:::

ต่อสู้เพื่อรายงาน รายงานเพื่อต่อสู้: ใช้รายงานข่าวเป็นหนทางแห่งการต่อสู้เชิงวาทกรรม

ภาพ1  : ผู้วาดภาพ Amita Sevellaraja

ภาพ1 : ผู้วาดภาพ Amita Sevellaraja

บทแนะนำผู้เขียน:Fadhilah Fitri Primandari

Fadhilah Fitri Primandari เป็นนักวิจัยประชาธิปไตยของนิว นราทิฟ เธอและทีมงานวิจัยขณะนี้ได้ทำการวิจัยเสรีภาพของสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนิว นราทิฟ บทความที่เธอวิเคราะห์การเมืองประเทศอินโดนีเซียพบเห็นได้ทั่วไปบนแพลตฟอร์มชื่อดัง มีทั้งวารสารสิทธิมนุษยชนออสเตรเลีย (Australian Journal of Human Rights), ฟอรัมเอเชียตะวันออก(East Asia Forum), และนิว แมนดารา (New Mandala) เธอสนใจเรื่องการเป็นประชาธิปไตยและการบูรณาการเชิงประชาธิปไตยในมุมมองทางเพศ, สถาบันนิยมใหม่เชิงวาทกรรมและระเบียบวิธีวิจัยสตรีนิยม

เกี่ยวกับ นิว นราทิฟ(New Naratif)

นิว นราทิฟ เป็นองค์กรส่งเสริมประชาธิปไตย, เสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร, และเสรีภาพในการพูดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ 

เพื่อให้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้สึกภูมิใจกับพื้นที่, วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกันของตนเอง เราได้รวมตัวกลุ่มคนจากสารทิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมกันสานฝันและส่งเสริมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีและเสรีภาพของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ฝ่ายวิจัยข้อริเริ่มของนิว นราทิฟ ขณะนี้กำลังดำเนินการแผนการวิจัยเสรีภาพของสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดือนธันวาคมปี 2021 เราได้เผยแพร่รายงานวิจัยที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเองฉบับแรก โดยมีหัวข้อว่า “ความคาดหวังของเสรีภาพและอิสรภาพของสื่อ: เรื่องเล่าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://newnaratif.com/mediafreedom/


นักข่าวอิสระชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ ตั้งแต่ความปลอดภัยส่วนบุคคล, การถูกเซ็นเซอร์คำพูด, ปัญหาทางการเงิน กระทั่งข้อจำกัดมากมายที่กำหนดโดยบรรณาธิการสำนักข่าวของตัวเอง[1] ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ปี 2021 ทีมงานของเราได้สัมภาษณ์นักข่าวอิสระจำนวน 37 คนและตัวแทนองค์กรสื่อจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 8ประเทศ (กัมพูชา, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, เมียนมาร์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทยและเวียดนาม) ผลลปรากฎว่า ผู้ให้สัมภาษณ์หลายคนรู้สึกว่า ก็เพราะตนต้องเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมเต็มไปด้วยความท้าทาย จึงทำให้การเขียนรายงานข่าวมีความหมายมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้ ผู้เขียนคิดว่านักข่าวอิสระในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ใช้วาทกรรมต่อสู้เพื่อรายงานข่าว ในขณะเดียวกันได้ใช้การรายงานข่าวเพื่อได้มาซึ่งพื้นที่สื่อที่อิสระและครอบคลุมมากกว่าเดิม

อันดับแรก ทางที่ดีควรแยกพิจารณานักข่าวรายบุคคลกับสำนักพิมพ์ที่นักข่าวรายนั้นได้ทำงานให้ออกจากกัน เนื่องจากสองฝ่ายอาจมีความคิดเห็นการรายงานข่าวบางประเภทที่ไม่ตรงกัน ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจภายในบรรณาธิการสำนักข่าวก็เป็นเรื่องสำคัญ เรื่องไหนรายงานได้หรือไม่ได้ ส่วนมากจะมีบรรณาธิการเป็นผู้ตัดสิน มีนักข่าวชาวมาเลเซียท่านหนึ่งที่รายงานประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในมาเลเซียและอินโดนีเซียโดยเฉพาะบอกฉันว่า บรรณาธิการในมาเลเซียที่สนใจประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้น ต่อให้มีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ ก็มักจะไม่อยู่บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์[2] ส่วนนักข่าวชาวอินโดนิเซียอีกท่านหนึ่งก็กล่าวว่า เนื่องจากการลงทุนและความสัมพันธ์เจ้าของกรรมสิทธิ์ สื่อในอินโดนีเซียที่“มีรากฐานมั่นคง”บางรายมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองสำคัญ จึงไม่กล้าเปิดโปงการทุจริตของนักการเมืองดังกล่าว[3]

