:::

การรวมประเทศให้เป็นหนึ่งและพิพิธภัณฑ์ของพม่า (ส่วนที่1)

Thet Oo Maung (ผู้ทำงานด้านภาพยนตร์และช่างภาพ)

Thet Oo Maung (Thet Oo Maung หรือสตีเฟน ไมนัส Stephen Minus) เป็นผู้ที่มีความห่วงใยเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างมุ่งมั่น, ยังเป็นนักวาด, ช่างภาพและช่างวิดีโอที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เขาได้ใช้เทคนิคการถ่ายภาพเฉพาะตนเพื่อเพิ่มเสียงเรียกร้องของผู้ที่ถูกใส่ร้าย, ผู้ที่ถูกหลงลืม, หรือผู้ที่ถูกปิดปาก ผลงานของเขามีหัวข้อหลากหลาย เช่น สงครามภายในประเทศ, ทุ่นระเบิด, คนพิการ, การศึกษาของเด็ก, การดูแลสุขภาพของเด็ก, การเสริมสร้างศักยภาพสตรี, สิทธิการใช้และเข้าถึงดิจิทัล, การตัดไม้ทำลายป่าที่ผิดกฎหมาย, การล้อมรั้วที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ลง ฯลฯ ซึ่งเขากำลังวางแผนผลักดัน “เสวนาภาพยนตร์หนึ่งก้าว” ซึ่งเป็นเสวนาภาพยนตร์ด้านสิทธิมนุษยชนใต้ดินครั้งแรกในเมียนมาร์

เสวนาภาพยนตร์หนึ่งก้าว (One Step Film Forum)

เสวนาภาพยนตร์หนึ่งก้าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ภาพยนตร์ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์ สำหรับผู้ที่ต้องการเรียกร้องความยุติธรรมนั้น เสวนาภาพยนตร์หนึ่งก้าวเป็นพื้นที่สำหรับพวกเขาที่จะเป่านกหวีและเปิดโปงทุจริต เราใช้วิธีฉายภาพยนตร์เพื่อสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออก, เสรีภาพในการพูด, สันติภาพและความสามัคคี, การแบ่งปันความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน, ความยุติธรรมและการเคลื่อนไหวทางสังคม ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2021 รัฐบาลทหารใช้อำนาจโดยมิชอบในการแย่งอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยที่พึ่งจะชนะเลือกตั้งครั้งใหม่ ผู้คนทั่วประเทศจำนวนมากออกไปท้องถนนประท้วงการปฏิวัติของฝ่ายทหาร ในขณะที่การปราบปรามการประท้วงอย่างสันติทั่วประเทศนั้น ทหารได้ฆ่าคนหนุ่มคนสาวเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งผู้หญิงและเด็กก็ไม่ละเว้น ด้วยเหตุนี้ เสวนาภาพยนตร์หนึ่งก้าวจะส่งเสริมสิทธิมนุษยชน, เสรีภาพและความยุติธรรมต่อไป เราจะใช้พลังของภาพยนตร์ในการต่อสู้


ในปี1961 คุณU Nu ประธานาธิบดีพม่าคนแรกหลังจากที่ได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ (ชื่อเดิมของประเทศพม่าคือBurma ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นMyanmar) ได้ประกาศให้ประเทศพม่าเป็นประเทศพุทธศาสนา วันที่29 สิงหาคม ปี1961 สหภาพม่าได้ลงมติผ่านกฎหมายส่งเสริมศาสนาของประเทศที่มีคุณU Nuเป็นคนผลักดันด้วยตัวเอง กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศพม่า นี่ก็เป็นหนึ่งในคำสัญญาที่คุณU Nuได้ให้ไว้ในสมัยที่หาเสียงเลือกตั้ง หลังจากที่ประเทศพม่าได้รับเอกราช มีกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มลุกฮือต่อต้านประเทศที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมานี้ หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ต่อต้านที่มีชื่อเสียงคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ส่วนมากเป็นคริสตศาสนิกชน อีกกลุ่มต่อต้านหนึ่งที่มีชื่อเสียงเช่นกันคือกลุ่มคอมมิวนิสต์พม่า รัฐบาลพม่ามองกลุ่มต่อต้านเหล่านี้ว่าเป็นคนป่าเถื่อนที่ไม่เชื่อในพุทธศาสนา หรือกลุ่มต่อต้านพุทธศาสนา เหตุด้วยประชากรส่วนมากของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่นก็เป็นคริสตศาสนิกชน จึงทำให้เมื่อปี1961ตอนที่ประกาศศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการแล้ว กองทัพเอกราชคะฉิ่น (เรียกโดยย่อว่าK.I.A.)ได้ลุกฮือต่อต้าน ตั้งแต่ปี1961เป็นต้นมา หนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาลพม่าก็คือศรัทธาในพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว และใช้พุทธศาสนารวมถึงการมีศรัทธาร่วมในศาสนาเพียงศาสนาเดียวมาสานสัมพันธ์ใจและสร้างความสามัคคีของประชาชนในประเทศ ในอีกทางหนึ่ง รัฐบาลได้ชูธงส่งเสริมความศรัทธาศาสนาประจำชาติภายในประเทศเป็นอย่างมาก ในเวลาเดียวกันก็ได้โจมตีกดดันกลุ่มศาสนาอื่นส่วนน้อย เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาอิสลาม ฯลฯ ด้วย

