:::

เมื่อเผชิญกับประเด็นที่ยากลำบาก พิพิธภัณฑ์แสดงพลังปฏิบัติการ: มุมมองในงานประชุม ICOM ณ กรุงปราก

ICOM PRAGUE

ICOM PRAGUE

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา งานประชุมสมาชิกสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (International Council of Museums- ICOM) ในปีนี้ ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากโรคโควิด-19 แพร่ระบาดทั่วโลก หลังจากรอคอยมาเกือบสามปี งานประชุมครั้งที่ 28 นี้ใช้ “พลังของพิพิธภัณฑ์” เป็นหัวข้อ โดยที่ประเด็นที่ถกเถียงถึงนั้นล้วนเป็นประเด็นใหม่สำหรับวงการพิพิธภัณฑ์และสังคมโดยรวม บนเวทีหลักมีหัวข้อที่สอดคล้องกัน 4 ประการ: "พันธกิจ: พิพิธภัณฑ์และภาคประชาสังคม", “ความยั่งยืน: พิพิธภัณฑ์และความเข้มแข็ง”, “วิสัยทัศน์: พิพิธภัณฑ์และความเป็นผู้นำ”, “ความสำเร็จ: พิพิธภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่" เป้าหมายคือนอกเหนือจากกิจกรรมทางวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ในฐานะชุมชนรูปแบบหนึ่งจะมีส่วนร่วมในการถงเถียงด้านอื่นอย่างลึกซึ้งและเต็มที่ได้อย่างไร

ในฐานะหนึ่งในสมาชิกของชุมชนพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวันได้เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้เพื่อแนะนำวิธีการศึกษาเชิงปฏิสัมพันธ์ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์นี้ เป็นผู้นำในการส่งเสริมความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความยุติธรรมในการเปลี่ยนแปลง (Transitional Justice)  และให้ความสำคัญกับการพัฒนาของความยุติธรรมในการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ตลอดงานประชุมทั้ง 3 วัน หลังจากที่คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์รำลึกเหยื่ออาชญากรรมสาธารณะระหว่างประเทศ (International Committee of Memorial Museums in Remembrance of the Victims of Public Crimes: ICMEMO) ได้อภิปรายเนื้อหาหัวข้อ คณะกรรมการนี้ยังได้กล่าวถึงประเด็นเร่งด่วนบางประการที่พึงใส่ใจอย่างยิ่งระหว่างประชุม

พิพิธภัณฑ์และการมอบอำนาจแก่ตนเอง: การช่วยเหลือในยามสงคราม

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ กองกำลังทหารรัสเซียใช้กำลังบุกโจมตียูเครนตะวันออก คร่าชีวิตผู้คนนับหมื่น จากนั้นองค์กรด้านวัฒนธรรมของยูเครนก็ถูกโจมตีเช่นกัน หอจดหมายเหตุและสิ่งบันทึกตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ คุณมาทะ ฮาฟูลี่ซือเคอ (Marta Havryschko) ผู้อำนวยการสถาบันบาบินยาร์สหวิทยาการศึกษา (Babyn Yar Interdisciplinary Studies) อพยพหนีจากยูเครนไปสวิตเซอร์แลนด์ เธอใช้ภาพกราฟแสดงจำนวนองค์กรด้านวัฒนธรรมที่ถูกทำลายหรือเสียหายช่วงสงคราม : พิพิธภัณฑ์ 36 แห่ง, สถาปัตยกรรมศาสนา 165 แห่ง และสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ 219 แห่ง ทั้งนี้จำนวนดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สงครามเปลี่ยนแปลงชีวิตและการดำรงชีวิตของผู้คน ทั้งได้เปลี่ยนวิธีการที่พิพิธภัณฑ์สนับสนุนชุมชน พิพิธภัณฑ์และองค์กรต่างๆ ของยูเครน เช่น ศูนย์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์บาบินยาร์ (Babyn Yar Holocaust Memorial Center) เริ่มเป็นศูนย์พักพิงและแบ่งปันอาหารอุ่นๆ และงดจ่ายเงินเดือนเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนในยูเครน นอกจากการให้ความช่วยเหลือพลเมืองแล้ว ศูนย์อนุสรณ์นี้ยังรวบรวมคำกล่าวหารัสเซียผ่านหน่วยงานยุติธรรมต่าง ๆ เช่น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรุงเฮก และแปลงเอกสารของยูเครนให้เป็นไฟล์ดิจิทัล การแปลงข้อมูลให้เป็นไฟล์ดิจิทัลกลายเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่สุดของพิพิธภัณฑ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะในยามสงคราม ถึงแม้ว่าสถานการณ์ในยูเครนจะยากลำบากจนมิอาจจินตนาการได้ แต่คุณฮาฟ์รีจโคก็ได้เป็นแบบอย่างให้เห็นว่าในช่วงเวลายากเย็นแสนเข็นเยี่ยงนี้ พิพิธภัณฑ์และองค์กรด้านวัฒนธรรมของยูเครนยังแสดงให้เห็นศักยภาพของพิพิธภัณฑ์ที่สามารถเป็นมากกว่าพื้นที่แห่งการเรียนรู้

