:::

ร่วมเรียนรู้ไปกับหัวข้อ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" FIHRM-AP – โดยร่วมคิดและสร้างสรรค์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)และพิพิธภัณฑ์ ในปี 2022

ภาพที่ 1 การแสดงคของโรงละครโนอิง (Knowing Theatre)

ภาพที่ 1 การแสดงคของโรงละครโนอิง (Knowing Theatre)

เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และในฐานะที่พิพิธภัณฑ์เสมือนสะพานแห่งการสื่อสารประเด็นที่เกี่ยวกับผู้คน จะสามารถทำอะไรได้บ้าง? สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (Federation of International Human Rights Museums- Asia Pacific หรือ FIHRM-AP) เพื่อตอบรับกับหัวข้อ "พลังของพิพิธภัณฑ์" (The Power of Museums) ในงานประชุมสมาชิกสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (ICOM) ณ กรุงปรากในปีนี้ ได้ต่อยอดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันด้านสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่นในปี 2020 สำหรับครั้งนี้ FIHRM-AP ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันในธีม “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน" โดยใช้วิธีการอภิปรายทุกเดือน การศึกษาดูงานในสถานที่จริง และงานประชุมเชิงปฏิบัติการสื่อสารอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา5เดือน นอกจากนี้ FIHRM-AP ยังได้เชิญองค์กรพัฒนาเอกชน 12 แห่งและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ 9 แห่งร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายร่วมดำเนินการเพื่อประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศและสิทธิมนุษยชน

FIHRM-AP ทบทวนความเหมือนและความต่างระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและพิพิธภัณฑ์

โดยวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนี้คือส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ใช้ประโยชน์จากทั้งสองหน่วยงานในการผลักดันและคิดค้นแผนปฏิบัติการอีกขั้นหนึ่งสำหรับประเด็นสภาพภูมิอากาศและประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน การเรียนรู้ร่วมกันครั้งแรกของกิจกรรมนี้ คุณเฉินซือถิง นักวิจัยสมาคมสหพันธ์เพื่อปฏิบัติการพลเมืองสีเขียว (Green Citizen Action Alliance Association) ได้ถูกรับเชิญให้มาอธิบายประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ จะเห็นได้ว่า กลุ่มพลเมืองมีข้อได้เปรียบเชิงปฏิบัติการในการริเริ่มและสนับสนุนประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ เช่น การผลักดันนโยบาย การแถลงข่าว การอบรมครูผู้ฝึก ฯลฯ นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ฯ ยังได้เชิญคุณหวงซวี่เจ๋อ นักผู้ช่วยวิจัย จากพิพิธภัณฑ์ธ์วิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งชาติ (National Museum of Natural Science) มากล่าวถึงกลยุทธ์การจัดนิทรรศการสภาพภูมิอากาศขึ้นเป็นตัวอย่างในหัวข้อ “นิทรรศการภาพถ่ายเมื่อลมใต้พัดผ่าน เรื่องเล่าแห่งหมู่บ้านไถซี” (When the South Wind Blows—The Documentary Photography of Taixi Village) เพื่ออธิบายว่าพิพิธภัณฑ์ดำเนินการ อภิปรายและวิจัยเรื่องสภาพอากาศอย่างไร พร้อมนำเสนอวิธีคิดและการอ้างอิงในนิทรรศการที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และใช้ช่วงอภิปรายในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่ออภิปรายและแบ่งปันความแตกต่างและจินตนาการระหว่างพิพิธภัณฑ์และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันดำเนินการในประเด็นร่วม

ละครเวทีหนึ่งเรื่องสำหรับหนึ่งคน ผสมผสานรูปแบบการสื่อสารและมุมมองที่แตกต่างเข้าด้วยกัน

นอกจากนี้ มีวิธีอื่นในการสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนอกจากข้อริเริ่มขององค์กรพัฒนาเอกชนและประเภทนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์หรือไม่? FIHRM-AP เชิญ “โรงละครโนอิง” (Knowing Theatre) ใช้การแสดงสดในการช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมเกิดการอภิปราย และสื่อสารผ่านการแสดงเพื่อถ่ายทอดความคิดและการโต้ตอบที่หลากหลายมากขึ้น อันดับแรก เขาได้เชิญผู้เข้าร่วมมาแชร์ประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยใช้การแสดงสอดแทรกเพื่อชวนให้คิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภูมิอากาศกับชีวิตประจำวันของผู้คน ใช้การแสดงในการโต้ตอบกับผู้ชม ช่วงท้าย คุณเกาอวี๋เจิน ผู้อำนวยการโรงละคร และคุณเฉินเจิ้งอี อาจารย์สอนละคร ได้มาแบ่งปันตัวอย่างของการออกแบบแผนการเรียนการสอนในชุมชนและโรงเรียน โดยวิธี “การแสดง”สร้างมุมมองและพื้นที่การสื่อสารใหม่ๆ ของพิพิธภัณฑ์กับองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีผลต่อผู้ชมหรือผู้ร่วมประเด็น

