:::

ในรอยแยกขนาด 1.5 เมตร ยังคงมีแสงสว่าง

เมืองที่ยิ่งเจริญ ยิ่งมิอาจละเลยความยากจนได้ (ที่มาของรูปภาพ/ เหรินเซิงป่ายเว่ย, ซินจิ้วหลุน)

เมืองที่ยิ่งเจริญ ยิ่งมิอาจละเลยความยากจนได้ (ที่มาของรูปภาพ/ เหรินเซิงป่ายเว่ย, ซินจิ้วหลุน)

บทแนะนำเหรินเซิงป่ายเว่ย (Do You A Flavor) โดยสังเขป:

เหรินเซิงป่ายเว่ย (Do You A Flavor) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มุ่งมั่นจัดการประเด็นคนไร้บ้านและความยากจนในเมือง ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา เหรินเซิงป่ายเว่ยได้มีข้อริเริ่มให้ประชาชนเข้าร่วมและโครงการบริการโดยตรงอย่างต่อเนื่อง พร้อมร่วมมือกับกลุ่มสังคมที่สนใจในประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น สังคมชุมชน ผู้ป่วยทางจิต ที่พักอาศัย แรงงาน เพศสภาพ ฯลฯ โดยที่เหรินเซิงป่ายเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็น "ผู้นำทาง" ระหว่างผู้คนกับประเด็นต่างๆ

จู กัง หย่ง

ผู้ทำงานด้านปัญหาความยากจน(และยากจนด้วยจริงๆ) ร่วมก่อตั้งเหรินเซิงป่ายเว่ย (Do You A Flavor), ฉงเสวียเหมิง (Learning From The Poor), ออกแบบนิทรรศการ "ไทเปของคนจน”(Poor’ Taipei), ร่วมแต่งและตีพิมพ์หนังสือ " คู่มือเอาตัวรอดตามตรอกซอย”(Street Survival Guide) และ "รื้อฐานรุกใหม่: การอยู่ร่วมกันในเมือง" (City Commoning)


ในเมืองที่เจริญรุ่งเรือง จัดนิทรรศการของคนยากจน

“ถ้าเราย้อนมองอดีต เราจะรู้ทันทีว่า ความเจิดจรัสของนครไทเปในวันนี้ แท้จริงแล้ว เป็นผลจากการที่ผู้แสวงความฝันจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ, คนยากไร้, แรงงานระดับฐานราก, ผู้ย้ายถิ่น, ชาวพื้นเมืองและคนจนได้ทุ่มเทหยาดเหงื่อแรงกายตลอด 100 กว่าปีที่ผ่านมา พวกเขามาจากภูเขาสูง, เกาะแก่ง และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มุ่งสู่ไทเป ร่วมแปลงโฉมหน้าใหม่ให้กับเมืองอันยิ่งใหญ่นี้ด้วยมือของพวกเขา

ถ้ามองจากบางมุมมอง ไทเปที่เจริญรุ่งเรืองในวันนี้ ไม่ได้เป็นไทเปของผู้ประสบความสำเร็จและคนรวยอย่างเดียว แต่ยังเป็นไทเปของคนผิดหวังและคนจนด้วย "—ซุน ต้าชวน บทนำไทเปของคนจน

ในศตวรรษนี้ ทั่วโลกระบุให้ความยากจนเป็นปัญหาที่สำคัญและต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน* ถึงกระนั้น เมื่อมีการพูดถึงประเด็นดังกล่าว มักจะไม่ปรากฏเสียงของคนจน มนุษย์เป็นผู้ที่อยู่ท่ามกลางความยากจนที่รับรู้และตอบสนองต่อความยากจนโดยตรง มีความรู้สึกและประสบการณ์อันลึกซึ้ง แต่สังคมยังคงเต็มไปด้วยทัศนคติเชิงลบเกี่ยวกับความยากจน ผู้มีประสบการณ์โดยตรงส่วนใหญ่เลือกที่จะซ่อนตนหรือปฏิเสธอดีตของตนเอง จนกลายเป็นผู้พูดไม่ได้