พิพิธภัณฑ์และโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง: การปลูกฝังแนวคิดทางการเมืองในพื้นที่ที่ดูเหมือนจะเป็นกลาง

พิพิธภัณฑ์ในฐานะที่เป็นตัวเก็บรวมวัฒนธรรมและความรู้ มีหน้าที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ปัจจุบันหรือเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ สื่อสารข้อมูลที่เป็นกลาง ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบวัตถุสิ่งของหรือข้อความตัวอักษร จะปรากฏแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องราวและประสบการณ์ของปัจเจกบุคคล งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าการที่พิพิธภัณฑ์จัดนิทรรศการหรือตัวพิพิธภัณฑ์เองยากที่จะมีความเป็นกลาง ด้วยวิธีการและการจัดแสดงมีมุมมองการบอกเล่าที่เฉพาะเจาะจง ศาสตราจารย์ปาเวล มาโชวิคซ์[1] (Pawel Machcewicz) ยกตัวอย่างประสบการณ์ของเขาในการสร้างพิพิธภัณฑ์สงครามโลกสองครั้งในเมืองกดัญสก์ (Gdańsk)ประเทศโปแลนด์ อธิบายให้เห็นว่าฝ่ายขวาในประเทศดังกล่าวมีอิทธิพลต่อแนวทางของพิพิธภัณฑ์อย่างมาก ข้อมูลที่ไม่ถ่ายทอดความรักชาติเท่ากับเป็นการทรยศต่อประเทศชาติ เป็นผลให้การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ชะงักงัน และต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ไม่เคยมีมาก่อน การสร้างองค์กรทางวัฒนธรรมด้วยทรัพยากรรัฐมีความเสี่ยงด้านการเล่าเรื่องจากมุมเดียว ยิ่งไม่ต้องพูดถึงกรณีองค์กรด้านวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นภายใต้ระบอบเผด็จการ ในทำนองเดียวกันคุณว่อทะฉี จินฉี (Voytech Kynci) จากสถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณรัฐเช็กเตือนว่าอย่าลืมประสบการณ์การที่ทำให้สาธารณรัฐเช็กเป็นสหภาพโซเวียต  พร้อมเน้นย้ำความลำบากที่สำคัญในอดีต

ในบริบทที่คล้ายคลึงกัน คุณบาบารา ธีม (Babara Thimm) จากโตสะแลง (S21) กัมพูชากล่าวว่าเมื่อมีคนที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับงานของพวกเขา วิธีการตอบที่ดีคือการใช้ข้อเท็จจริงนำ ให้หลักฐานบอกเล่าตัวมันเอง S21 เดิมเป็นเรือนจำยุคเขมรแดง ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์บันทึกการถูกผู้กดขี่ทำร้ายและทรมาน คุณกีนดี ปาวอน[2]  (Geandy Pavón) ศิลปินชาวคิวบาและผู้ลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกา เตือนให้สาธารณชนทราบว่าอย่าเชื่อทุกอย่างที่สถาบันภายใต้ระบอบเผด็จการกล่าวไว้

พิพิธภัณฑ์และการสนทนา: การแลกเปลี่ยนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สู่อนาคตที่ดีกว่า

