:::

การผนึกพลังข้ามชาติกับการประชุมด้านสิทธิมนุษยชน: มุมมองของผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม

การประชุมประจำปี พ.ศ. 2566 เชิญวิทยากรจากทั่วทุกมุมโลกมารวมตัวกัน (ภาพ: FIHRM-AP)

การประชุมประจำปี พ.ศ. 2566 เชิญวิทยากรจากทั่วทุกมุมโลกมารวมตัวกัน (ภาพ: FIHRM-AP)

ผู้เขียน: เวิง จ้งเหวิน นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไทเป สาขาวิชาพิพิธภัณฑศึกษา


การผนึกพลังข้ามชาติกับการประชุมด้านสิทธิมนุษยชน: มุมมองของผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม

บทนำ

การประชุม FIHRM-AP ประจำปีพ.ศ.2566 เน้นเรื่อง “การผนึกพลังด้านสิทธิมนุษยชน: ความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์และชุมชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” เป็นประเด็นหลัก เพื่อหารือการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และแนวทางปฏิบัติสำหรับความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์กับชุมชน โดยผู้นำเสนอมีภูมิหลังที่หลากหลาย อาทิ เจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ องค์กรภาคประชาสังคม และนักวิจัยอิสระรวมอยู่ด้วย ในช่วงสองวันก่อนการประชุมประจำปี ทีมสัมภาษณ์อาศัยโอกาสนี้ ได้รับเกียรติในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านความก้าวหน้าและสิทธิมนุษยชนหลายท่าน ซึ่งไม่เพียงแต่เรียนรู้ประสบการณ์และทักษะเชิงปฏิบัติที่ข้ามพรมแดนและแง่มุมหลากหลายมิติเท่านั้น แต่ยังได้รับรู้ถึงความคาดหวังและมุมมองของผู้เข้าร่วมประชุมและวิทยากรจากแต่ละประเทศที่มีต่อ FIHRM-AP ด้วย

การประชุมประจำปีของ FIHRM-AP ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาสิทธิมนุษยชน โดยผู้หญิงที่ยืนอยู่ตรงกลางภาพคือ ลินดา นอร์ริส กรรมาธิการอาวุโสของสหพันธ์โบราณสถานแห่งมโนธรรมนานาชาติ (ICSC) (ภาพ: FIHRM-AP)

การประชุมประจำปีของ FIHRM-AP ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาสิทธิมนุษยชน โดยผู้หญิงที่ยืนอยู่ตรงกลางภาพคือ ลินดา นอร์ริส กรรมาธิการอาวุโสของสหพันธ์โบราณสถานแห่งมโนธรรมนานาชาติ (ICSC) (ภาพ: FIHRM-AP)

การประชุมประจำปีของ FIHRM-AP เปิดโอกาสให้วิทยากรภายในประเทศและต่างประเทศได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างใกล้ชิด โดยฝั่งด้านขวาคือผู้อำนวยการหวัง ฉางหวาจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ ด้านซ้ายคือ เทรซี พูลาสกี ผู้อำนวยการอาวุโสของรัฐบาลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีแห่งออสเตรเลีย (ภาพ: FIHRM-AP)

การประชุมประจำปีของ FIHRM-AP เปิดโอกาสให้วิทยากรภายในประเทศและต่างประเทศได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างใกล้ชิด โดยฝั่งด้านขวาคือผู้อำนวยการหวัง ฉางหวาจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ ด้านซ้ายคือ เทรซี พูลาสกี ผู้อำนวยการอาวุโสของรัฐบาลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีแห่งออสเตรเลีย (ภาพ: FIHRM-AP)

ใช้สื่อลดช่องว่างด้านสิทธิมนุษยชน ใช้เวลาลดระยะห่างทางใจ

ในด้านของการผลักดันการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน พิพิธภัณฑ์หลายแห่งที่เกี่ยวโยงกับสิทธิมนุษยชนได้ใช้สื่อที่หลากหลายในการลดช่องว่างระหว่างผู้ชมกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่จริงจังลง พิพิธภัณฑ์สุ่ยผิงเซ่อของประเทศญี่ปุ่นใช้หนังสือภาพ การ์ตูน และอุปกรณ์ถามตอบทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เด็กได้เริ่มสัมผัสกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน พิพิธภัณฑ์ทิเบตได้สร้างจอแสดงผล AR และระบบออนไลน์รายสัปดาห์ เพื่อเอาชนะข้อจำกัดของพื้นที่และแรงกดดันทางการเมือง ศาสตราจารย์จจาลี่ เฉิน มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไทเปสาขาวิชาพิพิธภัณฑศึกษาแบ่งปัน “กล่องเครื่องมือสอนสิทธิมนุษยชน” 5 รูปแบบที่พัฒนาโดยพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเกมกระดาษ “Chronicles of Crime”  เผิงหู 713 คดีที่แนะนำโดยศาสตราจารย์หลิน เป่าอันจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเผิงหู มอบช่องทางสำหรับนักศึกษาในการเข้าถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งประสบการณ์การเรียนรู้และความเป็นไปได้อย่างเพลิดเพลิน