ตั้งแต่ปี 2017 องค์กรบุคคลชายขอบหลายแห่งในไทเป เช่น คนไร้บ้าน, ชาวพื้นเมืองในเมือง, ครอบครัวเปราะบาง, วัยรุ่นที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ, ผู้ป่วยทางจิต ฯลฯ ได้ร่วมกันเปิดตัว "ไทเปของคนจน" โดยผ่านกิจกรรมริเริ่มประจำปี เชิญชวนให้ประชาชนก้าวสู่ชีวิตคนจนและเข้าใจปัญหาความยากจนในเมือง

การจัดนิทรรศการขององค์กรพัฒนาเอกชน: เดินไกลสำคัญกว่าเดินเร็ว

ทุกๆปี นิทรรศการไทเปของคนจนเจาะลึกความยากจนผ่านหัวข้อต่างๆ เช่น "ตีสี่" และ "ทางเลือกที่ไม่เป็นที่เข้าใจ" เชิญชวนผู้มีประสบการณ์ตรงร่วมสร้างสรรค์กับนักสังคมสงเคราะห์และศิลปิน ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้คนรู้สึกปลอดภัยและมีเกียรติ ผู้คนเริ่มแบ่งปันประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดของตน ร่วมกันแปลงเรื่องราวต่างๆ ให้เป็นเพลง ภาพวาด ละครเวที เกม และผลงานอื่นๆ กลายเป็นเรื่องเล่าในนิทรรศการที่นุ่มนวลและทรงพลัง

ระหว่างนี้ การมีคนที่เชื่อใจได้อยู่เคียงข้างเป็นเรื่องสำคัญมาก นักสังคมสงเคราะห์นอกจากจะตรวจสอบสภาพและเจตนาของคนจนอย่างทันท่วงทีแล้ว ยังนำสิ่งที่ค้นพบระหว่างการสร้างสรรค์งานศิลป์มาให้บริการ ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้มีประสบการณ์ตรงมีความลึกซึ้งและยาวนานกว่า แม้จะใช้เวลายาวนานในการตรวจสอบไปมาและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน (เช่นในปี 2018 คนที่เดิมยอมให้ถ่ายรูปจากด้านข้างก็ได้ปฏิเสธที่จะปรากฎตัวในเวลาต่อมา) แต่สำหรับทีมปฏิบัติการ “ไทเปของคนจน” การเรียกร้องไม่ใช่เป็นเพียงการบอกเล่าออกมาเท่านั้น แต่ยังเป็นการจัดการความรู้สึกภายในที่สำคัญอีกด้วย ดังนั้น การชะลอและการจากไปจึงเป็นเรื่องธรรมดาและสามารถทำได้ และไม่เป็นเหตุให้พวกเขาต้องถูกทอดทิ้งไป ความเข้าอกเข้าใจที่สั่งสมมายาวนานทำให้องค์กรต่างๆ ไว้ใจให้ “ไทเปของคนจน” เป็นผู้บันทึกและสื่อสาร เรื่องราวและแนวคิดใหม่ๆ เผยแพร่ที่นี่ทุกปี

2020 “ฝึกพูด” ไทเปของคนจน เพลงและบทกวีสำหรับคนยากไร้, https://doyouaflavor.wixsite.com/mysite-3

2020 “ฝึกพูด” ไทเปของคนจน เพลงและบทกวีสำหรับคนยากไร้, https://doyouaflavor.wixsite.com/mysite-3

2020 “ฝึกพูด” ไทเปของคนจน เพลงและบทกวีสำหรับคนยากไร้, https://doyouaflavor.wixsite.com/mysite-3

2020 “ฝึกพูด” ไทเปของคนจน เพลงและบทกวีสำหรับคนยากไร้, https://doyouaflavor.wixsite.com/mysite-3