พิพิธภัณฑ์ในศตวรรษที่ 21 เป็นพื้นที่สาธารณะ แม้ว่าบางคนยังคงมองว่า พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่สำหรับชนชั้นทรงคุณวุฒิ แต่มีนักการศึกษาจำนวนมากเริ่มนำวิธีการปฏิสัมพันธ์และวิธีการจากล่างสู่บนมาใช้ในพิพิธภัณฑ์ รับฟังเสียงภายนอกพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ต้องการมีปฏิสัมพันธ์สาธารณชน ไม่เพียงแต่การนำเข้าเรื่องเล่าของพลเมืองให้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังต้องดึงเอาบริบทเกี่ยวกับยุคสมัย, เหตุการณ์ประวัติศาสตร์และชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมด้วย ไอดา เร็กนา (Aeda Rechna) และอัลมูเดนา ครูซ เยบา (Almudena Cruz Yeba) ผู้ทำงานพิพิธภัณฑ์ในโปรตุเกสและสเปน นำเสนอเรื่องราวที่แตกต่างจากตำราเรียน ทั้งคู่เน้นย้ำความสำคัญของการจัดการประวัติศาสตร์ที่มีความยากลำบาก พร้อมเชิญชวนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างพร้อมรื้อฟื้นความทรงจำและเหตุการณ์ ประกอบการค้นพบมรดกทางวัฒนธรรมของตนอีกครั้ง เพื่อสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสิ่งที่ไม่เป็นที่รู้จักกับสิ่งที่ไม่เคยถูกเอ่ยถึง วาทกรรมบทสนทนาได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีค่าที่สุด

ในคำปราศรัยเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และภาคประชาสังคม คุณมาร์การิต้า เรเยส ซัวเรซ (Margarita Reyes Suárez) นักมานุษยวิทยาและนักพิพิธภัณฑ์วิทยาได้เน้นย้ำให้ทุกคนตระหนักว่าภายใต้กระแสการท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์จะมีความเป็นวัตถุนิยมและความเป็นอเมริกามากขึ้น มรดกทางวัฒนธรรมจำเป็นต้องใช้วิธีการอนุรักษ์ในรูปแบบต่างๆ มากกว่าเพียงแค่ให้มีเงินทุนไหลเข้า คุณซัวเรซอธิบายอย่างกระตือรือร้นเกี่ยวกับการฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์เป็นความรับผิดชอบต่อชุมชน เธอยังเน้นย้ำการปลดปล่อยอาณานิคมผ่านมุมมองของตะวันตก การให้พื้นที่แก่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น “พิพิธภัณฑ์ควรเป็นพื้นที่ที่รับฟัง และเป็นพื้นที่ที่เสียงในใจของผู้คนถูกรับฟัง” เธอกล่าวสรุป

ภายใต้แนวคิดเดียวกัน คุณลาดิลเลย์ แจ็คสัน (Ladislav Jackson) ได้ไขปริศนาการดำรงอยู่ของเพศ ทางเลือกในอดีตของเช็ก  โดยเรียกร้องให้พิพิธภัณฑ์ละทิ้งการครอบงำของกรอบความคิดเพศทวิลักษณ์ ดำเนินการอย่างระมัดระวังแต่มีความก้าวหน้าทางความคิด มองเห็นสิทธิในการมีชีวิตและสิทธิถูกจดจำของเควียร์ เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ส่วนอื่น ชีวิตและข้าวของของผู้ไม่มีความต้องการทางเพศกับเพศตรงข้ามควรถูกบันทึกและจัดทำเป็นเอกสาร ดังนั้นวงการพิพิธภัณฑ์ควรให้ความสนใจและใส่ใจผู้ปฏิบัติงานและนักวิจัยด้านพิพิธภัณฑ์ที่เป็นเควียร์มากขึ้น มีแต่เพียงพิพิธภัณฑ์ที่คนทั่วไปและชุมชนเข้าถึงเป็นช่องทางในการสื่อสาร ถึงจะสามารถทำให้ทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกันและมีการบันทึกข้อเท็จจริงไว้ได้

ตั้งแต่ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย (Bibliotheca Alexandrina) การรวบรวมและการเรียนรู้ถือเป็นจุดเริ่มต้นและพันธกิจของพิพิธภัณฑ์มาโดยตลอด และสืบเนื่องตลอดการพัฒนาของพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สมัยใหม่แบกรับภารกิจนี้ ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีความหมายและครอบคลุมมากขึ้น เพื่อพลเมืองและผู้ใช้พื้นที่พิพิธภัณฑ์

 ในระหว่างงานประชุม การร่วมพลังของสังคมเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ควรรวมตัวกันเป็นชุมชน การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคุณ,ฉัน และทุกคนมีความจำเป็นยิ่งขึ้นมากกว่าช่วงไหนๆ ที่ผ่านมา