:::

เขียนอัตประวัติของตนเอง - ตั้งแต่นิทรรศการพิเศษ Lawbubulu กลับคืนสู่บ้านเกิด ไปจนถึงนิทรรศการพิเศษ Kialreba กลับสู่เมืองอู้ไถ

「สมบัติของ Lawbubulu Rukai-นิทรรศการพิเศษมรดกทางวัฒนธรรมร้อยปีจากเมืองอู้ไถคืนสู่มาตุภูมิที่พิพิธภัณฑ์ไต้หวัน」

「สมบัติของ Lawbubulu Rukai-นิทรรศการพิเศษมรดกทางวัฒนธรรมร้อยปีจากเมืองอู้ไถคืนสู่มาตุภูมิที่พิพิธภัณฑ์ไต้หวัน」

เกี่ยวกับผู้เขียน

ปาซิ่วเฟิน ชาวหรูข่าย ชื่อชนเผ่า: Dresedrese.Celrevege จากชนเผ่าจี๋ลู่ เมืองอู้ไถ มณฑลผิงตง ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการห้องสมุดจงเจิ้งในเมืองอู้ไถ มณฑลผิงตงและพิพิธภัณฑ์หรูข่าย Rukai Museum of Cultural Relics ในเมืองอู้ไถ  มณฑลผิงตง
 

แนะนำหน่วยงาน

พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรม Rukai ในเมืองอู้ไถ มณฑลผิงตง เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ด้านนอกของอาคารก่อสร้างด้วยวิธีเรียงแผ่นหินแบบดั้งเดิม มีการเก็บสะสมมรดกทางวัฒนธรรม124 ชิ้น รวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิดที่จำเป็นในชีวิตประจำวันแบบดั้งเดิมของชาว Rukai และงานฝีมือที่ประณีต เช่น การทอผ้า งานเย็บปักถักร้อย งานแกะสลักไม้ และงานแกะสลักหิน ตลอดจนการจัดแสดงบ้านหินชนวนแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นสถานที่จำลองขนาดเล็กของวัฒนธรรม Rukai เป้าหมายที่จัดตั้งขึ้น ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ประชาชนเข้าใจและชื่นชมวัฒนธรรม Rukai เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นสถาบันอนุรักษ์วัฒนธรรมถาวรและสถาบันการศึกษาชาติพันธุ์ เพื่อรวมอัตลักษณ์และความรู้สึกเป็นเจ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ และสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาว Rukai
 



เขียนอัตประวัติของตนเอง - ตั้งแต่นิทรรศการพิเศษ Lawbubulu กลับคืนสู่บ้านเกิด ไปจนถึงนิทรรศการพิเศษ   Kialreba กลับสู่เมืองอู้ไถ

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันได้ร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรม Rukai ในเมืองอู้ไถ มณฑลผิงตง เพื่อจัดงาน 「สมบัติของ Lawbubulu Rukai-นิทรรศการพิเศษมรดกทางวัฒนธรรมร้อยปีจากเมืองอู้ไถคืนสู่มาตุภูมิที่พิพิธภัณฑ์ไต้หวัน」Lawbubuluในภาษา Rukai หมายถึงงานหัตถกรรมประดิษฐ์ขึ้นที่ใช้ประโยชน์ได้จริงหรือมีความสำคัญทางสังคม นิทรรศการนี้เป็นการจัดนิทรรศการใหญ่ครั้งแรกด้านโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง Rukai ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังนำของใช้และสิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของบรรพบุรุษชาวRukai เมื่อร้อยปีก่อนที่จากไปกลับมายังบ้านเกิดเป็นครั้งแรก   เพื่อที่จะได้จัดงานนิทรรศการครั้งนี้ขึ้นมา ทางเราได้ดำเนินขั้นตอนการแบ่งรายการโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์ไต้หวันและพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรม Rukai ทั้งยังให้ผู้อาวุโสเข้าไปในคลังพิพิธภัณฑ์ไต้หวันเพื่อตรวจสอบโบราณวัตถุของชนเผ่า  มีการจัดประชุมเพื่อคัดเลือกสิ่งของเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ  สำรวจวิจัยภาคสนาม  ทั้งสองพิพิธภัณฑ์ทำงานร่วมกันเพื่อตีความและดูแล มีการประชุมหารือเกี่ยวกับงานนับครั้งไม่ถ้วน จัดการนิทรรศการ จัดการเปิดงาน และให้ความรู้และฝึกอบรมอาสาสมัคร เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมงานได้สอบถามผู้อาวุโสของชนเผ่าเกี่ยวกับความหมายแฝงและความหมายของโบราณวัตถุทางวัฒนธรรม รวมถึงแหล่งที่มาของวัตถุทางวัฒนธรรม วิธีการที่ชนเผ่าพูด วิธีการใช้งาน วิธีทำและอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการตีความของโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมในนิทรรศการพิเศษนี้  ในระหว่างการสำรวจภาคสนามของชนเผ่าและผู้อาวุโสของชนเผ่าทีมภัณฑารักษ์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวความหมายแฝงทางวัฒนธรรมและความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่อยู่เบื้องหลังโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมชาว Rukai แต่ละชิ้น  ในระหว่างการสัมภาษณ์ยังได้ยินคำศัพท์ชาว Rukai หลายคำที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานานหรือเกือบจะลืมไปแล้ว  ทำให้เราค้นพบว่านี่ไม่ใช่แค่ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับนิทรรศการเท่านั้น แต่ยังเป็นการเดินทางเพื่อค้นหาตัวเองอีกด้วย

