:::

การรวมประเทศให้เป็นหนึ่งและพิพิธภัณฑ์ของพม่า (ส่วนที่2)

พิพิธภัณฑ์ภายใต้สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมสามารถแบ่งได้เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดี พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมระดับท้องถิ่นที่จัดอยู่ในหมวดพิพิธภัณฑ์รำลึก นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ศาสนา พิพิธภัณฑ์เอกชน และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่อยู่ภายใต้สังกัดอื่นก็กำลังดำเนินการจัดเก็บวัตถุต่างๆที่มีความสำคัญเชิงวัฒนธรรมอยู่ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ในประเทศพม่าจะสังกัดภายใต้กระทรวงอื่นของรัฐบาลพม่า หรือไม่ก็เป็นหน่วยงานเอกชนกำกับดูแลเอง เป้าหมายของนโยบายวัฒนธรรมของประเทศพม่าคือยกระดับเกียรติยศ และความน่าเชื่อถือของประเทศผ่านการจัดเก็บรักษาวัตถุที่มีความสำคัญเชิงวัฒธรรม และชาติพันธุ์

จากนโยบายวัฒนธรรมข้างต้น จะเห็นได้ว่าภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรมพม่าคือ “ใช้วัฒนธรรมยกระดับประเทศ” วัตถุเชิงวัฒนธรรมที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ของประเทศหม่ามีมากมายหลากหลาย มรดกเชิงวัฒนธรรมของประเทศพม่าได้รับการจัดเก็บร่วมกันระหว่างพิพิธภัณฑ์แห่งชาติพม่า (อยู่ที่จังหวัดย่างกุ้ง) และพิพิธภัณฑ์โบราณคดีพุกาม นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ระดับท้องถิ่น และพิพิธภัณฑ์โบราณคดีภายใต้สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมอื่น ๆ คอยช่วยจัดเก็บรักษาด้วย

จากประวัติศาสตร์การพัฒนาของพิพิธภัณฑ์ใหญ่ต่าง ๆ อย่าง พิพิธภัณฑ์โบราณคดีพุกาม พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพม่า ตั้งแต่ยุคพระราชวัง และหอพระไตรปิฏกที่เก่าแก่โบราณที่สุด ไปจนถึงยุคก่อนได้รับเอกราชเป็นดังต่อไปนี้ หลังจากที่ประเทศพม่าได้รับเอกราชมา4ปี ในปี1952ได้มีการก่อตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้น พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งแรก (อยู่ที่จังหวัดย่างกุ้ง) และพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ อีกหลายแห่งก็ได้ก่อตั้งขึ้นเช่นกัน

1.ตึกพิพิธภัณฑ์เก่าที่พิพิธภัณฑ์พุกาม (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

1.ตึกพิพิธภัณฑ์เก่าที่พิพิธภัณฑ์พุกาม (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

2.แผ่นศิลาจารึกที่พุกาม (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

2.แผ่นศิลาจารึกที่พุกาม (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

3. แผ่นสลักพระพุทธบาทที่พุกาม (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

3. แผ่นสลักพระพุทธบาทที่พุกาม (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสหภาพเมียนมาร์ได้ก่อตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1952 ที่อาคารโถงจูบิลี่ บนถนนเจดีย์ชเวดากองในจังหวัดย่างกุ้ง ต่อมาในปี1970ก็ย้ายไปที่อาคารบ้านเลขที่24/26 ถนนแพนโซดันที่มีพื้นที่ใหญ่กว่า หลังจากนั้นในปี1996ก็ย้ายอีกครั้งไปยังตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบัน ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพม่าที่อยู่ในอาคารใหญ่5ชั้นสร้างใหม่ก็เปิดให้สาธารณชนเข้าเยี่ยมชม ภายในพิพิธภัณฑ์มีห้องหรือโถงจัดแสดง 14 ห้องด้วยกัน วัตถุโบราณที่ทางพิพิธภัณฑ์จัดเก็บสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆดังนี้