        หากจะยกตัวเองให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าในหลายพันปีนี้ภายในประเทศพม่ามีศาสนาหลายศาสนาผสมผสานอยู่ด้วยกัน แต่ทางรัฐบาลพม่ากลับมองข้ามการเก็บรักษาโบราณวัตถุทางศาสนาที่ไม่ใช่พุทธศาสนาไป ซ้ำร้ายบางครั้งรัฐบาลพม่ายังจงใจทำลายโบราณสถาน โบราณวัตถุเหล่านี้ด้วย มีนักวิชาการหลายท่านกล่าวว่าการดำเนินการเช่นนี้ของรัฐบาลพม่าคือ “การทำให้เป็นชาติพันธุ์พม่า” พิพิธภัณฑ์ในประเทศพม่าอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพม่าเบ็ดเสร็จ ทางพิพิธภัณฑ์จะมองข้ามโบราณวัตถุทางศาสนาอื่น ๆ ที่ต้องเก็บรักษาหรือนำแสดงออกไป และใช้วิธีของทางพิพิธภัณฑ์เองในการสนับสนุนนโยบายศาสนาประจำชาติของทางรัฐบาล

ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในประเทศพม่า

        ประเทศพม่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ประเทศหนึ่ง กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆที่ทางรัฐบาลพม่าให้การยอมรับมีด้วยกัน135กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้สามารถแบ่งเป็น “กลุ่มชาติพันธุ์หลักของประเทศ” ได้8กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์พม่า กลุ่มชาติพันธุ์ชิน กลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่น กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง กลุ่มชาติพันธุ์คะยา กลุ่มชาติพันธุ์มอญ กลุ่มชาติพันธุ์อะระกัน(หรือระขึน) และกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ หรือฉาน “กลุ่มชาติพันธุ์หลักของประเทศ” ส่วนมากจะแบ่งตามเส้นเขตแดน ไม่ได้แบ่งตามภาษา หรือถิ่นกำเนิดของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ๆ

        นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากทางการ กลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับที่ใหญ่ที่สุดคือคนพม่าเชื้อสายจีน และชาวปันหาย (ชาวหุย) (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ3%ของประชากรทั้งหมด) คนพม่าเชื้อสายอินเดีย (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2%ของประชากรทั้งหมด) คนพม่าเชื้อสายอังกฤษ และชาวกุรข่า (Gurkha) กลุ่มชาติพันธุ์สองกลุ่มท้ายไม่มีแม้แต่ข้อมูลจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการ แม้จะมีตัวเลขไม่อย่างเป็นทางการว่ามีชาวพม่าเชื้อสายอังกฤษอยู่ในประเทศพม่ากว่า 52,000 คน นอกประเทศ 1,600,000 คน รายชื่อกลุ่มชาติพันธุ์135กลุ่มที่รัฐบาลพม่าไม่ให้การยอมรับได้แก่:

·    คนพม่าเชื้อสายอังกฤษ

·    คนพม่าเชื้อสายจีน

·    คนปันทาย (ชาวหุย)

·    คนพม่าเชื้อสายอินเดีย

·    ชาวตองทา (Taungtha)

·    ชาวโรฮิงญา

·    คนพม่าเชื้อสายกุรข่า/คนพม่าเชื้อสายเนปาล

กลุ่มชาติพันธุ์พม่าถือว่ามีความหลากหลาย มีวัฒนธรรม และมรดกทางศาสนาที่มากมายหลากหลาย แต่วัตถุทางประวัติศาสตร์ วัตถุทางวัฒนธรรม และมรดกวัฒนธรรมดั้งเดิมส่วนใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่รัฐบาลพม่ายอมรับ หรือไม่ยอมรับก็ตามจะไม่มีปรากฎให้เห็นในพิพิธภัณฑ์ใหญ่ในประเทศพม่า ซ้ำร้ายหลักฐานที่ว่ามีศาสนาอื่น ๆ ในประเทศพม่าที่มีน้ำหนัก หรือมรดกทางวัฒนธรรมอื่น ๆ กลับถูกรัฐบาลพม่าจงใจทำลาย หรือเก็บซ่อนไว้ มีป้ายอธิบายวัตถุทางศาสนาของศาสนาอื่น ๆ บางส่วนถูกเขียนขึ้นอย่างไม่มีมูลเหตุ หรือกรอกข้อมูลผิด ๆ กลายเป็นวัตถุทางพุทธศาสนาไปเสียอย่างนั้น วัดนันปะยา (Nan Phayar) ในจังหวัดพุกามเป็นโบราณสถานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เจดีย์หินทรายโบราณแห่งนี้สร้างเมื่อศตวรรตที่11 เป็นวิหารเทพของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประดิษฐานรูปปั้นพระพรหมไว้ รูปสลักเทพสามเศียรแกะสลักบนผนังวัดอย่างชัดเจน แต่รัฐบาลพม่า และผู้นำทางศาสนากลับเรียกที่นี่ว่าเป็นวัดพุทธ แถมจงใจทำลายวัตถุทางประวัติศาสตร์บางชิ้นด้วย เพื่อปกปิดความจริงเกี่ยวกับศาสนาความเชื่อในประเทศพม่า