「ทีมภัณฑารักษ์ทำการสำรวจภาคสนามเกี่ยวกับการทอผ้าแบบดั้งเดิมของชาว Rukai」

「ทีมภัณฑารักษ์ทำการสำรวจภาคสนามเกี่ยวกับการทอผ้าแบบดั้งเดิมของชาว Rukai」

「สมบัติของ Lawbubulu Rukai-นิทรรศการพิเศษมรดกทางวัฒนธรรมร้อยปีจากเมืองอู้ไถคืนสู่มาตุภูมิที่พิพิธภัณฑ์ไต้หวัน วันเปิดตัวยิ่งใหญ่ 」

「สมบัติของ Lawbubulu Rukai-นิทรรศการพิเศษมรดกทางวัฒนธรรมร้อยปีจากเมืองอู้ไถคืนสู่มาตุภูมิที่พิพิธภัณฑ์ไต้หวัน วันเปิดตัวยิ่งใหญ่ 」

หลังจากเตรียมการมาเกือบ 4 ปี ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้เปิดนิทรรศการพิเศษขึ้นที่พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรม Rukai ในเมืองอู้ไถ ในวันเปิดงานกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมากแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายของชนพื้นเมืองเข้าร่วมและจัดพิธีอันยิ่งใหญ่ อลังการ ในช่วงจัดนิทรรศการมีเพื่อนหลายคนที่ให้ความสนใจและผู้ที่รักในวัฒนธรรมชนพื้นเมืองมาชมนิทรรศการเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะชาว Rukai จากทั่วไต้หวันมาชมนิทรรศการอย่างไม่ขาดสาย  ในขณะที่ชมนิทรรศการพวกเขายังได้แลกเปลี่ยนและพูดคุยกับพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมและให้ความคิดเห็นที่มีค่ามากมาย

เดิมทีนิทรรศการมีระยะเวลาการจัดเพียง 6 เดือน แต่นิทรรศการได้ขยายต่ออีก 2 เดือน  เนื่องจากการตั้งหน้าตั้งตารอของสมาชิกกลุ่ม เมื่อโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมกำลังจะถูกส่งกลับไปยังเมืองไทเป สมาชิกกลุ่มเต็มไปด้วยความเสียใจและกล่าวคำอำลาต่อโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษของพวกเขา เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าการประชุมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นอีกเมื่อใด

「Kialreba กลับสู่ Wutai: บทสนทนาระหว่างชาว Taibo และชาว Rukai ร่วมสมัย」วันเปิดงานในชุดเครื่องแต่งกายของชนเผ่ามาชมนิทรรศการ」

「Kialreba กลับสู่ Wutai: บทสนทนาระหว่างชาว Taibo และชาว Rukai ร่วมสมัย」วันเปิดงานในชุดเครื่องแต่งกายของชนเผ่ามาชมนิทรรศการ」

