:::

แนวทางสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพกับชุมชน: บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการของ ICSC

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ: พิพิธภัณฑ์ ชุมชน สิทธิมนุษยชน” จัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ผู้เข้าร่วมประชุมได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการ (ภาพจาก: FIHRM-AP)

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ: พิพิธภัณฑ์ ชุมชน สิทธิมนุษยชน” จัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ผู้เข้าร่วมประชุมได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการ (ภาพจาก: FIHRM-AP)

ผู้เขียน: เฉิน อัน นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไทเป สาขาวิชาพิพิธภัณฑศึกษา


แนวทางสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพกับชุมชน: บันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการของ ICSC

ในทางปฏิบัติของการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน พิพิธภัณฑ์และองค์กรสิทธิมนุษยชนค้นหาชุมชนที่ตอบสนองต่อการสนทนา ตลอดจนการโต้ตอบและความร่วมมือในประเด็นสำคัญสำหรับการมีส่วนร่วมของชุมชน การประชุมประจำปีของ FIHRM-AP ในครั้งนี้เริ่มต้นจากประเด็นนี้ และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อ “การสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ: พิพิธภัณฑ์ ชุมชน สิทธิมนุษยชน” โดยได้เชิญลินดา นอร์ริสจากสหพันธ์โบราณสถานแห่งมโนธรรมนานาชาติทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการประชุม นำพาผู้เข้าร่วมประชุมให้เข้าใจถึงเครือข่ายของชุมชนกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของพิพิธภัณฑ์ตนเอง เพื่อสร้างโครงการความร่วมมือกับชุมชนให้แก่พิพิธภัณฑ์

สหพันธ์โบราณสถานแห่งมโนธรรมนานาชาติก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ และเครือข่ายสถาบันแห่งความทรงจำผ่านความร่วมมือระดับโลกและระดับภูมิภาค ร่วมกันพิจารณาถึงรอยบาดแผลทางประวัติศาสตร์และส่งเสริมขบวนการสิทธิมนุษยชนร่วมสมัย ลินดา นอร์ริสเองเป็นผู้นำโครงการมากมายในกลุ่มสหพันธ์ อาทิ การตีความสถานที่มรดกโลกแห่งแรกในภูมิภาคแอฟริกา “บ้านทาส” ใหม่ อีกทั้ง ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ลินดา นอร์ริสยังได้ใช้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศหลายโครงการของสหพันธ์โบราณสถานแห่งมโนธรรมนานาชาติมาเป็นกรณีศึกษา แบ่งปันแนวทางพหุนิยมในการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน

ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการอภิปรายเรื่ององค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ภูมิศาสตร์ อัตลักษณ์ ความชอบและความชอบร่วมกัน ค้นหาชุมชนที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ของตนเอง และแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วมประชุม (ภาพจาก: FIHRM-AP)

ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการอภิปรายเรื่ององค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ภูมิศาสตร์ อัตลักษณ์ ความชอบและความชอบร่วมกัน ค้นหาชุมชนที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ของตนเอง และแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วมประชุม (ภาพจาก: FIHRM-AP)

รู้จักตัวเอง ค้นหาชุมชน!

“คุณมาจากไหน อาหารประเภทใดที่ทำให้คุณนึกถึงบ้านเกิด” ในช่วงต้นของการประชุมเชิงปฏิบัติการ ลินดา นอร์ริสใช้คำถามนี้เพื่อแนะนำตัวเองและโต้ตอบกับผู้เข้าร่วมประชุม ในแง่หนึ่ง ช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รู้จักกันมากขึ้น และยังเป็นการอุ่นเครื่องสำหรับการทำความเข้าใจชุมชน โดยเริ่มจากอธิบายอัตลักษณ์ของตนเอง และพินิจพิเคราะห์นิยามของ “ชุมชน” จากนั้นคำว่า “ชุมชน” คืออะไร? ชุมชนสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความซับซ้อนและมีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการ อันได้แก่ ภูมิศาสตร์ (geography) อัตลักษณ์ (identity) ความชอบและความชอบร่วมกัน (affinity) ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้ค้นหาชุมชนในความร่วมมือหลักของพิพิธภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับปฏิญาณของพิพิธภัณฑ์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และบริบททางประวัติศาสตร์ ตลอดจนชุมชนที่ยังไม่ได้สร้างความร่วมมือ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มกล่าวถึงกองทัพไทยว่าเป็นชุมชนที่อยู่ในแผนแต่ยังไม่ได้สร้างความร่วมมือด้วย เพราะเนื่องจากความไม่สมดุลทางอำนาจจึงยากที่จะมีโอกาสพูดคุยกัน ภัณฑารักษ์จากพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวันก็กล่าวว่าเหยื่อทางการเมืองของเหตุการณ์ความน่าสะพรึงกลัวสีขาวเป็นชุมชนที่พิพิธภัณฑ์ได้รับความร่วมมือมาอย่างยาวนาน ซึ่งในขณะนี้ กำลังโต้ตอบเชิงรุกกับชุมชนเด็ก เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนของเด็ก และถ่ายทอดแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนร่วมสมัย

