:::

พิพิธภัณฑ์จะเผชิญหน้ากับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยได้อย่างไร จากการเรียนรู้ร่วมกัน สู่การเริ่มเคลื่อนไหว “Ayo-Ayo! พรุ่งนี้ที่ดีกว่า—นิทรรศการสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น” พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวัน/จาง เหวิน ซิน

ภายหมู่ผู้ร่วมฟังบรรยายเสริมสร้างกำลังสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น 2020

ภายหมู่ผู้ร่วมฟังบรรยายเสริมสร้างกำลังสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น 2020

แนะนำผู้เขียน จาง เหวิน ซิน(張文馨)

ทำงานอยู่ฝ่ายเลขานุการของพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวัน และสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (FIHRM-AP) มีหน้าที่วางแผน ออกแบบ และรวบรวมการเรียนการสอนที่สร้างการเรียนรู้ของ FIHRM-AP ในปี 2020 -2021 จัดทำบรรยายเสริมสร้างกำลังด้านสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่นฐาน  การสัมมนาออนไลน์สิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น และประชุมเชิงปฏิบัติการ และสัมมนาออนไลน์สิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศศึกษา

แนะนำองค์กร

พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวันเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในเอเชียที่รวมโบราณสถานซึ่งบอกเล่าการทำร้ายสิทธิมนุษยชนภายใต้ระบอบอำนาจนิยม พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งนี้ยังกำกับดูแลโบราณสถานสองแห่ง คือ “อนุสรณ์สถานความน่าสะพรึงกลัวสีขาวสาขาจิ๋งเหม่ย” และ “อนุสรณ์สถานความน่าสะพรึงกลัวสีขาวสาขากรีน ไอส์แลนด์” อนุสรณ์ทั้งสองแห่งนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวชีวิต และความทรงจำของผู้ประสบภัยทางการเมืองในยุคที่มีชื่อว่าความน่าสะพรึงกลัวสีขาว ขณะนี้ได้กลายเป็นสถานที่แห่งสักขีพยานของการพัฒนาสิทธิมนุษยชนในไต้หวัน


หลายปีที่ผ่านมานี้ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ได้ถกเถียงเรื่องค่านิยมหลัก และศีลธรรมของพิพิธภัณฑ์ ทบทวนย้อนมองบทบาท และหน้าที่ทางสังคมของพิพิธภัณฑ์ และได้นำเสนอการเคลื่อนไหวของพิพิธภัณฑ์ สิทธิมนุษยชน และประเด็นทางสังคมที่ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องพิเศษเฉพาะพิพิธภัณฑ์อีกต่อไป มีข้อริเริ่มให้พิพิธภัณฑ์ทลายความเป็นกลาง และควรเป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมอย่างกระตือรือร้น การแสดงออกทางการเมือง และผลกระทบทางสาธารณะที่เกิดขึ้น

ในปี 2019 งานประชุมสมาชิกสภาการพิพิธภัณฑ์นานาชาติ (ICOM) ครั้งที่ 25 ณ กรุงเกียวโต คุณเดวิด เฟลมมิง (David Fleming) ผู้ก่อตั้งสมาคมสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ ได้ประกาศเปิดตัวสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (Federation of International Human Rights Museums- Asia Pacific หรือ FIHRM-AP) ซึ่งตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวัน (พิพิธภัณฑ์ฯ ) อย่างเป็นทางการ FIHRM-AP มีข้อริเริ่มว่าเมื่อต้องเผชิญหน้ากับประเด็นจำเป็นเร่งด่วน เช่น สิทธิมนุษยชนร่วมสมัย ประเด็นสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมทางสังคม สวัสดิภาพของมนุษย์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน พิพิธภัณฑ์จะไม่ใช่แค่พิพิธภัณฑ์อีกต่อไป การสนับสนุนการเสริมสร้างพลัง (Empowerment) ความร่วมมือ (Collaboration) การมีส่วนร่วม(Engagement) และพันธมิตร(Partnership) เพื่อพังทลายขอบเขตระหว่างอภิชน และอำนาจรูปแบบดั้งเดิม รวมทั้งก่อให้เกิดการพูดคุย และสร้างความร่วมมือระหว่างประชาคม การใช้อิทธิพลทางสังคมของพิพิธภัณฑ์อย่างเหมาะสม