「Kialreba กลับสู่เมืองอู้ไถ : บทสนทนาระหว่างชาว Taibo และชาว Rukai ร่วมสมัย」

「Kialreba กลับสู่เมืองอู้ไถ : บทสนทนาระหว่างชาว Taibo และชาว Rukai ร่วมสมัย」

โชคดีที่ในปีพ.ศ.2566 นี้ เพื่อสานต่อนิทรรศการที่นำความประทับใจให้แก่ผู้คน เพื่อให้ชาวเมืองได้มีโอกาสชื่นชมโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์และวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาว Rukai  ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของไต้หวัน พิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งร่วมมือกันอีกครั้งในการย้ายวัตถุที่จัดแสดงก่อนหน้านี้ทั้งหมดไปยังห้องนิทรรศการตะวันออกของอาคารหลักของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันในไทเป ระหว่างช่วงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2567 หัวข้อของนิทรรศการนี้คือ 「Kialreba กลับสู่เมืองอู้ไถ: บทสนทนาระหว่างชาว Taibo และชาว Rukai ร่วมสมัย」 ในภาษา Rukai คำว่า kialreba หมายถึงการเยี่ยมญาติ เมื่อปรึกษากับชนเผ่าว่าจะตั้งชื่อนิทรรศการอย่างไร ชนเผ่าเชื่อว่ามรดกทางวัฒนธรรมของชาว Rukai ในไทเปคือเครื่องใช้และเสื้อผ้าที่บรรพบุรุษใช้ ซึ่งแสดงถึงการสืบสานเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษ อีกทั้งยังถือเป็นคนในครอบครัว ดังนั้นเราจึงมองว่าการมาชมนิทรรศการนี้เสมือนเป็นในนามของญาติที่มาเยี่ยมชมนั่นเอง

นิทรรศการพิเศษนี้ใช้ภาพ 「ดอกลิลลี่ bariangalai」 6 กลีบสะท้อนถึงความจริงที่ว่าเครื่องใช้พื้นเมืองถูกใช้ในช่วงชีวิตที่ผ่านมาของชาว Rukai โดยจำแนกออกเป็น 6 ลักษณะ ในภาษาดอกไม้ของชาว Rukai ภาษาดอกไม้ของ 「ดอกลิลลี่ bariangalai」 ได้แก่ ความมีวินัยในตนเอง ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรักตนเอง ความขยันหมั่นเพียร ความอุตสาหะ ความกล้าหาญ ความจริงใจ การช่วยเหลือผู้อื่น และความรับผิดชอบ เป็นต้น ล้วนเป็นสิ่งที่ชาว Rukai ผู้ซึ่งมีคุณธรรมควรมี  หวังว่าผ่านการจัดนิทรรศการนี้โดยใช้ชื่อเรียกเดิมของสิ่งประดิษฐ์และภาพลักษณ์ในการดำรงชีวิต จะทำให้รำลึกถึงความรู้สึกในอดีต  รวมทั้งการสืบสานคำสอนของบรรพบุรุษ「พึงจำไว้ว่า ดอกลิลลี่ที่ประดับบนหัว มีชีวิตดั่งมนุษย์」 วัตถุสิ่งนี้เป็นส่วนเสริมเจตจำนง ทำให้เราสามารถย้อนกลับไปมองการใช้ชีวิตแบบธรรมดาและโลกแห่งจิตวิญญาณของชาว Rukai เมื่อร้อยปีที่แล้วด้วยวัตถุที่เรียบง่ายและงดงามเหล่านี้

นิทรรศการทั้งสองนี้มีความท้าทายอย่างมากในแง่ของการสำรวจภาคสนาม การแปลและการตีความทางวัฒนธรรม การวางแผนนิทรรศการ และงานธุรการ แม้ว่าขั้นตอนการเตรียมการจะยาก แต่เมื่อเห็นว่ามรดกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาว Rukai ได้รับการเอาใจใส่อย่างจริงจัง และถูกตีความจากมุมมองของคนในท้องถิ่นและข้อความที่จัดแสดงยังนำเสนอเป็นภาษาจีนและภาษาชาติพันธุ์ จึงให้ความรู้สึกอย่างลึกซึ้งว่านิทรรศการนี้มีความสำคัญมากสำหรับพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่น (พิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก) พิพิธภัณฑ์ทางการ (พิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่) และชนเผ่าท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างยิ่ง  แม้ว่าไต้หวันจะสนับสนุนความยุติธรรมทางประวัติศาสตร์และความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่ก็ขึ้นอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่จะตีความเรื่องราวที่เป็นของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง นิทรรศการประเภทนี้ถือเป็นก้าวสำคัญบนเส้นทางแห่งความยุติธรรม บางทีอาจจะช่วยปลอบประโลมชนเผ่าจากการทำร้ายที่เกิดจากการล่าอาณานิคม และยังทำให้ผู้คนในสังคมมีความเข้าใจและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น