องค์กรสื่อระหว่างประเทศก็มีกลไกคัดกรองเนื้อหาเพื่อตัดสินว่าควรเผยแพร่เนื้อหาประเภทไหน เพียงแต่มีวิธีที่ต่างกัน การเสนอรายงานข่าววในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สื่อระหว่างประเทศ มักจะหมายความว่าการประเมินและคัดเลือกเนื้อหาข่าวจะต้องมาจากการรู้จักพื้นที่ดังกล่าวอย่างคร่าวๆ นักข่าวอิสระที่มีประสบการณ์ด้านการรายงานข่าวเอเชียโดยเฉพาะท่านหนึ่งหยิบยกความยากลำบากของการทำให้ข่าวท้องถิ่นไปสู่พื้นที่สากล:

“การพิสูจน์ให้ผู้ชมทั่วโลกเข้าใจว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องสำคัญมีความยากลำบาก ตอนนั้นผมเสนอประเด็นเกี่ยวกับเกาะซูลาเวซีและเกาะมินดาเนา กองบรรณาธิการมองว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญ เพราะว่ามีความเป็นข่าวภูมิภาคมากเกินไป การพิสูจน์ว่ามันเป็นข่าวระดับสากลยากมาก เพราะว่า กองบรรณาธิการไม่รู้เรื่องใดๆ เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”[4]

นอกจากนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักจะมีการพถกเถียงกันในส่วนที่ดีหรือไม่ดีเท่านั้น จึงทำให้เบียดบังประเด็นอื่นที่แอบแฝงและซับซ้อน เช่น ประเด็นการทำมาหากินของคนในพื้นที่[5] ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ สิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศยังได้จำกัดจำนวนข่าวในบางประเทศ โดยเฉพาะบางประเทศที่กองบรรณาธิการมองว่า “ไม่มีชื่อเสียง”[6] การกระทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ยอดการรายงานข่าวลดลง (กลุ่มบุคคลชายขอบก็จะยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่) ยิ่งจะทำให้การนำเสนอเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้อยลงไปอีก สิ่งที่เป็นที่สนใจมักจะอยู่เพียงแค่ความสัมพันธ์ทางการเมืองระดับสูงและการเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้น องค์กรสื่อระหว่างประเทศก็มีส่วนในการละเมิดเสรีภาพในการเขียนข่าวของผู้ทำข่าวและสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนนั้นด้วย

นอกจากนี้ การเขียนวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ปัจจุบันเป็นเรื่องที่ยากและอันตราย ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนมากมองว่า จิตวิญญาณการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานด้านข่าวของพวกเขาที่ไม่สามารถตัดออกไปได้ ผู้รับผิดชอบสำนักข่าวอิสระที่รายงานข่าวสารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะแห่งหนึ่งได้กล่าวว่า:

“หากองค์กรสื่อแห่งหนึ่งไม่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการพูด แล้วจะมีไว้เพื่อทำอะไร? ปลาต้องการน้ำถึงจะหายใจได้ องค์กรข่าวต้องการเสรีภาพในการพูดถึงจะดำเนินการต่อไปได้”[7]

นักข่าวอิสระชาวอินโดนีเซียท่านหนึ่งบอกเราว่า แม้ว่าองค์กรสื่อระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นมีงบรายงานข่าวให้กับเขาค่อนข้างน้อย แต่หากหัวข้อเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน เช่น เสรีภาพในการพูด หรือสิทธิพิเศษการใช้ที่ดินของชนเผ่าพื้นเมือง เขาก็ยังคงเลือกที่จะรายงานมัน[8] สำหรับเขาแล้ว ประเด็นเช่นนี้สามารถถูกเผยแพร่ในประเทศและให้ประชาชนในประเทศได้อ่านเป็นเรื่องสำคัญ ดิ ออนไลน์ ซิติเซน (The Online Citizen: TOC) เป็นสำนักข่าวอิสระแห่งหนึ่งที่ถูกรัฐบาลสิงคโปร์ห้ามการเผยแพร่ข่าวสารเมื่อเดือนกันยายน2021 ผู้ให้สัมภาษณ์จากสื่อดังกล่าวกล่าวว่า การเขียนข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความอยุติธรรมและการกดขี่เป็นการท้าทายรัฐที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จซึ่งได้ห้ามการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและบิดเบือนมติมหาชน ดังนั้น การเขียนข่าวดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีความหมาย[9]

ประการที่สาม ใครเป็นผู้เขียนข่าวก็เป็นเรื่องสำคัญ นักข่าวอิสระชาวอินโดนิเซียท่านหนึ่งบ่นว่าบรรณาธิการองค์กรระหว่างประเทศมักจะชอบเลือกนักข่าวชาวต่างชาติ (ชาวตะวันตก) มากกว่านักข่าวท้องถิ่นมารายงานข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[10] ไม่เพียงแต่เนื้อหาที่รายงานเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ที่สามารถรายงานข่าวได้ก็เป็นเรื่องสำคัญด้วย ผู้ให้สัมภาษณ์ของเราได้เน้นย้ำว่า สิ่งที่สำคัญคือนักข่าวท้องถิ่นจะต้องเอากลับมาซึ่งเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตนเอง สังคมและประเทศ ทั้งยังควรสามารถเขียนรายงานเรื่องดังกล่าวได้[11]

สำหรับนักข่าวอิสระจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเขียนข่าวของพวกเขาได้แสดงให้เห็นมุมมองจากกลุ่มชายขอบและที่ไม่เคยเป็นที่ประจักษ์ เป็นการท้าทายเรื่องราวที่เป็นกระแสหลัก ขยายพื้นที่สนทนาภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบริเวณใกล้เคียง ดังนั้น การเขียนรายงานข่าวจึงถือว่าเป็นพฤติกรรมการเมืองชนิดหนึ่ง ในขณะเดียวกัน พวกเขาได้เอาชนะอุปสรรคของการแสดงออกที่เป็นอิสระ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถถามไถ่ประเด็นเรื่องราวและปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา

ปัญหาที่ความท้าทายข้างต้นนำพามาด้วย คือ จะทำอย่างไรถึงจะส่งเสริมระบบสิ่งแวดล้อมทางสื่อได้ เพื่อรวมเรื่องราวข่าวสารที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้มากขึ้น องค์ประกอบสำคัญอันดับแรก คือต้องมีความสามารถและโอกาสในการอภิปรายประเด็นเหล่านี้ และการที่ส่งเสริมความสามารถและโอกาสเหล่านี้ พวกเราจะต้องขยายวิสัยทัศน์ นอกจากจะผลักดันการปฏิรูปการเมืองโดยมีเสรีภาพของสื่อเป็นหัวใจสำคัญ เรายังตระหนักว่าการให้พื้นที่ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน ดังนั้น บรรณาธิการสำนักข่าวหรือนายทุน ไม่ว่าจะเป็นในท้องถิ่นหรือระหว่างประเทศ ควรให้ความสำคัญกับคุณค่าข่าวสารมากกว่าการได้กำไรและยอดคลิก อีกทั้งยังควรตระหนักว่าสื่อมีบทบาทในการจุดประกายและหล่อหลอมให้เกิดการหารือพูดคุยกันในสังคม นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ให้สัมภาษณ์ชาวมาเลเซียท่านหนึ่งได้สะท้อนถึงการพัฒนาของสิ่งแวดล้อมของสื่อในมาเลเซียว่า รายงานเชิงสืบสวนการทุจริตคอรัปชั่นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และรายงานเชิงสืบสวนและรายงานที่อ้างอิงสถิติเป็นหลักทำให้มีจำนวนผู้คนติดตามเพิ่มมากขึ้น[12]

อย่างไรก็ตาม การนั่งรอองค์กรสื่อปรับปรุงการเลือกหัวข้อข่าวสารหรือเนื้อเรื่องของข่าวก็จะเป็นการรอเขากระทำอยู่ฝ่ายเดียว สื่อจำนวนมากต้องอาศัยกำไรเพื่อจะดำเนินกิจการต่อไปได้ นี่คือความเป็นจริง มันยากที่จะขอให้องค์กรสื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบเชิงพาณิชย์อย่างเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ และเนื่องจากองค์กรสื่อหรือนายทุนมักจะสะท้อนความต้องการแอบแฝงของผู้ชมทั่วไป เมื่อประชาชนตระหนักถึงความต้องการ(และเรียกร้อง)ให้รายงานข่าวเหล่านี้ ดูเหมือนว่าก็จะสามารถช่วยสนับสนุนให้สื่อและนายทุนยอมรับและเสนอรายงานข่าวสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น การเรียกร้องเพื่อได้มาซึ่งพื้นที่ข่าวประเภทนี้ ไม่ควรมีแต่เพียงนักข่าวที่จะต้องพยายาม นี่เป็นการต่อสู้ของทุกคน

 

ภาพ2 : ผู้วาดภาพ Marvinne de Guzman

ภาพ2 : ผู้วาดภาพ Marvinne de Guzman

[1] Burrett and Kingston, Press Freedom in Contemporary Asia; Reporters Without Borders, ‘2021 World Press Freedom Index’; Primandari, Hassan, and Melasandy, Envisioning Media Freedom and Independence: Narratives from Southeast Asia.

[2] Focus group discussion, 27th July 2021.

[3] Focus group discussion, 13th July 2021.

[4] Personal interview, 28th July 2021.

[5] Focus group discussion, 27th July 2021.

[6] Focus group discussion, 27th July 2021 & personal interview, 9th September 2021.

[7] Personal interview, 28th September 2021.

[8] Focus group discussion, 6th July 2021.

[9] Personal interview, 3rd August 2021.

[10] Focus group discussion, 13th July 2021.

[11] Ibid.

[12] Focus group discussion, 27th July 2021.


ข้อมูลอ้างอิง

Burrett, Tina, and Jeff Kingston, eds. Press Freedom in Contemporary Asia. London New York, NY: Routledge, an imprint of the Taylor & Francis Group, 2020.

Primandari, Fadhilah F., Samira Hassan, and Sahnaz Melasandy. Envisioning Media Freedom and Independence: Narratives from Southeast Asia. Media Freedom in Southeast Asia Series. New Naratif, forthcoming.

Reporters Without Borders. ‘2021 World Press Freedom Index’, 2021. https://rsf.org/en/ranking.