ในด้านของความร่วมมือระหว่างองค์กรสิทธิมนุษยชนกับชุมชน ปูจา ปาน ประธา ผู้อำนวยการของ Voices of Women Media องค์กรที่ใส่ใจด้านสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงในประเทศเนปาลได้แบ่งปันทักษะด้านความร่วมมือกับชุมชนในระหว่างการสัมภาษณ์ โดยเน้นย้ำว่าหัวใจสำคัญของความร่วมมือกับชุมชนคือมิตรภาพระยะยาว และเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งสอดคล้องกับคำตอบในระหว่างการสัมภาษณ์ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และภัทรภร ภู่ทอง นักวิจัยอิสระ: เหยื่อจำนวนมากที่ถูกกดขี่และถูกขมขู่เป็นเวลานาน ได้สูญเสียความกล้าหาญที่จะพูดมานานแล้ว การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้วยความเอาใจใส่เป็นก้าวแรกสำหรับเหยื่อในการฟื้นฟูความมั่นใจและการเปิดใจ ในขณะเดียวกัน หยวน ชวี่เหวิน ภัณฑารักษ์ “บทสนทนาร้อยปี” ของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น เหตุผลที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันสามารถสร้างความร่วมมือที่มั่นคงกับแรงงานข้ามชาติของไต้หวันคือความร่วมมือตลอดระยะเวลา 9 ปี และความสัมพันธ์ที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ประเด็นที่น่าสนใจคือ ปูจา ปานยังเน้นย้ำในระหว่างการสัมภาษณ์ว่าเมื่อทีมของเธอเข้าสู่ชุมชนจะให้ความสำคัญกับอำนาจและสถานนะกับชุมชนว่าอยู่ในระดับเสมอภาคหรือไม่ ไม่เข้าสู่ชุมชนในฐานะขององค์กร แต่มุ่งหวังว่าภายใต้การอยู่เคียงข้างในระยะยาวจะได้รับการยอมรับจากชุมชนและกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อเสริมสร้างมุมมองที่หลากหลายหรือร่วมกันต่อต้านระบบเผด็จการและวิถีแห่งความอยุติธรรม พิพิธภัณฑ์จำเป็นต้องอยู่เคียงข้างกันในระยะยาวเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจและแสดงจุดยืนในการ “ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ” ตลอดจนเชิญชวนพันธมิตรในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการวางแผนและการตัดสินใจของพิพิธภัณฑ์ ถึงจะสามารถสร้างความร่วมมือที่ยั่งยืนและมั่นคงได้

FIHRM-AP จัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการ แสดงความคิดเห็น จากขวา: ภัทรภร ภู่ทอง แพร ศิริศักดิ์ดำเกิงจากประเทศไทย อันดิ อัชเดียนจากประเทศอินโดนีเซีย ทาดะยูกิ โคมาอิ จยาลี่ เฉินจากประเทศญี่ปุ่น และลินดา นอร์ริสจากประเทศสหรัฐอเมริกา (ภาพ: FIHRM-AP)

FIHRM-AP จัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการ แสดงความคิดเห็น จากขวา: ภัทรภร ภู่ทอง แพร ศิริศักดิ์ดำเกิงจากประเทศไทย อันดิ อัชเดียนจากประเทศอินโดนีเซีย ทาดะยูกิ โคมาอิ จยาลี่ เฉินจากประเทศญี่ปุ่น และลินดา นอร์ริสจากประเทศสหรัฐอเมริกา (ภาพ: FIHRM-AP)

ในช่วงเวลาพัก ผู้เข้าร่วมประชุมเล่นเกมกระดาน เหตุการณ์เนรเทศ “Chronicles of Crime” ณ ห้องโถง (ภาพ: FIHRM-AP)

ในช่วงเวลาพัก ผู้เข้าร่วมประชุมเล่นเกมกระดาน เหตุการณ์เนรเทศ “Chronicles of Crime” ณ ห้องโถง (ภาพ: FIHRM-AP)

การผนึกพลัง ความรู้สึกร่วมกันและสมานชีวิน: การกระเพื่อมและเสียงสะท้อนอันหลากเสียง

ในมุมมองความคิดเห็นกับการประชุมประจำปีของครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อันดิ อัชเดียน จากมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียและที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนมูนีร์กล่าวว่าตัวเขาเองมีความสุขอย่างยิ่งที่ได้เรียนรู้แนวทางสนับสนุนสิทธิความเท่าเทียมกันและการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนเชิงปฏิบัติผ่านการแลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีโอกาสทำความรู้จักกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ทิเบต และประเทศอื่น ๆ ที่ยังมีระบบการประหัตประหารอยู่ และยังคงดำเนินภารกิจในการพูดแทนกลุ่มเหยื่อภายใต้สภาพการณ์ที่ยากลำบากนี้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจอย่างมาก นอกจากนี้ ทาดะยูกิ โคมาอิ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สุ่ยผิงเซ่อ ประเทศญี่ปุ่น ยังกล่าวอีกว่าด้วยการแลกเปลี่ยนแบบเห็นหน้ากับนักวิชาการ หน่วยงาน และสถาบันวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการประชุมประจำปีของ FIHRM-AP ไม่เพียงแต่ผลักดันแนวทางการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน แต่ยังนำปฏิญญาของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะมาลงมือปฏิบัติจริง และร่วม “สร้างโลกมนุษย์ให้อบอุ่นกว่าเดิม” ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป (ภาษาญี่ปุ่น: もっと热かい人の世を)