ตัวชี้วัดของตัวแบบขั้นบันไดการมีส่วนร่วมของพลเมือง จากล่างขึ้นบน ได้แก่ การถูกบงการ การชี้แจง การให้ข้อมูลข่าวสาร การปรึกษาหารือ การปลอบใจ ความร่วมมือ การให้อำนาจและการควบคุมพลเมือง ลินดา นอร์ริสได้อธิบายนิยามและความสำคัญของตัวแบบให้ผู้เข้าร่วมประชุมฟัง (ภาพจาก: FIHRM-AP)

ตัวชี้วัดของตัวแบบขั้นบันไดการมีส่วนร่วมของพลเมือง จากล่างขึ้นบน ได้แก่ การถูกบงการ การชี้แจง การให้ข้อมูลข่าวสาร การปรึกษาหารือ การปลอบใจ ความร่วมมือ การให้อำนาจและการควบคุมพลเมือง ลินดา นอร์ริสได้อธิบายนิยามและความสำคัญของตัวแบบให้ผู้เข้าร่วมประชุมฟัง (ภาพจาก: FIHRM-AP)

หลังจากพิพิธภัณฑ์ค้นหาชุมชนที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว วิธีการสร้างความไว้วางใจกับชุมชนเป็นกุญแจสำคัญของความร่วมมือ ลินดา นอร์ริสแบ่งปันตัวแบบขั้นบันไดการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Ladder of Citizen Participation) ที่เสนอโดยเชอร์รี่ อาร์นสไตน์ ซึ่งรวมถึงชุมชนไม่มีอำนาจที่แท้จริงในระยะแรกเริ่มและอยู่ภายใต้การถูกควบคุมและถูกขัดเกลาฝ่ายเดียว ในระยะกลาง คือการมีส่วนร่วมเชิงหลักการ ยกตัวอย่างเช่น การได้รับการแจ้งเตือน การแสดงความคิดเห็น (การปรึกษาหารือ) และการมีอิทธิพลในการตัดสินใจระดับหนึ่ง ในระยะสุดท้ายจะกลายเป็นความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วน ชุมชนมีสิทธิในการตัดสินใจและเป็นผู้นำ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังต้องพิจารณาว่าชุมชนในความร่วมมือของตนอยู่ในขั้นใดแล้ว และสุดท้ายนี้ ลินดา นอร์ริสเน้นย้ำด้วยว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ควรวางตำแหน่งของตนเองเป็นผู้ให้บริการในการพิจารณาการจัดหาทรัพยากรให้กับชุมชน แต่ควรสรรค์สร้างแนวปฏิบัติร่วมกันกับชุมชน