ภาพที่ 2 การอภิปรายและระดมความคิดในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ

ภาพที่ 2 การอภิปรายและระดมความคิดในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ

ภาพที่ 3 การอภิปรายและระดมความคิดในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ

ภาพที่ 3 การอภิปรายและระดมความคิดในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ

จากความคิดสู่การปฏิบัติ: จากการศึกษาดูงานสถานที่จริงสู่การสร้างสรรค์แผนปฏิบัติการ

แผนการเรียนรู้ร่วมกันเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในครั้งนี้ นอกจากการกล่าวสุนทรพจน์และการอภิปรายการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมยังได้ศึกษาดูงานสถานที่จริง โดยมีสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติหลังพายุไต้ฝุ่นม้อลาเค่อเป็นสถานที่หลัก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หมู่บ้านเห่าฉา ตำบลลี่น่าลี่ อำเภอหม่าเจีย จังหวัดผิงตง พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเสี่ยวหลินผิงผู่ พิพิธภัณฑ์ชุมชนอู๋หลีผู่เสี่ยวหลิน สวนรำลึกหมู่บ้านเสี่ยวหลิน โดยใช้วิธีการนำเสนอของพิพิธภัณฑ์ทั่วไปและพิพิธภัณฑ์ชุมชน เพื่อจัดแสดงเนื้อหาและเล่าเรื่องที่แตกต่าง เพื่อคำนึงถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างพิพิธภัณฑ์และชุมชน จนสามารถนำมาเป็นพื้นฐานของข้อริเริ่มปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ ขยายพื้นที่อภิปรายประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศและสิทธิมนุษยชน ในช่วงการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งพิพิธภัณฑ์และองค์กรพัฒนาเอกชนได้ใช้โอกาสการอภิปรายในประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานสถานที่จริง เพื่อทำความเข้าใจความเหมือนและความต่างในการดำเนินงานระหว่างพิพิธภัณฑ์และองค์กรพัฒนาเอกชน พร้อมแบ่งปันประสบการณ์และอุปสรรคการดำเนินงานในชีวิตจริง มุ่งเน้นที่กิจกรรมหลากหลายที่เกิดขึ้นจริงได้ในหัวข้อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ศึกษาดูงานสถานที่จริงที่ตามหัวข้อหลักที่กำหนด นิทรรศการหมุนเวียนบ้านถาวร ค่ายอบรมผู้ให้คำแนะนำ

ภาพที่ 4 การศึกษาดูงานสถานที่จริง

ภาพที่ 4 การศึกษาดูงานสถานที่จริง

FIHRM-AP สืบทอดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มพลเมืองและพิพิธภัณฑ์ในอดีต พิพิธภัณฑ์เคยถูกใช้เป็นสถานที่ให้ความรู้แก่ประชาชน แต่ในสังคมร่วมสมัยในปัจจุบัน ความร่วมมือและการดำเนินการแบบบูรณาการขององค์กรพัฒนาเอกชนได้ทำให้พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ผลักดันประเด็นต่างๆ ใช้การเชื่อมต่อแพลตฟอร์มและความร่วมมือของ FIHRM-AP ในการตอบรับประเด็นสภาพภูมิอากาศและสิทธิมนุษยชน นี่ได้แสดงให้เห็นถึงหัวข้อ "พลังของพิพิธภัณฑ์" (The Power of Museums) ในงานประชุม ICOM ครั้งนี้ได้อย่างเต็มที่ หวังว่าในอนาคต FIHRM-AP พิพิธภัณฑ์และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นจะร่วมสร้างกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมได้มากกว่าเดิม!

 

[1] องค์กรพัฒนาเอกชนที่เข้าร่วม: มูลนิธิอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสหพันธ์แม่บ้าน พันธมิตรภูมิอากาศเยาวชนไต้หวัน มูลนิธิพลเมืองโลก สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนไต้หวัน สมาคมส่งเสริมวิทยาลัยชนพื้นเมืองไต้หวัน สหพันธ์กิจกรรมพลเมืองสีเขียวไต้หวัน ทีมวิจัยภัยพิบัติหลังพายุไต้ฝุ่นม้อลาเค่อ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี องค์การป่าเจียอี้ ศูนย์พัฒนาสังคมวัฒนธรรมออสโตรนีเซียนมหาวิทยาลัยซุนยัดเซ็นแห่งชาติ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไต้หวัน พันธมิตรสิทธิมนุษยชนพื้นเมืองในภัยพิบัติหลังพายุไต้ฝุ่นมรกต มูลนิธิคุ้มครองสิทธิสิ่งแวดล้อม

[2] พิพิธภัณฑ์ที่เข้าร่วม ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์ศิลปะแห่งชาติไถตง พิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ไต้หวันแห่งชาติ ศูนย์การศึกษาวิทยาศาสตร์ไต้หวันแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ไต้หวันแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ไต้หวันแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