:::

เพื่อส่งเสริมการปรองดองและการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ อภิปรายเฟรมเวิร์คแผนปฏิบัติการสมานฉันท์ของพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลีย

ผู้เขียน: ทีมบรรณาธิการเว็บไซต์ FIHRM-AP
 



เพื่อส่งเสริมการปรองดองและการรวมกลุ่มระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ อภิปรายเฟรมเวิร์คแผนปฏิบัติการสมานฉันท์ของพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลีย

ชนพื้นเมือง (Indigenous Peoples) ส่วนใหญ่หมายถึง 「คนกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่บนที่ดินผืนหนึ่ง」 พวกเขามีภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาและระบบความรู้ในแบบของตนเอง สร้างสังคม เศรษฐกิจ และนโยบายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และยังคงรักษาสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับดินแดนที่พวกเขาอาศัยอยู่ [1] อย่างไรก็ตาม ในยุคต่อมาได้มีอิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคมเข้ามาแทรก จึงทำให้ชนพื้นเมืองกลายเป็นกลุ่มเปราะบางที่ถูกกดขี่โดยระบอบของลัทธิที่มาจากถิ่นอื่นในประวัติศาสตร์ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ยังคงเผชิญกับความท้าทายในด้านไม่เท่าเทียมกันในสังคม[2] การขาดโอกาสด้านบริการ รวมถึงภาษาและวัฒนธรรมที่สูญหายไป จะต้องเผชิญกับประวัติศาสตร์ที่ยากลำบากอีกครั้งได้อย่างไร (Difficult History) ส่งเสริมความปรองดองระหว่างกลุ่มชนพื้นเมืองและกลุ่มที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง แล้วค่อยนำมาปรับปรุงแก้ไขตามบริบทของวัฒนธรรม การปกครองและสังคม และยิ่งไปกว่านั้นให้เน้นประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก

รูปภาพ รูปปั้น Anmatjere Man ในทะเลทรายทางตอนเหนือของออสเตรเลีย สร้างโดย Mark Egan ผลงานประกอบด้วยนักรบชาวชนพื้นเมืองชายและรูปปั้นแม่ลูกคู่หนึ่ง ซึ่งแสดงออกถึงจิตวิญญาณที่ไม่ย่อท้อและประวัติศาสตร์อันยากลำบากของชาวชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย ภาพที่ถ่ายจาก pixabay

รูปภาพ รูปปั้น Anmatjere Man ในทะเลทรายทางตอนเหนือของออสเตรเลีย สร้างโดย Mark Egan ผลงานประกอบด้วยนักรบชาวชนพื้นเมืองชายและรูปปั้นแม่ลูกคู่หนึ่ง ซึ่งแสดงออกถึงจิตวิญญาณที่ไม่ย่อท้อและประวัติศาสตร์อันยากลำบากของชาวชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย ภาพที่ถ่ายจาก pixabay

ในฐานะหน่วยงานชั้นนำสำหรับปฏิบัติการปรองดองแห่งชาติ สมาคมสมานฉันท์ออสเตรเลีย(Reconciliation Australia)   ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544      ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างชนพื้นเมืองและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสรวมถึงกลุ่มชนที่ไม่ใช่ชนพื้นเมืองผ่านการดำเนินการปรองดองเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของชาวออสเตรเลียทุกคน ในปี พ.ศ. 2549 สมาคมได้เปิดตัวแผนปฏิบัติการสมานฉันท์ (RAPs)       เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรอุตสาหกรรมในประเทศส่งเสริมการปรองดองโดยการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินการที่ยั่งยืน RAPs ได้เผยแพร่ระบบเฟรมเวิร์กที่กำหนดกระบวนการปฏิบัติ 4 [3] กระบวนการหลักสำหรับการดำเนินการปรองดอง ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • การไตร่ตรอง(Reflect):เวลาที่ต้องใช้คือประมาณ 1 ปี ในระหว่างขั้นตอนนี้ องค์กรจะวางแผนเนื้อหาล่วงหน้าสำหรับการดำเนินการปรองดองและมาตรการการเจรจาในอนาคต
  • นวัตกรรม(Innovate):ใช้เวลาประมาณ 2 ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรในการส่งเสริมการปรองดองและปฏิบัติตามกลยุทธ์และมาตรการการปรองดอง
  • การขยาย(Stretch):ใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี มีจุดประสงค์เพื่อใช้มาตรการปรองดองในการดำเนินงานขององค์กรส่งเสริมการปรองดองภายในขอบเขต
  • การยกระดับ(Elevate):สร้างศักยภาพความเป็นผู้นำขององค์กรในการริเริ่มการปรองดองแห่งชาติ องค์กรต่างๆ สามารถพัฒนาความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ที่แน่นแฟ้นกับ Reconciliation Australia เพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนและการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