ชิงลงมือก่อน! ลดช่องว่างระหว่างพิพิธภัณฑ์กับชุมชน

ในช่วงครึ่งหลังของการประชุมเชิงปฏิบัติการ ลินดา นอร์ริสได้แบ่งปันแนวทางใหม่ที่พิพิธภัณฑ์และองค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ยกตัวตัวอย่างเช่น โครงการ Last Address Project ที่ริเริ่มโดยคนในท้องถิ่นของประเทศรัสเซีย และมีวัตถุประสงค์คือ “หนึ่งชื่อ หนึ่งชีวิต หนึ่งสัญลักษณ์”  มุ่งไปยังที่พักอาศัยของเหยื่อทางการเมืองในระบอบการปกครองของสตาลิน และมีการแขวนป้ายรำลึกเอาไว้ โดยป้ายระบุชื่อและนามสกุล สถานะ วันเกิดและวันตาย รวมถึงปีที่ได้รับอิสรภาพของเหยื่อ เพื่อให้ทุกคนได้ทราบว่าสถานที่แห่งนี้เคยมีผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอาศัยอยู่ โครงการส่งเสริมการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนของประชาชนในลักษณะนี้ ได้สื่อสารกับทุกคนว่าความทรงจำเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้จางหายไปตามกาลเวลา แต่จะยังคงดำรงอยู่ในสังคมตลอดไป โครงการ Youth for Peace ของประเทศกัมพูชาเป็นโครงการริเริ่มเพื่อรำลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในชุมชนที่ได้ร่วมมือกับเยาวชนและผู้รอดชีวิตจากระบอบการปกครองเขมรแดง เพื่อเปลี่ยนสถานที่แห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับการพูดคุย การรำลึก และการส่งเสริมสันติภาพ โดยโครงการนี้เคยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการศิลปะ ให้ผู้รอดชีวิตบอกเล่าประสบการณ์ความทุกข์ทรมานผ่านภาพวาด เปิดการสนทนากับความทรงจำในอดีต ตลอดจนจัดนิทรรศการแสดงผลงานอันสร้างสรรค์ของผู้รอดชีวิตสู่สาธารณชน เชื่อมโยงความทรงจำกับยุคร่วมสมัย

ผู้เข้าร่วมประชุมได้วางแผนการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับพิพิธภัณฑ์ของตนผ่านการอภิปรายกลุ่มย่อย และแบ่งปันผลการอภิปราย ซึ่งในรูปคือปูจา ปาน ผู้อำนวยการของ Voices of Women Media บรรยายถึงการอภิปรายของกลุ่มย่อยเรื่องชุมชนผู้กระทำผิด (ภาพจาก: FIHRM-AP)

ผู้เข้าร่วมประชุมได้วางแผนการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับพิพิธภัณฑ์ของตนผ่านการอภิปรายกลุ่มย่อย และแบ่งปันผลการอภิปราย ซึ่งในรูปคือปูจา ปาน ผู้อำนวยการของ Voices of Women Media บรรยายถึงการอภิปรายของกลุ่มย่อยเรื่องชุมชนผู้กระทำผิด (ภาพจาก: FIHRM-AP)

ภายใต้แรงกระตุ้นจากหลายด้าน ผู้เข้าร่วมประชุมเริ่มการอภิปรายกลุ่มย่อย พิจารณาว่าโครงการประเภทใดที่พิพิธภัณฑ์สามารถใช้ในกานร่วมมือกับชุมชนที่ไม่ค่อยปรากฏตัวในพิพิธภัณฑ์ ปูจา ปาน ประธานกรรมการบริหารของ Voices of Women Media แบ่งปันกับทุกคนว่ากลุ่มเป้าหมายในการอภิปรายของกลุ่มย่อยนั้น พวกเธอคือผู้กระทำผิด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริบทของผู้กระทำผิดแตกต่างกันออกไปในแต่ละสถานที่ จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาแนวทางแก้ไข ผู้เข้าร่วมประชุมเองก็เห็นว่าผู้กระทำผิดเป็นกลุ่มที่เข้าถึงได้ยากในการมีส่วนร่วมของชุมชนมาโดยตลอด ลินดา นอร์ริสจึงเล่าถึงคดีในเรือนจำหนึ่งของประเทศไซบีเรียที่นำผู้คุมและนักโทษมาพูดคุยกัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมพิจารณาและต่อยอดทางความคิดได้

สรุป

สืบเนื่องจากพิพิธภัณฑ์ให้ความสำคัญกับนิยามใหม่ของ “การมีส่วนร่วมของชุมชน” ในปีพ.ศ. 2565 เมื่อพิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญกับเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่หยุดยั้ง จะทำอย่างไรให้การรวบรวมมุมมองที่หลากหลายผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนและความร่วมมือ ร่วมกันผลักดันสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาสำหรับพิพิธภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ทำให้เราเข้าใจถึงแนวทางค้นหาชุมชนที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์และองค์กรของตนเอง เข้าใจหลักการและวิธีการสร้างความร่วมมือกับชุมชน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้พูดคุย แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความคิดเห็นที่มีต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสรรค์สร้างแนวทางใหม่สำหรับความร่วมมือกับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