1.รูปแกะสลักพระพรหมในเจดีย์นันปะยาในจังหวัดพุกาม (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

1.รูปแกะสลักพระพรหมในเจดีย์นันปะยาในจังหวัดพุกาม (รูปถ่ายโดย: Thet Oo Maung)

เหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงช่วงนี้คือช่วงระหว่างปี2012 ถึงปี2013 สุสานLin Zin Goneในจังหวัดมัณฑะเลย์ถูกรื้อทิ้ง รัฐบาลจังหวัดมัณฑะเลย์ได้รื้อทำลายมัสยิด และหลุมศพแห่งหนึ่งในสุสานLin Zin Goneในเมืองอมรปุระทิ้ง วันที่31 พฤษภาคม ปี 2012 หนังสือพิมพ์มัณฑะเลย์ทูเดย์ได้ตีพิมพ์ข่าวหัวหน้าหน่วยงาน และกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนสุสานทุกระดันได้รับหนังสือร้องเรียง หลังจากที่รื้อถอนสุสานLin Zin Goneไป นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับยังได้รับหนังสือร้องเรียนที่มีลายเซ็นสนับสนุนมากกว่าสามพันคน ต่อต้านการรื้อถอน สุสานแห่งนี้เก็บมรดกทางประวัติศาสตร์มากมาย แถมเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ในยุคก่อนอาณานิคมอังกฤษอีกด้วย แถมที่นี่เคยรับรองบุคลลที่มีชื่อเสียงที่ไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชนซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์พม่าในอดีต ในวันรื้อถอนรถขุดดินได้ทำลายป้ายหลุมศพบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่มีเชื้อสายมุสลิม อาร์เมเนีย และยุโรปไปมากมาย เช่น นักบุญ Aabis Sha Husain Ni ท่านผู้ว่าการ Rammaawati (ชื่อยกย่อง) (หมายเหตุ: ต้นฉบับคือ U Nu ชื่อคนพม่าไม่มีนามสกุล U เป็นชื่อยกย่อง ด้วยเหตุนี้จึงแปล U Nu เป็น ท่าน ที่ไม่ใช่ U Nu ที่เป็นอดีตประธานาธิบดีของพม่า) คุณBoethaw Phayar นักเขียน และกวีได้กล่าวอธิบายว่าศาสนาอิสลามได้ทิ้งร่องรอยทางประวัติศาสตร์เอาไว้ที่นี่ และที่นี่ยังมีหลุมศพของชาวอิสลามที่มีชื่อเสียงมากมาย การรื้อถอนหมายถึงการลบล้างมรดกทางประวัติศาสตร์ก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษโดยบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนซึ่งก็คือ พระมหากษัตริย์พม่าในอดีตได้สร้างเอาไว้ ต่อมามีพระสงฆ์ของวัดใกล้ ๆ ได้มาช่วยเอาไว้ มีเพียงป้ายหลุมศพที่ไม่มีป้ายที่รอดจากการรื้อถอนครั้งนี้ และได้รับการจัดเก็บไว้ภายในวัด

2. ป้ายหลุมศพที่ปรักหักพัง เป็นของคนอาร์เมเนียที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมัณฑะเลย์ในยุคราชวงศ์ของประเทศพม่า ได้รับการกอบกู้จากสุสานLin Zin Gone (รูปถ่ายโดย: Tayza Hlaig)

2. ป้ายหลุมศพที่ปรักหักพัง เป็นของคนอาร์เมเนียที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมัณฑะเลย์ในยุคราชวงศ์ของประเทศพม่า ได้รับการกอบกู้จากสุสานLin Zin Gone (รูปถ่ายโดย: Tayza Hlaig)

3.ป้ายหลุมศพชาวอาร์เมเนียที่อาศัยในจังหวัดมัณฑลเลย์ในยุคMin Doneeraท่านหนึ่งที่ถูกทิ้งเอาไว้ คำจารึกบนป้ายเขียนด้วยภาษาพม่า และภาษาอาร์เมเนีย ได้รับการกอบกู้จากสุสานLin Zin Gone (รูปถ่ายโดย: Tayza Hlaig)

3.ป้ายหลุมศพชาวอาร์เมเนียที่อาศัยในจังหวัดมัณฑลเลย์ในยุคMin Doneeraท่านหนึ่งที่ถูกทิ้งเอาไว้ คำจารึกบนป้ายเขียนด้วยภาษาพม่า และภาษาอาร์เมเนีย ได้รับการกอบกู้จากสุสานLin Zin Gone (รูปถ่ายโดย: Tayza Hlaig)