สร้างกลุ่มสังคมเรียนรู้สิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น สร้างกลยุทธ์ความเคลื่อนไหวเชิงพันธมิตร

เพื่อเป็นการสนองรับหัวข้อ “พิพิธภัณฑ์ที่เท่าเทียมกัน : ความหลากหลาย และการยอมรับ (Museums for Equality: Diversity and Inclusion)” ในวันที่ 18 พฤษภาคม วันแห่งพิพิธภัณฑ์ FIHRM-AP ได้มีการเชิญชวนพิพิธภัณฑ์ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนกว่า 14 แห่ง และอีกทั้งกลุ่มสังคมที่เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องกว่า 15 กลุ่มรวมตัวกันเพื่อจัดกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกัน และมองหาความร่วมมือที่เป็นไปได้เพื่อสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น[MG1] 

ปัญหาแรงงานย้ายถิ่น และสิทธิมนุษยชนนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การขยายตัว และสะสมทุนของบริษัทข้ามชาติในบริบทโลกาภิวัตน์ของทุนนิยม ตั้งแต่ยุค 80 ไต้หวันร่วมท้าชิงตำแหน่งกึ่งชายขอบของตลาดทุนนิยมโลกาภิวัตน์และเป็นหนึ่งใน “ผู้รับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ต่างๆ” ตั้งแต่ปี 90 ไต้หวันเผชิญกับสถานการณ์ “ขาดแคลนแรงงาน” เพราะค่าแรงที่สูงขึ้นและสังคมผู้สูงอายุ ไต้หวันเริ่มนำเข้าแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายจากประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฯลฯ หลายปีที่ผ่านมา สังคมไต้หวันได้รับผลประโยชน์จากแรงงานย้ายถิ่น “ราคาถูก” แต่ไม่เคยให้การปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่น การทำงาน สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ฯลฯ แก่พวกเขา ตลาดแรงงานใช้ระบบจัดการแรงงานพำนักชั่วคราวในการเอื้อให้นายทุนและนายหน้าได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจมากที่สุดจากแรงงานย้ายถิ่น ประกอบกับกฎหมายยังมีข้อจำกัดมากมายบังคับไม่ให้แรงงานเปลี่ยนนายจ้างได้อย่างอิสระ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างมีความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น ก่อให้เกิดการกดดันทางเชื้อชาติ ชนชั้นและเพศในหลายมิติ กลุ่มพลเมืองได้เรียกร้องมาหลายปีแต่ก็ไม่สามารถสั่นคลอนปัญหาเชิงโครงสร้างและนโยบายได้

สำหรับประเด็นสิทธิมนุษย์ผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศและภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางการเมืองนั้น FIHRM-AP ได้จัดทำบรรยายเสริมสร้างกำลังสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่นผ่านการประชุมเดือนละครั้ง สร้างกลุ่มสังคมเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมการพูดคุยและเชื่อมโยงระหว่างพิพิธภัณฑ์กับกลุ่มสังคมให้มากขึ้น พร้อมได้จัดกิจกรรมเยี่ยมชมสถานที่จริง เช่น พิพิธภัณฑ์ ศูนย์พักพิงและสะพานหนานฟางอ้าวซึ่งเป็นจุดที่แรงงานประมงชาวต่างชาติถูกสะพานหักหล่นทับเสียชีวิต เรียนรู้วิธีปฏิบัติและประสบการณ์ดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนจากองค์กรที่หลากหลาย พิพิธภัณฑ์และกลุ่มพลเมืองเริ่มพัฒนาฐานแห่งความเชื่อใจซึ่งกันและกัน พร้อมส่งเสริมพันธมิตรระหว่างภาครัฐและเอกชน  กลุ่มสังคมได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันและได้ใช้กระบวนการพัฒนาที่ปรับเปลี่ยนได้ ใช้วิธีการพูดคุยไปมา ปรับความเห็นร่วมกัน สร้างเป้าหมายร่วมกัน ใช้กลยุทธ์การเคลื่อนไหวหลายวิธีการ เช่นการจัดแสดง กิจกรรมการเรียนรู้ ภาพยนตร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิธีการทางวัฒนธรรม กระทั่งวิธีการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น การเดินขบวนพาเหรด การประท้วง เพื่อมองหาแผนงานการปฏิบัติที่ทุกฝ่ายยอมรับ

