:::

ให้วัตถุต่างๆเป็นตัวเล่าเรื่อง : การสังเกตการณ์โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลาคม

แนะนำผู้เขียน: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ)

ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ) ทำงานด้านพิพิธภัณฑ์สันติภาพและหอจดหมายเหตุ เธอได้อุทิศตนให้กับการศึกษาด้านสันติภาพ เร็วๆนี้เธอได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะเดียวกัน เธอก็เป็นผู้ร่วมจัดตั้งโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สังหารหมู่ 6 ตุลา ปี 1976  โครงการพิพิธภัณฑ์ชายแดนภาคใต้และโครงการหอจดหมายเหตุ เธอมุ่งมั่นในการใช้พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ข้อพิพาทกลายเป็นสันติภาพ ตั้งแต่ปี 2011 คุณอ้อได้เริ่มผลักดันพิพิธภัณฑ์สันติภาพและความยุติธรรมกับโครงการหอจดหมายเหตุ โดยใช้ทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย (Asian Public Intellectual: API) ในการศึกษา “โครงการวิจัยเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์สันติภาพที่ญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์”

เกี่ยวกับโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา เกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2019 โดยมีบุคคล 4 คนเป็นคณะจัดตั้ง สมาชิกประกอบด้วยบรรณาธิการสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน 1 ท่าน  ผู้กำกับและช่างกล้องภาพยนตร์ 1 ท่าน  สถาปนิก 1 ท่านและนักวิจัย 1 ท่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่ทางสังคมการเมือง ให้ผู้คนที่มีภูมิหลังต่างๆ สามารถพูดคุยหารือเรื่องของความรุนแรงทางการเมืองในอดีต และปัจจุบันของไทย โครงการนี้จะใช้นิทรรศการ  การเสวนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้ชมและสังคมไทยเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล เอกสารหลักฐานต่างๆ  ตลอดจนนำไปสู่การตั้งคำถาม วิภาษณ์วิจารณ์ และก่อเกิดการท้าทายวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด


ประเทศไทยเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยข่าวลือ แต่ข้อเท็จจริงกลับเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก โดยข่าวลือมักจะใกล้เคียงกับความจริงเป็นอย่างมาก เลยทำให้ผู้คนยากที่จะจินตนาการว่าอดีตเคยเกิดอะไรขึ้น และเมื่อฉันมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารถึงเรื่องความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอดีต ฉันได้ครุ่นคิดว่าจะจัดแสดงข้อเท็จจริงอย่างไร ควรจะสื่อสารกับผู้เข้าชมอย่างไร เพื่อทำให้พวกเขารู้จักเริ่มตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์ จนนำไปสู่ข้อเท็จจริงที่ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 1976 รัฐบาลไทยได้มีคำสั่งการสังหารหมู่นักศึกษา และประชาชนที่ประท้วงอย่างสงบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) ต่อการกลับมาไทยของผู้นำเผด็จการ
ทางการรายงานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตจำนวน 46 ราย ผู้บาดเจ็บ 167 ราย และผู้โดนจับกุมกว่า 3000 ราย ต่อมาปี 1978 มีพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้ปล่อยตัวผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในเหตุการณ์ โดยเฉพาะผู้กระทำความผิด: ตำรวจ ตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มทหารอาสาสมัคร และกลุ่มปีกขวาจัด เดือนกรกฎาคม ปี 2019 หรือหลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม มา 43 ปี พวกเราได้ริเริ่มโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลาคม เพื่อท้าทายวัฒนธรรม “การลอยนวลพ้นผิด” (culture of impunity)ใช้วัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางการเมืองทั้งในอดีต และปัจจุบันในการสร้างพื้นที่เรียนรู้สังคมการเมือง ใช้การสื่อสารผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ สัมมนา ภาพยนตร์ ฯลฯ ในการท้าทายกระบวนการยุติธรรมไทยที่ไม่สัมฤทธิผล และวัฒนธรรม “การลอยนวลพ้นผิด” ที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน พร้อมสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์ให้มากขึ้น ซึ่งนี่คือเป้าหมายในการทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของเรา

ฉันได้ใช้เวลากว่า 20 ปี จึงได้เข้าใจว่าทำไมเราไม่สามารถพูดคุย หรือตรวจสอบเชิงลึกในเหตุการณ์ดังกล่าวได้ เนื่องจากประเทศไทยถูกปกครองโดยรัฐบาลทหารมาเป็นเวลานานรัฐบาลทหารให้ความสำคัญกับความมั่นคงของประเทศที่สุด รัฐบาลไทยสามารถควบคุมความทรงจำของชาวไทยโดยผ่านวัฒนธรรม “การลอยนวลพ้นผิด” กับการกระทำโดยมิชอบของฝ่ายยุติธรรม และฝ่ายปกครอง ความรุนแรงทางการเมืองในอดีตกลายเป็นประเด็นที่อ่อนไหวหรือต้องห้าม หลายคนมองว่ามีแค่เพียงการลืมอดีตถึงจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งทั้งหมดนี้คือความท้าทายในการที่เราจะรำลึก และพูดคุยกับอดีต

และแล้วการรัฐประหารล่าสุดในปี 2014 ก็ได้เปลี่ยนแปลงความคิดที่มีต่อทหารของคนไทยส่วนใหญ่ คนไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เริ่มถกเถียง และตั้งคำถามกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงในอดีต และความรับผิดชอบของรัฐบาล ซึ่งหัวข้อที่ได้ถกเถียงในพื้นที่สาธารณะรวมถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลาคมในปี 1976

“ประจักษ์ / พยาน” (Prajak / Payan) นิทรรศการครั้งที่หนึ่งของเรา จัดแสดงระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม ปี 2019 วัตถุพยานที่จัดแสดงมีอยู่ 3 ชิ้นเท่านั้น คือ กางเกงยีนส์ของนักศึกษาชายคนหนึ่งที่ใส่ในวันที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมปี 1976 ลำโพงที่มีรอยกระสุน และประตูสีแดงที่มีศพสองร่างถูกแขวนอยู่ในวันที่ 24 กันยายน ปี 1976 เราจัดแสดงวัตถุพยานเหล่านี้ พร้อมคำอธิบายสั้น ๆ เนื่องจากสิ่งของเหล่านี้คือวัตถุในสถาฯการจริง ทั้งเป็นพยานของความรุนแรง 
   เมื่อเข้ามาชมนิทรรศการ วัตถุพยานทั้งสามสิ่งนี้จะบอกเล่าถึงเรื่องราวแก่ผู้เยี่ยมชมโดยตรง พวกมันสื่อสารถึงความจริง และความจริงบอกเล่าตัวมันเองได้โดยไม่ต้องการคำพูดใด ๆ

ฉันยังจำได้ว่าในขณะที่ฉันอยู่ในงานนิทรรศการ และได้เฝ้ามองผู้คนเดินไปมาในงาน ฉันคิดในใจว่า “ทำไมถึงมีคนมาดูวัตถุพยานสามอย่างนี้เยอะขนาดนี้ เพียงเพราะว่าพวกเขาไม่เคยเห็นของพวกนี้มาก่อนหรือ? เพราะพวกเขาอยากรู้ความจริง? เพราะพวกเขาอยากรู้ว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาคมในปี 1976 เคยเกิดขึ้นจริงหรือ? หรือเพราะว่าพวกเขาอยากจะเจอเรา และคนอื่นๆ ที่มีความคิดเห็น และคำถามเหมือนกับพวกเขา?” 

“แขวน” (Kwean) นิทรรศการครั้งที่สองของเราจัดแสดงระหว่างวันที่ 1-10 ตุลาคม ปี 2020 ครั้งนี้เราได้ใช้เทคโนโลยีเออาร์ฉายภาพเสมือนจริงในการสื่อสารกับประชาชน เราเน้นช่วงเช้าของวันที่ 6 ตุลาคมปี 1976 ซึ่งขณะนั้นมีอย่างน้อย 5 คนที่ถูกแขวนคออยู่บนต้นไม้ที่สนามหลวงนิทรรศการถูกจัดขึ้น ณ สถานที่จริงที่เกิดการสังหารหมู่ และเนื่องจากเทคโนโลยีเออาร์ และรูปถ่ายขณะเกิดเหตุ ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเห็นศพที่ถูกแขวนคอหรือถูกปืนยิงได้

รัฐบาลไทยพยายามทำให้คนไทยลืมสิ่งที่เขาเคยทำไว้ และไม่ต้องรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่ วิธีง่าย ๆ ที่จะท้าทายพวกเขาได้คือการใช้หลักฐาน และวัตถุพยานของเหตุการณ์ดังกล่าวในการแสดงการกระทำของพวกเขาให้คนทั่วไปได้เห็น นิทรรศการของเราจัดที่สถานที่จริงที่เกิดการสังหารหมู่ ซึ่งเป็นการชี้ตรงไปที่ตัวตนของผู้กระทำผิดและเหยื่อ ระดับความรุนแรง และสถานที่เกิดอาชญากรรมระดับชาติ ซึ่งผู้เยี่ยมชมนิทรรศการนี้ก็คือพยานของความรุนแรงในอดีต

ฉันพบว่าผู้เยี่ยมชม โดยเฉพาะวัยรุ่น เข้าใจเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคมเป็นอย่างดี พวกเขารู้จาก “บันทึก 6 ตุลาคม” ซึ่งเป็นหอจดหมายเหตุออนไลน์ อินเทอร์เน็ต และสิ่งพิมพ์ พวกเขามาดูนิทรรศการเพื่อทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ดังกล่าวให้มากขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่ และประชาชนคนอื่น ๆ ฉันก็ยังพบว่าแม้ว่าบริบทสังคมการเมืองไทยได้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมความทรงจำ และเสรีภาพในการแสดงออกของคนไทย แต่บริบทสังคมการเมืองปัจจุบันได้ส่งเสริมให้ประชาชนตามหาความจริง จากมุมมองนี้ ฉันเห็นว่าพิพิธภัณฑ์มีส่วนช่วยในการผลักดันส่งเสริมวัฒนธรรมสันติภาพ และป้องกันมิให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีกครั้งในอนาคต

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลาคมยังดำเนินอยู่ ก่อนที่จะได้สถาปณาพิพิธภัณฑ์จริงๆ ขึ้นมา เรายังมีหนทางอีกยาวไกลที่จะต้องเดินต่อไป อย่างไรก็ตาม โครงการนี้มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกับพิพิธภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น การรวบรวมวัตถุพยานได้มากขึ้น การจัดแสดงนิทรรศการ การสัมมนา และการเสวนา เราเชื่อว่าเราจะตั้งคำถามต่อไปเรื่อยๆ (1) เรารู้หรือไม่รู้อะไรบ้าง เอกสาร หลักฐาน และข้อมูลอยู่ที่ไหน ใครมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้บ้าง ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย? (2) การเก็บรวบรวมข้อมูล คำให้การ ความทรงจำ และเอกสารอื่น ๆ จากกลุ่มคนต่าง ๆ : ผู้กระทำผิด เหยื่อ ผู้เห็นเหตุการณ์ และคนอื่น ๆ (3) การทำให้ข้อมูล คำให้การ ความทรงจำ และเอกสารเกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้เยี่ยมชมให้มากขึ้น และ (4) เสริมสร้างความแน่นแฟ้นระหว่างพิพิธภัณฑ์ และวัฒนธรรมการบันทึกเรื่องราวเพื่อความยุติธรรม

1: ผู้ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ปี 1976 เป็นอาสาสมัครนำชมนิทรรศการ แบ่งปันความทรงจำและประสบการณ์ของพวกเขา ตำแหน่งรูปภาพบนผนังตั้งอยู่ใกล้กับตำแหน่งของเหยื่อที่ถูกยิงเสียชีวิต(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))

1: ผู้ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ปี 1976 เป็นอาสาสมัครนำชมนิทรรศการ แบ่งปันความทรงจำและประสบการณ์ของพวกเขา ตำแหน่งรูปภาพบนผนังตั้งอยู่ใกล้กับตำแหน่งของเหยื่อที่ถูกยิงเสียชีวิต(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))

2: นิทรรศการครั้งที่หนึ่ง ผู้เยี่ยมชมนิทรรศการ และประตูแดงของ“ประจักษ์ / พยาน” (Prajak / Payan)(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))

2: นิทรรศการครั้งที่หนึ่ง ผู้เยี่ยมชมนิทรรศการ และประตูแดงของ“ประจักษ์ / พยาน” (Prajak / Payan)(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))

3: อาสาสมัครนำชมนิทรรศการกำลังอธิบายให้นักเรียนทราบว่าตำแหน่งที่พวกเขากำลังยืนอยู่นั้นเคยเกิดเหตุการณ์อะไรบ้าง เนื่องจากช่วงเช้าของวันที่ 6 ตุลาคม ปี 1976 มีนักเคลื่อนไหวปฏิรูปสังคมคนหนึ่งถูกพบว่าเสียชีวิตอยู่ตรงนี้(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))

3: อาสาสมัครนำชมนิทรรศการกำลังอธิบายให้นักเรียนทราบว่าตำแหน่งที่พวกเขากำลังยืนอยู่นั้นเคยเกิดเหตุการณ์อะไรบ้าง เนื่องจากช่วงเช้าของวันที่ 6 ตุลาคม ปี 1976 มีนักเคลื่อนไหวปฏิรูปสังคมคนหนึ่งถูกพบว่าเสียชีวิตอยู่ตรงนี้(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))

4: ผู้เยี่ยมชมนิทรรศการ และประตูแดงของ“แขวน” (Kwean) นิทรรศการครั้งที่สอง ผู้เยี่ยมชมสามารถเยี่ยมชมวัตถุพยานของพิพิธภัณฑ์ได้อย่างละเอียด(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))

4: ผู้เยี่ยมชมนิทรรศการ และประตูแดงของ“แขวน” (Kwean) นิทรรศการครั้งที่สอง ผู้เยี่ยมชมสามารถเยี่ยมชมวัตถุพยานของพิพิธภัณฑ์ได้อย่างละเอียด(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))

5: นี่คือรูปภาพที่มีเอกลักษณ์ที่สุดของการสังหารหมู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ซึ่งไม่มีคนในภาพนี้ได้รับการยืนยันตัวตน รูปภาพนี้ถูกแขวนอยู่บนผนังซึ่งห่างจากสถานที่ถูกถ่ายบันทึกเพียง 20 เมตร(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))

5: นี่คือรูปภาพที่มีเอกลักษณ์ที่สุดของการสังหารหมู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ซึ่งไม่มีคนในภาพนี้ได้รับการยืนยันตัวตน รูปภาพนี้ถูกแขวนอยู่บนผนังซึ่งห่างจากสถานที่ถูกถ่ายบันทึกเพียง 20 เมตร(รูปถ่ายโดย: ภัทรภร ภู่ทอง (อ้อ))


วิดีโอ
RAP AGAINST DICTATORSHIP - ประเทศกูมี

RAP AGAINST DICTATORSHIP - ประเทศกูมี