การจัดนิทรรศการออนไลน์: จะดึงคนที่อยู่ห่าง 1.5 เมตรมาได้อย่างไร

ในปี 2021 มีการเตือนภัยระดับ 3 เนื่องจากโรคระบาด องค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่งได้ระดมสิ่งขอและให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน เขตว่านหัวซึ่งเป็นที่ตั้งของ “ไทเปของคนจน” กลายเป็น "สถานที่ที่โรคระบาดเล็ดลอดเข้ามา" ตามข่าว และถูกตราหน้าว่ามีมลทิน เพื่อลดความเสี่ยงโรคระบาด นิทรรศการ “ไทเปของคนจน” จึงปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ การเลือกหัวข้อนิทรรศการ และการสรรหาวัตถุที่จะจัดแสดงในสภาวะกำลังคนที่จำกัด กลายเป็นความท้าทายที่น่าจดจำที่สุดในปีที่แล้ว

ในขณะที่ประชาชนทั่วไปอยู่ที่บ้านเพื่อป้องกันโรคแพร่ระบาด เราไปอยู่กับคนยากไร้ในที่ต่างๆ พวกเขาโย้กย้ายระหว่างถนนหนึ่งไปอีกชุมชนหนึ่ง เราเข้าไปยังในที่ที่คนอื่นมองไม่เห็น ผู้จัดนิทรรศการได้ร่วมมือกับนักสังคมสงเคราะห์ สัมภาษณ์และเรียบเรียงสิ่งที่ทีมงานได้เห็นได้รู้ จัดทำห้องนิทรรศการ “แสงที่มาเยือน” นอกจากนี้ เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่ ค่าอุปกรณ์งานนิทรรศการทางกายภาพ ฯลฯ ทีมจัดนิทรรศการได้ใช้งบประมาณดังกล่าวเป็นค่าต้นฉบับ เชิญชวนผู้ยากไร้ส่งผลงานต้นฉบับ โดยใช้วิดีโอ, เสียง, ภาพถ่ายและข้อความบันทึกชีวิตของตนเองในช่วงเตือนภัยระดับ 3 เนื่องจากโรคระบาด

เพื่อสนับสนุนให้ผู้คนแบ่งปันและส่งเสริมนิทรรศการกับผลงานแบบเรียลไทม์มากขึ้น เราได้จัดตั้งนิทรรศการบน Instagram และเนื่องจากแพลตฟอร์มนี้ไม่มีข้อจำกัดในการอัปโหลดและเข้าชม งานครั้งนี้มี มีผู้มีประสบการณ์ตรงและนักสังคมสงเคราะห์จำนวน 89 คนเข้าร่วมแบ่งปัน รวมผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมด 196 รายการ .

ในรอยแยกขนาด 1.5 เมตร ยังคงมีแสงสว่าง

ในรอยแยกขนาด 1.5 เมตร ยังคงมีแสงสว่าง

นอกจากนี้ ความพยายามร่วมกันในการต่อสู้กับโรคระบาดของชุมชนว่านหัวและเครือข่าย NGO ได้กลายเป็นงานที่น่าสนใจที่สุดของปีที่แล้ว ทีมงานนิทรรศการใช้แผนที่โอเพนซอร์สระบุร้านค้าและชุมชนใกล้เคียงที่แจกและสนับสนุนสิ่งของอุปโภคบริโภค ทีมงานนิทรรศการนอกจากจะบันทึกเรื่องราวการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในขณะนั้นแล้ว ยังเชิญชวนให้ประชาชนไปอุดหนุนร้านค้านั้นๆ จริง หลังการระดับเตือนภัยโรคระบาดลดลงด้วย

เครือข่ายสนับสนุนคนจน

เครือข่ายสนับสนุนคนจน

1.5 เมตร คือ ระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันโรคแพร่ระบาด เป็นความเห็นร่วมกันของผู้คน เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ชีวิตประจำวันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ชีวิตของผู้คนจำนวนมากเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แต่เรายังคงเชื่อว่า ในรอยแยก 1.5 เมตรนี้ ยังคงมีแสงสว่าง ผู้คนยังสามารถส่องแสงกันไปมา และเมื่อแสงส่องเข้ามา สีรุ้งก็จะปรากฎออกมา