิดใดชนิดหนึ่ง แรงกดดันเหล่านี้มีที่มาจากทั้งภายในและภายนอก ภายในจากบุคลากรภายในพิพิธภัณฑ์ ส่วนภายนอกมากจากสังคมท้องถิ่นและรัฐบาล อย่างไรก็ตาม วิกฤตก็คือโอกาส แม้ว่าการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนเผชิญกับความท้าทายต่างๆ แต่แรงกดดันสามารถเป็นตัวเร่งในการส่งเสริมกระบวนการดังกล่าวได้เช่นกัน คุณเจ็ทเต้ แซนดาห์ล (Jette Sandahl) ประธานคณะกรรมการงานประชุมพิพิธภัณฑ์ยุโรป (European Museum Forum) ให้แนวทางว่าพิพิธภัณฑ์ควรรับมือกับความท้าทายอย่างไร เธอชี้ให้เห็นว่าก็เพราะพิพิธภัณฑ์กำลังเผชิญกับแรงกดดันและวิกฤตมากมาย ยิ่งต้องสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว, ควรพยายามขจัดคติข้อยกเว้นที่มีมาหลายศตวรรษที่ผ่านมา, อย่าใช้แนวความคิดเดิมๆ ควรกล้าที่จะก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซน, มองหาพันธมิตรที่จะก้าวไปด้วยกัน, บนเส้นทางแห่งสิทธิมนุษยชนไม่ควรมีคนเป็นข้อยกเว้น บุคลากรของพิพิธภัณฑ์ควรกล้าที่จะต่อต้านการที่หน่วยงานภายในพิพิธภัณฑ์ไร้ความกระตือรือร้นหรือสมรู้ร่วมคิดกับผู้มีอำนาจ พร้อมยืนหยัดด้วยความเชื่อมั่นอันแน่วแน่และใช้พลังส่วนรวมแก้ไขอุปสรรคและความขัดแย้ง ยืนยันที่จะสู้ต่อไป พิพิธภัณฑ์จะแสดงจิตวิญญาณแห่งความสามัคคีออกมาได้อย่างไร ลำดับต่อไป นักวิชาการจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติลิเวอร์พูล(National Museums Liverpool) และมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (University of Leicester) จะยกตัวอย่างในการปฏิบัติจริง พิพิธภัณฑ์ได้ร่วมมือกับวงการอื่นเพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงริมทะเล พิพิธภัณฑ์แห่งชาติลิเวอร์พูล(National Museums Liverpool) และมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (University of Leicester) ร่วมกันหารือโครงการปรับปรุงริมทะเล(Waterfront Transformation) โครงการนี้เป็นตัวอย่างการใช้พลังส่วนรวมที่ดีที่สุด การร่วมกันผลักดันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นผ่านความร่วมมือและความพยายามในทุกด้าน เพื่อก้าวสู่สังคมที่เท่าเทียมกัน โครงการปรับปรุงริมทะเลมุ่งมั่นที่จะทำให้พิพิธภัณฑ์เชื่อมโยงกับสังคมร่วมสมัย โดยเริ่มจากริมทะเลอันเป็นเอกลักษณ์ของลิเวอร์พูล เชื่อมโยงเรื่องเล่า, มรดก, ชุมชนและการท่องเที่ยวอันเป็นสัญลักษณ์ของลิเวอร์พูล นอกจากการสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้แก่นักท่องเที่ยว ยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการปรับปรุงชุมชนและสิ่งแวดล้อม นี่ไม่ใช่เพียงแค่โครงการความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ยังได้รวบรวมพลังของคนท้องถิ่น ร่วมกันสร้างเมืองริมทะเลแห่งลิเวอร์พูลที่ผสมผสานความเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน