:::

เกี่ยวกับของฉัน ของเธอ ความทรงจำของพวกเรา พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจ

“MIO”เป็นตัวย่อจากคำภาษาสเปนสามคำ: พิพิธภัณฑ์ (Museo)อัตลักษณ์ (Identidad)และความภาคภูมิใจ (Orgullo)

“MIO”เป็นตัวย่อจากคำภาษาสเปนสามคำ: พิพิธภัณฑ์ (Museo)อัตลักษณ์ (Identidad)และความภาคภูมิใจ (Orgullo)

ยูนีส บาแอส ซันเชส

คุณซันเชสทำงานในวงการพิพิธภัณฑ์ มีประสบการณ์มากมาย นอกจากจะให้บริการที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังศึกษาเกี่ยวกับสื่อข่าวสารวัฒนธรรม และทำงานในวงการบริหารสื่อและการตลาดอีกด้วย โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่หลากหลาย 

ปัจจุบันคุณซันเชสดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสภาพิพิธภัณฑ์นานาชาติคอสตาริก้า (International Council of Museums,ICOM)และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการร่วมของพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และไพรด์ (Museo de la Identidad y el Orgullo, MIO)ด้วย พิพิธภัณฑ์นี้เป็นพิพิธภัณฑ์ LGBTIQ+ แห่งแรกในภูมิภาคละตินอเมริกา นอกจากนี้คุณซันเชสยังเป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้กับสำนักงานข้ามภูมิภาคขององค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำกรุงซาน โคเซ่ ประเทศคอสตาริกา คุณซันเชสใช้ความสามารถของตัวเองอย่างเต็มที่ ทำงานด่านหน้าเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและมรดกท้องถิ่น ใช้สื่อประชาสัมพันธ์และวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและสร้างนิยามใหม่ในสังคม จนเกิดเป็นกระแสใหญ่อย่างต่อเนื่อง


เกี่ยวกับของฉัน ของเธอ ความทรงจำของพวกเรา พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจ

พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจ เกิดจากแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงรุก (activism) ผู้ก่อตั้งเชื่อว่าพื้นที่ในพิพิธภัณฑ์จะสามารถรวบรวมความทรงจำร่วม LGTBIQ+ ของคนคอสตาริกาที่มีเจตจำนงเดียวกันได้ ในภาษาสเปน “MIO” ประกอบด้วยภาษาสเปนสามคำด้วยกัน : พิพิธภัณฑ์ (Museo)อัตลักษณ์ (Identidad)และความภาคภูมิใจ (Orgullo)และในเวลาเดียวกัน “MIO”ก็มีความหมายของมันเองแปลว่า “ของฉัน” ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อที่ทีมผู้ก่อตั้งตั้งขึ้นมาเฉย ๆ แต่เป็นชื่อที่ผ่านการพูดคุยและคิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว โดยทีมผู้ต่อตั้งมุ่งมั่นตั้งใจที่จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ในประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศคอสตาริกา

ประเทศคอสตาริกามีชื่อเสียงเกี่ยวกับธรรมชาติที่สวยงามและสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย และยังมีจุดเด่นในด้านความสงบสุขในสายตาของชาวโลก เพราะในปี 1948 ประเทศคอสตาริกาได้ยกเลิกกองทัพลง แต่กระนั้นประเทศนี้ก็ยังพบปัญหาการเหยียดกลุ่มคน LGBTIQ+ อยู่ เคสละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ประมาณสามสิบปี เกิดการระบาดของโรดเอดส์ทั่วโลก ตำรวจในกรุงซาน โคเซ่มักจะสุ่มตรวจบาร์เหล้า Ambiente อยู่เป็นระยะ เพราะในอดีตกลุ่ม LGBTIQ+ มักจะมาร่วมตัวกันที่นี่ ในปีนั้นเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งมากมาย เช่น เหตุการณ์ใช้ความรุนแรง หมิ่นประมาทผู้อื่น ฯลฯ ขึ้นมากมาย แต่เหตุการณ์เหล่านี้สามารถส่งต่อถึงปัจจุบันเหตุเพราะผู้คนที่ได้ประสบพบเจอกับตัวโดยตรงยินยอมที่จะบอกเล่าออกมา ถึงแม้เรื่องเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นเหตุการณ์เก่าในอดีต แต่กาลเวลาต้องดำเนินถึงปัจจุบันถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

ในปี 2020 ประเทศคอสตาริกาประกาศใช้กฎหมายสมรสเรักร่วมเพศท่าเทียมอย่างเป็นทางการ เป็นประเทศแรกในภูมิภาคละตินอเมริกาที่ให้การคุ้มครองคู่รักและครอบครัวเพศเดียวกัน แต่ความสำเร็จนี้ไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ใช่ในเวลาอันสั้น แต่เป็นผลลัพธ์จากความมานะบากบั่นของผู้คนนับไม่ถ้วนที่บางส่วนถูกละเมิดสิทธิในระหว่างที่ต่อสู้ต่างหาก

คุณเอนริเก่ ซันเชส คาร์บาโล่ (Enrique Sánchez Carballo)อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสภานิติบัญญัติคอสตาริกาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกที่เปิดเผยว่าตัวเองเป็นคนรักร่วมเพศ และเป็นหนึ่งในผู้ต่อตั้งพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจด้วย คุณเอนริเก่กล่าวว่า : “ตอนที่สิทธิ LGBTIQ+ ในนานาชาติทั่วโลกมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ อย่างเช่น สมรสเท่าเทียมในประเทศคอสตาริกา ในเวลานี้จะมีความเสี่ยงหลักสองประการ ประการแรกคนรุ่นใหม่จะลืมการเสียสละและความท้าทายที่ผู้คนและกลุ่มคนมากมายในอดีตเคยเผชิญ ประการที่สองอาจจะมีคนเข้าใจผิดว่าสมรสเท่าเทียมเป็นเป้าหมายสูงสุดในเส้นทางการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม”

อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเอนริเก่พบว่ากฎหมายและการเปลี่ยนแปลงใหญ่เหล่านี้มีผลต่อประเทศคอสตาริกาในภาพรวม แต่ความสำเร็จใหญ่แบบนี้อาจจะทำให้ทุกคนลืมความยากลำบากในอดีต ทำให้การรวบรวมเรื่องราวการต่อสู้จากปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนอย่างเป็นระบบในปัจจุบันเป็นไปได้ยาก ซ้ำร้ายพื้นที่ส่งต่อเรื่องราวเหล่านี้อาจจะถูกบีบให้น้อยลง สิ่งที่ทุกคนควรคิดคำนึงคือกลุ่มคนเหล่านี้ต้องอาศัยความยืดหยุ่นถึงจะสามารถสร้างความสำเร็จในวันนี้ แล้วพวกเราควรจะใช้วิธีใดในการเก็บรักษาประวัติศาสตร์ของคนกลุ่มนี้กัน? ยิ่งไปกว่านั้นต้องทำเช่นไรถึงจะสามารถเตือนทุกคนได้ว่าปัจจุบันก็ยังมีการต่อสู้มากมายเกิดขึ้นอยู่

แผนการรากหญ้า--พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจ

ต่อมาหัวข้อต่าง ๆ ข้างต้นได้ทำให้เกิดข้อเสนอสร้างสรรค์หนึ่งที่ว่า : สร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา สาเหตุที่เลือกพิพิธภัณฑ์เพราะว่าการมีอยู่ของพิพิธภัณฑ์ได้ก้าวข้ามแรงบันดาลใจและปัจเจกทั้งหมด พื้นที่ในพิพิธภัณฑ์สามารถทำให้คนคิดทบทวน หรือสร้างประสบการณ์ต่าง ๆ ได้

อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยพื้นฐานในนิยามใหม่ล่าสุดของพิพิธภัณฑ์อยู่ สาเหตุที่กล่าวว่า “นิยามใหม่ล่าสุด” เพราะเนื้อหาที่สมาคมพิพิธภัณฑ์นานาชาติได้ประกาศในปี 2022 เข้ากับแนวคิดของพิพิธภัณฑ์พวกเราอย่างเหมาะเจาะพอดี “ต้องเข้าถึงง่าย” ต้องยืดหยุ่นเปิดรับ เปิดกว้างสู่สาธารณะ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน มีเป้าหมายให้การศึกษา เข้าชมและทบทวนตัวเอง พร้อมกับประสบการณ์แปลกใหม่” การมีอยู่ของพิพิธภัณฑ์ไม่เพียงแต่เพราะแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงรุกหรือเพื่อจัดกิจกรรมสำหรับเป้าหมายเฉพาะ สำหรับทีมผู้ก่อตั้งแล้วการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนจะมาคู่กับว่าศิลปะ วัฒนธรรม ความทรงจำและประวัติศาสตร์  และพิพิธภัณฑ์เป็นสื่อกลางหนึ่งที่จะจัดระเบียบเรื่องราวเหล่านี้เข้าด้วยกัน

คุณออสการ์ ฆีเมเนส หนึ่งในผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจ มีแนวคิดว่าพิพิธภัณฑ์สามารถชี้นำมวลชนได้ การชี้นำแบบนี้เป็นเหมือนร่มคุ้มครอง คอยเก็บความทรงจำกลุ่มไว้ “พิพิธภัณฑ์ไม่เหมือนกับสมาคมหรือบริษัทธรรมดา เป้าหมายไม่ใช่การทำกำไร แต่เป็นการรักษามรดกและประวัติศาสตร์ไว้ นอกจากนี้ปัจจุบันสื่อกลางอย่างพิพิธภัณฑ์สามารถผสมผสานสื่อสองชนิดหรือมากกว่าเข้าไปได้ ทำให้ผู้เข้าชมสามารถได้รับความรู้ทางวิชาการ ชื่นชมศิลปวัฒนธรรม พร้อมกับการศึกษาวิจัยที่ลึกซึ้งได้ไปพร้อมกัน คุณออสการ์คิดว่าพิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ที่สำคัญมาก ไม่เพียงแต่เป็นถสานที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมเท่านั้น แต่เพราะเนื้อหาเหล่านี้เกี่ยวโยงกับภาพทัศน์ที่หลากหลาย และเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พื้นที่ในพิพิธภัณฑ์เป็นสัญลักษณ์แห่งการชี้นำได้”

ในปี 2018 เมื่อสมาชิกผู้แทนราษฎร เอนริเก่ ยังทำงานในสภาอยู่ เขาได้เสนอแนวคิดหนึ่งให้คุณออสการ์ หวังว่าจะช่วยให้เควียร์รุ่นใหม่เข้าใจการต่อสู้ในอดีตมากขึ้น คุณเอนริเก่เน้นย้ำว่าสิทธิ์สมรสเท่าเทียมไม่ใช่ได้มาง่าย ๆ แต่เป็นผลจากการต่อสู้และต่อต้านการริดรอนที่มีมายาวนานหลายปี หวังว่าทุกคนจะไม่มองเรื่องสมรสเท่าเทียมว่าเป็นสิทธิ์ที่ได้มาได้ง่าย ๆ ในเวลาเดียวกันก็ต้องจับตามองปัญหาในปัจจุบันต่อไป โดยเฉพาะปัญหาหนุ่มสาวข้ามเพศและกลุ่ม non- binary (ไม่คิดว่าตัวเองเป็นทั้งชายและหญิง) พอคุณออสการ์ได้ยินคำพูดกระตุ้นแรงบันดาลใจนี้แล้วจึงไปหาผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ ทุกท่านที่พบต่างเคยเรียกร้องและต่อสู้ในพื้นที่ต่างกัน และยังมีแนวคิดก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ด้วย เพื่อเก็บประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้นี้ พร้อมกับจุดประกายแนวคิดนี้ในสังคม