พิพิธภัณฑ์มีหน้าที่ให้ความรู้ในการเผยแพร่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่อสาธารณชน บูรณาการมุมมองที่หลากหลาย เท่าเทียม และยุติธรรมมากขึ้นในเนื้อหาเรื่องเล่า และมีอิทธิพลอย่างมากในการดำเนินการปรองดองระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ 「แผนปฏิบัติการสมานฉันท์ 」 ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมของพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และสถาบันทางวัฒนธรรมอื่นๆ ในออสเตรเลีย โดยไม่คำนึงขนาดของสถาบัน และพิพิธภัณฑ์สามารถดำเนินแผนการปรองดองที่เป็นนวัตกรรมใหม่และแนวปฏิบัติในสาขาความเชี่ยวชาญของตน

เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการในขั้นตอน 「การไตร่ตรอง」 พิพิธภัณฑ์แห่งประชาธิปไตยออสเตรเลีย ( Australian Museum of Democracy , MoAD) ได้กล่าวถึงความคืบหน้าในขั้นตอนที่ผ่านมา รวมอยู่ในสถานพิพิธภัณฑ์พร้อมมีไกด์ให้คำแนะนำอัปเดตเรื่องราวเบื้องหลังอาคาร (เดิมคืออาคารรัฐสภา) และชนพื้นเมือง  และยังพัฒนาแผนการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง และให้ความร่วมมือกับกลุ่มงานในการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านวัฒนธรรมมารยาทของพนักงานทุกคน แต่ที่สำคัญกว่านั้น กระบวนการของ "การไตร่ตรอง" ยังช่วย Australian Museum of Democracy ให้ความสำคัญกับการดำเนินการในอนาคต กล่าวคือแสดงบทบาทของพิพิธภัณฑ์อย่างเต็มที่ในฐานะเป็นเรื่องราวที่สำคัญเกี่ยวกับประเทศ 「เพื่อช่วยให้ชนชาติแรก (First Nations) ซึ่งฝังลึกในประวัติศาสตร์ของประเทศและทำให้ผู้คนรู้จักประวัติศาสตร์และประสบการณ์ชีวิตของพวกเขามากขึ้น」

เพื่อให้การนำเสนอที่ครอบคลุมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคม การเมือง และประชาธิปไตยของออสเตรเลีย ปัจจุบัน การดำเนินการปรองดองของ Australian Democracy Museum ได้เข้าสู่ขั้นตอน 「นวัตกรรม」 และมุ่งมั่นที่จะปรองดองกับชนพื้นเมืองและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส[4]

ภาพถ่าย: “Australian Museum of Democracy” จัดแสดงประติมากรรมแสงในอดีต อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นอาคารรัฐสภาเก่าในแคนเบอร์รา ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก โดย Buttontree Lane ได้รับอนุญาตภายใต้ CC BY-NC-ND 2.0

ภาพถ่าย: “Australian Museum of Democracy” จัดแสดงประติมากรรมแสงในอดีต อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นอาคารรัฐสภาเก่าในแคนเบอร์รา ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก โดย Buttontree Lane ได้รับอนุญาตภายใต้ CC BY-NC-ND 2.0

นอกจากนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนของ 「นวัตกรรม」 พิพิธภัณฑ์การเดินเรือแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National Maritime Museum) ซึ่งจะเปิดตัวแผน RAP 「นวัตกรรม」 ในปี พ.ศ.2564  [5]เนื้อหากล่าวถึงวิธีการที่พิพิธภัณฑ์เคยดูแลจัดการ การวิจัยการรวบรวมจัดหลักสูตรวัฒนธรรม และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรมทางทะเลของชนพื้นเมือง กรณีล่าสุด ในปี พ.ศ. 2566 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเป็น 「สัปดาห์การปรองดองแห่งชาติ」 ที่สำคัญระดับประเทศ (National Reconciliation Week) [6]      เพิ่งเปิดตัวชุดนิทรรศการพิเศษและแผนการงานสะสมโบราณวัตถุที่สำคัญ  ในการจัดแสดงนี้ มีนิทรรศการพิเศษ "รูปร่างดุจดั่งท้องทะเล" (Shaped by the Sea) มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์เฉพาะตัวระหว่างแผ่นดินกับมหาสมุทรโดยรอบของออสเตรเลีย ด้วยมุมมองสองด้านของวิทยาศาสตร์และชาติพันธุ์วิทยา เรามีเป้าหมายที่จะปรับแนวทางการรับรู้ของผู้คนที่มีต่อทวีปโบราณแห่งนี้ให้สอดคล้องกันมากขึ้น  ในระหว่างการดำเนินขั้นตอนนี้ พิพิธภัณฑ์การเดินเรือแห่งชาติออสเตรเลียได้เชิญบุคลากรที่ทำงานในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองและนักเขียนจากภายนอกเพื่อมาแบ่งปันผลการวิจัยและการสำรวจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรมทางทะเลของชนพื้นเมืองในออสเตรเลียโดยผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ (signals)  

รูปภาพ: พิพิธภัณฑ์การเดินเรือแห่งชาติออสเตรเลียอาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญในด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมทางทะเลในออสเตรเลีย มีชุดงานศิลปะและนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ชายฝั่ง กองทัพเรือ และธีมทางวัฒนธรรม โดย Bernard Spragg มีเครื่องหมาย CC0 1.0

รูปภาพ: พิพิธภัณฑ์การเดินเรือแห่งชาติออสเตรเลียอาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญในด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมทางทะเลในออสเตรเลีย มีชุดงานศิลปะและนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ชายฝั่ง กองทัพเรือ และธีมทางวัฒนธรรม โดย Bernard Spragg มีเครื่องหมาย CC0 1.0

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของประเทศ โครงการ RAP ของ Australian Museum ได้เข้าสู่กระบวนการ「การขยาย」   

[7]พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติออสเตรเลียแบ่งปันความสำเร็จเกี่ยวกับการดำเนินการและประสบการณ์ที่สำคัญของ 「นวัตกรรม 」 รวมถึง: การสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองให้มีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน ดำเนินการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรทุกคน ตามเทศกาลสำคัญระดับชาติ "สัปดาห์การปรองดองแห่งชาติ" และจัดหาแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาและการจ้างงานระดับมืออาชีพสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง เจ้าหน้าที่ด้านวัฒนธรรม และบุคคลทั่วไป

เมื่อการดำเนินการไปถึงระดับที่สูงขึ้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติออสเตรเลียยังระบุด้วยว่าในกระบวนการ 「การขยาย」    ควรปลูกฝังมาตรการปรองดองในกลยุทธ์การดำเนินงานระยะยาวของพิพิธภัณฑ์ และการจัดการการควบคุมขั้นสูงและการตอบกลับของผลลัพธ์การดำเนินการ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณในแนวทางปัจจุบันที่เสนอโดย Australian Museums and Galleries Association เพื่อพัฒนานโยบายและขั้นตอนของพิพิธภัณฑ์

รูปภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติออสเตรเลียเพิ่งเปิดตัวนิทรรศการ「Barka: แม่น้ำที่ถูกลืม」(Barka: The Forgotten River)ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ3ในออสเตรเลีย Barka (แม่น้ำดาร์ลิง) และสถานการณ์ที่ยากลำบากในปัจจุบัน นิทรรศการยังรวบรวมผลงานของศิลปิน รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักและรักษาความสำคัญของความสัมพันธ์ของมนุษย์กับทรัพยากรและความสัมพันธ์ของแม่น้ำ by Tim J Keegan is licensed under CC BY-SA 2.0.

รูปภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติออสเตรเลียเพิ่งเปิดตัวนิทรรศการ「Barka: แม่น้ำที่ถูกลืม」(Barka: The Forgotten River)ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ3ในออสเตรเลีย Barka (แม่น้ำดาร์ลิง) และสถานการณ์ที่ยากลำบากในปัจจุบัน นิทรรศการยังรวบรวมผลงานของศิลปิน รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักและรักษาความสำคัญของความสัมพันธ์ของมนุษย์กับทรัพยากรและความสัมพันธ์ของแม่น้ำ by Tim J Keegan is licensed under CC BY-SA 2.0.

เมื่อย้อนรอยประวัติศาสตร์และความทรงจำในอดีต อาจเป็นการยากที่จะบรรลุความปรองดองและความเข้าใจกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในเวลาเพียงไม่กี่ปี อย่างไรก็ตามผู้คนยังคงต้องเผชิญกับความยากลำบากในประวัติศาสตร์และการดำเนินการ บนหนทางอันยาวไกลสู่ 「การปรองดอง」 เฟรมเวิร์คการทำงานที่เป็นระบบและปฏิบัติได้จริงคือกุญแจสำคัญ  และเฟรมเวิร์คการดำเนินการใหม่สามารถให้คำชี้แนะแก่องค์กรและทำให้การปฏิบัติของพวกเขาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
 



 

[1] คำว่า 「ชนพื้นเมือง」 หมายถึงคำจำกัดความที่เสนอโดยสหประชาชาติ

[2] ชนพื้นเมืองเองมักถูกกีดกันหรือไม่มีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลกระทบต่อชนพื้นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโครงการที่ส่งผลกระทบต่อที่ดินของพวกเขา ความคิดเห็นของพวกเขาแทบจะไม่ได้รับการพิจารณาและรวมอยู่ในกระบวนการกำหนดกฎหมายและมาตรการทางปกครอง ซึ่งทำให้ชนพื้นเมืองมักถูกบังคับให้ออกจากที่ดินของบรรพบุรุษเนื่องจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติและเหตุผลอื่น ๆ ในอดีต  ลิงก์ข้อมูลอ้างอิง

[3] กรอบการดำเนินการฉบับสมบูรณ์ของ 「แผนปฏิบัติการปรองดอง」

[4] พิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตยออสเตรเลีย「แผนปฏิบัติการปรองดอง RAP นวัตกรรม」   (พ.ศ. 2566-2568)

[5] พิพิธภัณฑ์การเดินเรือแห่งชาติออสเตรเลีย「แผนปฏิบัติการปรองดอง RAP นวัตกรรม」  (พ.ศ. 2564 -2566)

[6] จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน ในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย วันที่ 27 พฤษภาคมเป็นวันครบรอบการลงประชามติ (พ.ศ. 2510) เมื่อชาวออสเตรเลียลงมติให้ยกเลิกกฎหมายและข้อบังคับในรัฐธรรมนูญของออสเตรเลียที่เลือกปฏิบัติต่อชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส. วันที่ 3 มิถุนายน เป็นวันครบรอบการตัดสินของศาลฎีกาในคดี Mabo (พ.ศ.2535) ซึ่งยืนยันว่าชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสยังคงถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินแม้อยู่ภายใต้การปกครองของอาณานิคมอังกฤษ ทุกปีในออสเตรเลีย สถานที่ต่างๆ โรงเรียน สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย สภาท้องถิ่น กลุ่มชุมชน ฯลฯ จัดกิจกรรมรำลึกเนื่องในสัปดาห์สมานฉันท์แห่งชาติ

[7] พิพิธภัณฑ์แห่งชาติออสเตรเลีย 「ขยายแผนปฏิบัติการปรองดอง RAP」 (พ.ศ. 2565 -2568)