1.วัฒนธรรมพม่า

·    ศิลาจารึกและอักษรวิจิตรพม่า

·    ศิลปะพื้นเมืองดั้งเดิมพม่า

·    ศิลปะการแสดงพม่า

·    แกลลอรี่พม่า(หอศิลป์พม่า)

·    ศิลปะพุทธศาสนา

·    วัฒนธรรมชาติพันธุ์

2.ยุคสมัยประวัติศาสตร์พม่า

·    ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ

·    ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์แรกเริ่ม

·    อารยธรรมพม่า

·    ยุคศักดินาราชวงศ์

·    ยุคบัลลังก์ราชสีห์

·    ยุคยาดาบานอนที่พระเจ้ามินดงขึ้นครองราชย์

·    เครื่องประดับโบราณ

·    โซนอาเซียน

ตึกจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติส่วนใหญ่จะนำเสนอแต่วัฒนธรรมชาติพันธุ์พม่า และพุทธศาสนา ถึงแม้ประเทศพม่าจะมี135ชาติพันธุ์ที่ทางการยอมรับ แถมยังมีอีก7ชาติพันธุ์ที่ทางการไม่ได้ยอมรับด้วย แต่สิ่งของจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพม่ากลับจัดแสดงแต่วัฒนธรรมพม่าเป็นหลัก ถ้าเราใช้ตระกูลภาษามาจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์พม่าละก็จะสามารถจำแนกได้เป็น 6 ตระกูลภาษา ได้แก่

·    ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

·    ตระกูลภาษาไทกะได

·    ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน

·    ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

·    ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน

·    ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

แผนกโบราณคดี และพิพิธภัณฑ์แห่งชาติพม่ามีตึกคลังเอกสารอยู่หนึ่งหลัง แต่เข้าถึงได้ยากมาก ตึกคลังเอกสารนี้คือหลุมดำของเอกสารที่ไม่ใช่ของพุทธศาสนาที่เป็นที่โจษจันกัน วัตถุทางประวัติศาสตร์บางชิ้นที่ควรจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ไม่โดนทำให้สูญหายไปก็โดนทำลายทิ้ง บางชิ้นก็เข้าไปอยู่ในตลาดมือซื้อขายโบราณวัตถุท้องถิ่นไปเสีย

4.จารึกป้ายหลุมศพชาวอาร์เมเนียเมื่อปี1740 ใช้ภาษาอาร์เมเนียและภาษาฮอลแลนด์เขียน ต่อมาปรากฎขายที่ตลาดมืดโบราณวัตถุ (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

4.จารึกป้ายหลุมศพชาวอาร์เมเนียเมื่อปี1740 ใช้ภาษาอาร์เมเนียและภาษาฮอลแลนด์เขียน ต่อมาปรากฎขายที่ตลาดมืดโบราณวัตถุ (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

เรื่องเล่าปรัมปราที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศพม่าคือ เรื่องชินอรหันต์เทศนาธรรมแก่พระเจ้าอโนรธามังช่อ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม เมื่อพระเจ้าอโนรธามังช่อได้สดับธรรมจนเบิกเนตรแห่งธรรมแล้ว ท่านก็ได้ประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นี่คือจุดเริ่มต้นของการสร้างประเทศพม่า (ราชวงศ์พุกาม) และเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมพม่าด้วย หากดูจากเรื่องเล่าปรัมปราข้างต้นจะเห็นได้ว่าคนที่ไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชนก็จะไม่ใช่คนในประเทศ เรื่องเล่านี้มุ่งเน้นโจมตีชาวคริสต์ และชาวมุสลิม ดูแคลนชนกลุ่มน้อย ที่จริงแล้วพุทธศาสนาก็ได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศพม่าก่อนที่พระเจ้าอโนรธามังช่อจะเกิดเสียอีก พวกเราจะเห็นได้ว่ามีโบราณวัตถุทางพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ฮินดูมากมายที่อยู่ในยุคคริสตศักราชที่6หรือ7 ซึ่งอยู่ในยุคเมืองหลวงศรีเกษตร นครรัฐปยู

กองทัพ และผู้นำทางการเมืองพม่ามีความทะเยอทะยานที่จะรวบรวมประเทศพม่าให้เป็นหนึ่งเดียวเป็นอย่างมาก ผู้นำทางการเมืองหลายคนเชื่อในเรื่องเล่าปรัมปราจนโงหัวไม่ขึ้น คิดว่าประเทศพม่าเป็นประเทศของชาติพันธุ์พม่า และพุทธศาสนิกชนเท่านั้น ในเวลาเดียวกันรัฐบาลพม่าก็นำความคิดนี้ห่อเปลือกนอกว่าเป็นจิตวิญญาณแห่งการต่อต้านลัทธิอาณานิคม รัฐบาลพม่าได้โกหกหลอกลวงสร้างเรื่องเล่าปรัมปราใหม่ ให้เป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ เพื่อที่จะกดดันกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทางการไม่ยอมรับ และกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนาอื่น ๆ ส่วนน้อยในประเทศ บางครั้งรัฐบาลพม่าก็กุความผิดขึ้นมาเอง บอกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่ไม่เหมือนตนเป็นปรสิตมรณะที่คนอังกฤษเอามาฝังในประเทศพม่า หลักความคิดนี้ได้สร้างการเหยียดศาสนาและชาติพันธุ์ขึ้นในประเทศพม่า การฆ่าล้างในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การฆ่าล้างบางขนาดใหญ่ การโจมตีรุนแรงป่าเถื่อน การล้างกลืนชาติพันธุ์ และการฆ่าล้างชาติพันธุ์ล้วนเป็นผลข้างเคียงจากการสร้างประเทศแบบรัฐบาลพม่าทั้งสิ้น ซ้ำร้ายพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้สังกัดรัฐบาลยังได้ส่งเสริมหลักความคิดนี้ด้วยไม่มากก็น้อย พิพิธภัณฑ์เหล่านี้นำเสนอเพียงชาติพันธุ์ที่สูงส่งเพียงชาติพันธุ์เดียว (ชาติพันธุ์พม่า)และศาสนาที่สูงส่งเพียงศาสนาเดียว (พุทธศาสนา) ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเชื้อเพลิงที่ช่วยทำให้อัคคีแห่งการเหยียดหยามยิ่งประทุโชกโชนขึ้นในประเทศพม่า

5.จารึกป้ายหลุมศพชาวอาร์เมเนียท่านหนึ่งที่ถูกทิ้งไว้ที่เมืองพ่ากั่น (ปี1749) เขียนด้วยภาษาอาร์เมเนีย ภาษาฮอลแลนด์และภาษาพม่า (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

5.จารึกป้ายหลุมศพชาวอาร์เมเนียท่านหนึ่งที่ถูกทิ้งไว้ที่เมืองพ่ากั่น (ปี1749) เขียนด้วยภาษาอาร์เมเนีย ภาษาฮอลแลนด์และภาษาพม่า (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

ข้อมูลอ้างอิง

1.พิพิธภัณฑ์พม่า: ประวัติศาสตร์โดยย่อและมุมมองที่แท้จริง  Museums in Myanmar: Brief History and Actual Perspectives),Zan NuMra เขียน

2. วิกิพีเดีย: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพม่า

3.วิกิพีเดีย: ตารางกลุ่มชาติพันธ์พม่า

4. การทำลายลื้อถอนสุสานประวัติศาสตร์และมัสยิคด้วยรถขุดดิน(The Historic Lin Zin Gone Myanmar Muslim Cemetery and Mosque were demolished by using Bulldozers),Thuta Maung, เผยแพร่โดย M-Media