ในระหว่างการประชุม ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากหลากหลายประเทศได้โต้ตอบและมีส่วนร่วมกันอย่างกระตือรือร้น จากซ้าย: ทาดะยูกิ โคมาอิจากประเทศญี่ปุ่น ล่ามภาษาจีน-ญี่ปุ่น เทรซี พูลาสกีจากประเทศออสเตรเลีย (ภาพ: FIHRM-AP)

ในระหว่างการประชุม ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากหลากหลายประเทศได้โต้ตอบและมีส่วนร่วมกันอย่างกระตือรือร้น จากซ้าย: ทาดะยูกิ โคมาอิจากประเทศญี่ปุ่น ล่ามภาษาจีน-ญี่ปุ่น เทรซี พูลาสกีจากประเทศออสเตรเลีย (ภาพ: FIHRM-AP)

FIHRM-AP ส่งเสริมการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างสนุกสนานระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากแต่ละประเทศ จากซ้าย: ปูจา ปาน จากประเทศเนปาล พัมธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์จากประเทศไทย และลินดา นอร์ริสจากประเทศสหรัฐอเมริกา (ภาพ: FIHRM-AP)

FIHRM-AP ส่งเสริมการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างสนุกสนานระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจากแต่ละประเทศ จากซ้าย: ปูจา ปาน จากประเทศเนปาล พัมธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์จากประเทศไทย และลินดา นอร์ริสจากประเทศสหรัฐอเมริกา (ภาพ: FIHRM-AP)

พิพิธภัณฑ์เป็นช่องทางสำคัญในการส่งเสริมความเท่าเทียมกันและการตอบสนองต่อประเด็นร่วมสมัย แม้ว่ายังหลงเหลือประเทศที่ได้รับเสียหายจากสงคราม แต่เมื่อเปรียบเทียบแล้ว การตอบสนองและอิทธิพลของพิพิธภัณฑ์ยังดูอุดมคติและมีขนาดเล็กอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากทีมสัมภาษณ์ได้พูดคุยกับลินดา นอร์ริส และปูจา ปานแล้ว ความไม่สบายใจและความสงสัยภายใต้เถ้าถ่านของสงครามก็ถูกแทนที่ด้วยความมั่นใจและความหวังที่จะฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง พวกเธอให้กำลังใจว่า: คุณไม่มีทางรู้ว่าพิพิธภัณฑ์สามารถเข้าถึงชุมชนประเภทใด ไม่ควรเพิกเฉยต่อการกระทำและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากผู้เยี่ยมชมคนใดคนหนึ่งที่ประทับใจกับนิทรรศการ อย่าลืมว่าพิพิธภัณฑ์เป็นช่องทางสำคัญที่ทำลายวาทกรรมหนึ่งเดียว และนำเสนอมุมมองและวาทกรรมที่หลากหลาย ตลอดจนการแสวงหาการผลิตซ้ำของความจริง ซึ่งถือเป็นบทบาทและหน้าที่สำคัญของพิพิธภัณฑ์ในการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน ยกคำกล่าวของริชาร์ด เบนจามิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทาสระหว่างประเทศและอาจารย์อาวุโสด้านปฏิบัติงานการทางพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร ในการบรรยายหัวข้อพิเศษ Soul Power ว่า “นี่เป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญและใจกล้ามากสำหรับพิพิธภัณฑ์ในการแสดงจุดยืนที่จะร่วมมือกับชุมชนหรือ NGO อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง หากพิพิธภัณฑ์และชุมชนเชื่อมั่นอย่างแท้จริงว่าทุกสิ่งเพื่อการแสวงหาอนาคตที่เท่าเทียมและยุติธรรม ฉะนั้น จะยังคงรักษาไว้ซึ่งความไร้เดียงสา (naive) และการกระตือรือร้น (enthusiastic) ไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะความเชื่อดังกล่าวจะกลายเป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในที่สุด” บนเส้นทางอันยากลำบากของการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน แม้หนทางจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ก็อย่าลืมโอกาสและการเปลี่ยนแปลงที่ทำงานร่วมกับชุมชนมาตลอดการเดินทาง ยิ่งห้ามมองข้ามพลังของพิพิธภัณฑ์ที่พูดแทนชุมชนและส่งเสริมการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน หวังว่าจะได้เห็นมิตสหายจำนวนมากขึ้นที่คอยผนึกพลังด้านสิทธิมนุษยชนและก้าวไปข้างหน้าด้วยกันบนหนทางแห่งสิทธิมนุษยชน