สร้างพื้นที่สาธารณะสำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน“พิพิธภัณฑ์”สำหรับการพูดคุยในสังคมและข้อริเริ่มเชิงนโยบาย

ตัดสินใจร่วมกัน เพื่อวางแผนกิจกรรมนิทรรศและการพูดคุยกับสังคมด้วยกัน

เพื่อเป็นการต่อยอดจากมติและเป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกัน ในปี 2021 พิพิธภัณฑ์ฯ และกลุ่มพลเมือง 15 กลุ่มได้ร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้กลุ่มพลเมืองเป็นผู้นำในการวางแผนจัดนิทรรศการ มอบสิทธิในการตีความอธิบายแก่กลุ่มพลเมือง นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดแสดงในอดีต ซึ่งเดิมพิพิธภัณฑ์จะเป็นผู้วางแผนจัดนิทรรศการ นำร่องสำรวจเชิงปฏิบัติการและควบคุมการจัดงาน ส่วนเจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์กลายเป็น “ผู้ดูแลแผนงาน” และ “ผู้ประสานงาน” พร้อมนำเข้า “ทีมงานจัดนิทรรศการ” ช่วยออกแบบและจัดทำนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์และทีมผู้จัดนิทรรศการรับบท “ผู้อยู่เคียงข้างการจัดนิทรรศการ” ช่วยกลุ่มพลเมืองแสวงหาวิสัยทัศน์และเป้าหมายนิทรรศการ รวบรวมคำสำคัญกว่า 100 คำด้านสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานการเรียนรู้ร่วมกันก่อนหน้า มอบให้ที่ประชุมและการประชุมเชิงปฏิบัติจัดนิทรรศการหารือ ช่วยพัฒนามติที่ประชุมให้เป็นขอบเขตและเนื้อหาการจัดนิทรรศการ และเป็นฝ่ายสนับสนุนด้านอื่นๆ เช่น ช่วยเสริมเนื้อหางานวิจัย การเขียนคำอธิบายนิทรรศการต่างๆ ยืมวัตถุที่จัดแสดงจากกลุ่มพลเมือง มีทั้งอุปกรณ์ประกอบการประท้วงและผลงานด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ตุ๊กตาขนาดใหญ่จากขบวนพาเหรดแรงงานย้ายถิ่น ของใช้ส่วนตัวของชาวประมงที่เสียชีวิต วรรณกรรมแรงงานย้ายถิ่นที่ได้รับรางวัลและภาพวาดแรงงานย้ายถิ่น

สุดท้าย ผลการหารือของกลุ่มพลเมืองได้มาซึ่งหัวข้อจัดนิทรรศการ 4 หมวด ประกอบด้วย “การจ้องมอง—การค้นพบพื้นที่การใช้ชีวิตอีกครั้ง”, “สถานที่เกิดเหตุ—ความเสี่ยงที่ไม่อาจมองเห็นได้จากการโอนย้ายหน้าที่ให้หน่วยงานภาพนอก”, “การฝึกฝน—ความเท่าเทียมกันและการอยู่ร่วมกันของวันรุ่งขึ้น, “ห้องอ่านหนังสือ” นำพาผู้ชมทบทวนระยะระหว่างตนเองกับสภาพความเป็นอยู่ของผู้ย้ายถิ่น ของใช้ในประจำชีวิตและแคตตาล็อกสินค้าแสนธรรมดานั้นนำพาผู้ชมเข้าสู่ “สถานที่ทำงาน” ของแรงงานผู้ย้ายถิ่น ให้ร่างกายของผู้ชมสัมผัสถึงประสบการณที่น่าหวั่นวิตกในพื้นที่คับแคบ ปิดสนิท เสียงดังและการถูกสอดส่อง ทดลองอยู่ในสถานการณ์เดียวกับแรงงานย้ายถิ่น รับฟังเสียงที่แท้จริงของแรงงานผ่านพยานปากและพยานวัตถุของแรงงานย้ายถิ่น พร้อมแนะนำการปฏิบัติจริงด้าน “สิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น”ของกลุ่มพลเมือง และ “บันทึกเหตุการณ์สำคัญด้านสิทธิมนุษยชนย้ายถิ่น” ซึ่งเป็นงานเขียนร่วมกัน จัดการ ประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนผู้ย้านถิ่นไต้หวัน เพื่อเป็นการย้อนมองวิวัฒนาการสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่นไต้หวันใน 30 กว่าปีที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะปลุกให้ประชาชนมีจิตสำนึกด้านสิทธิมนุษย์ให้มากขึ้น ลดการเหยียดและอคติทางสังคม หล่อหลอมโอกาสเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม

จัดแสดงทัศนศิลป์และต่อยอดการหารือในสังคมและข้อริเริ่มกลุ่มพลเมืองหารือ ออกแบบ “พื้นที่ลงประชามติจำลอง” ส่งต่อคำเรียกร้องของกลุ่มพลเมือง ให้ประชาชนแสดงความเห็นว่าสนับสนุนให้มีการแก้ไขกฎหมายนโยบายของแรงงานผู้ย้ายถิ่นหรือไม่ ทั้งออกแบบเกม ชักชวนประชาชนที่สนใจประเด็นสังคมที่เกี่ยวข้องตนเองออกจากพิพิธภัณฑ์เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเคลื่อนไหวของกลุ่มพลเมือง พิพิธภัณฑ์ไม่เพียงแต่เป็นแพลตฟอร์มหารือประเด็นสาธารณะ ทั้งยังเป็นจุดเชื่อมต่อ (Hubs) ผู้ชมกับสิทธิมนุษยชน 

จัดแสดงให้ผู้ชมเห็นจากของใช้ทั่วไปว่าสามารถพบเห็น “แรงงานย้ายถิ่น”ในชีวิตประจำวัน

จัดแสดงให้ผู้ชมเห็นจากของใช้ทั่วไปว่าสามารถพบเห็น “แรงงานย้ายถิ่น”ในชีวิตประจำวัน

จัดแสดงสภาพแรงงานย้ายถิ่นผู้หญิงที่ทำงานในครัวเรือนถูกสอดส่องและขาดความส่วนตัวในสถานที่ทำงาน

จัดแสดงสภาพแรงงานย้ายถิ่นผู้หญิงที่ทำงานในครัวเรือนถูกสอดส่องและขาดความส่วนตัวในสถานที่ทำงาน

จัดแสดงกลุ่มพลเมืองได้ใช้คอร์สอบรมภาษาจีน กฎหมาย แต่งหน้า สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ ในการอยู่เคียงข้างและเสริมสร้างกำลังให้แรงงานย้ายถิ่น

จัดแสดงกลุ่มพลเมืองได้ใช้คอร์สอบรมภาษาจีน กฎหมาย แต่งหน้า สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ ในการอยู่เคียงข้างและเสริมสร้างกำลังให้แรงงานย้ายถิ่น

สรุป

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากและข้อพิพาทร่วมสมัย พิพิธภัณฑ์มีการดำเนินการอย่างไรถึงจะส่งผลต่อนโยบายและการปฏิรูปทางสังคม? การดำเนินการโดยพิพิธภัณฑ์คนเดียวมีข้อจำกัดและความท้าทายในตนเอง การสร้างพันธมิตรร่วมมือกัน (Collaborative) การปล่อยวางอำนาจ ร่วมแบ่งปันทรัพยากรกับกลุ่มพลเมือง จะช่วยลดอุปสรรคของพิพิธภัณฑ์ในการแทรกแซงประเด็นสังคมและสร้างความร่วมมือกับกลุ่มสังคม ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น นำมาซึ่งความเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีพลังบวกมากขึ้น พิพิธภัณฑ์จะได้ใช้การจัดแสดงมาเป็นการมีส่วนร่วมของสังคม เพื่อให้กลุ่มสังคมที่ไม่มีปากไม่มีเสียง เปราะบาง ถูกตีตราบาปและชายขอบนั้น เป็นที่รับฟังและไม่ถูกมองข้าม เปิดโอกาสให้พลเมือง (พหุพจน์) และกลุ่มพลเมืองร่วมกันสร้างพื้นที่พูดคุยประเด็นสังคม ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์เป็นหัวใจสำคัญต่อพื้นที่สาธารณะของประชาคมและองค์กรประชาธิปไตย ทั้งได้แสดงอิทธิพลทางสังคมได้มากกว่าเดิม