เริ่มแรกพวกเราแค่อยากสร้างพื้นที่สำหรับเก็บความทรงจำจริง แต่ต่อมาก็ปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีความนิยามกว้างขึ้น หวังว่าจะสามารถทำให้ชุมชนมีส่วนร่วม ให้ความรู้แก่มวลชนได้ผ่านแผนงานจัดแสดงรูปแบบต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้พวกเราจึงกลับมาทบทวนนิยามของพิพิธภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง จนถึงปัจจุบันนิยามพิพิธภัณฑ์ที่ประกาศใหม่ล่าสุดก็พิสูจน์แล้วว่าความคิดของพวกเราคือแนวคิดของพิพิธภัณฑ์ที่แท้จริง ถึงแม้พิพิธภัณฑ์ของพวกเราจะไม่ได้สวยงามเหมือนพิพิธภัณฑ์ทั่วไป แต่ว่าภาพลักษณ์ภายนอกที่แตกต่างก็ไม่ได้ทำให้พวกเราด้อยค่าลง แผนจัดแสดงเนื้อหาของพวกเรา เนื้อหาของแต่ละช่วงยอดเยี่ยมไร้ที่ติดยิ่งกว่าใคร

ขุดหาเรื่องราว

เนื้อหาข้างต้นได้กล่าวถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกับเจตจำนงของพวกเราโดยตรง จึงทำให้พวกเราเริ่มคิดพิจารณา “คอลเลคชั่น” ที่ใจต้องการ ในเมื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และความทรงจำของคนเฉพาะกลุ่มแล้ว ความท้าทายต่อไปก็จะเป็นการใช้คอลเลคชั่นจับต้องได้ ผสมผสานกับเนื้อหาดิจิตอลแล้วเชื่อมเนื้อเรื่องเหล่านั้นขึ้นมาอย่างไร

หากต้องรวบรวมเรื่องราวของคนอื่น ปกติก็จะมีปัจจัยต่างๆที่ต้องคำนึงและเนื้อเรื่องจะซับซ้อนไม่เป็นระเบียบ เช่น จะใช้พิพิธภัณฑ์จัดแสดงเนื้อหาในคอลเลคชั่นเช่นไร?

พูดในอีกทางหนึ่งก็คือพวกเราคือพิพิธภัณฑ์ ไม่ใช่สื่อข่าว หากเช่นนั้นต้องรวบรวมและเรียบเรียงเรื่องเล่าเหล่านี้อย่างไร? พวกเราเริ่มคิดจากจุดนี้ เมื่อพวกเราทำแผนต่าง ๆ คำตอบก็ค่อย ๆ ปรากฏขึ้น เนื้อเรื่องทุกประเภทต้องค่อย ๆ รวบรวมทีละนิด ตราบถึงปัจจุบันก็ยังขยายออกไปเรื่อยๆ แต่ละวันเนื้อหาจะทวีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

รายการพ็อดแคส “ก็อยากเป็นเควียร์” คุณซู ชี (Sue Shi)เป็นแดร็กควีนในสมัยหนุ่มสาวได้รับเชิญมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิต

รายการพ็อดแคส “ก็อยากเป็นเควียร์” คุณซู ชี (Sue Shi)เป็นแดร็กควีนในสมัยหนุ่มสาวได้รับเชิญมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิต

มีสองเคสในจำนวนเนื้อหาจัดแสดงทั้งหมดที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนเคสความสำเร็จของพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจได้แก่ “ก็อยากเป็นเควียร์” (Quiero Queer)และ “การมีอยู่และการต่อต้านภายใต้ความหลากหลาย” (Existing and Resisting in Diversity)

“Quiero Queer” คำนี้มีความหมายว่า “ฉันอยากเป็นเควียร์” เป็นงานที่พวกเราและศูนย์วัฒนธรรมสเปนแห่งคอสตาริก้า (Cultural Centre of Spain)ร่วมกันจัดขึ้น ถือว่าเป็นเคสที่ร่วมมือกับประเทศสเปน จัดแสดงในรูปแบบรายการพ็อดแคสที่รวบรวมเรื่องราวกลุ่ม LGBTIQ+  โดยมีคุณทาเทียน่า มูโยส (Tatiana Muñoz) และคุณเคลเลอร์ อรายา (Keller Araya) เป็นคนเรียบเรียงเนื้อหา ทั้งสองท่านเป็นเพื่อนร่วมงานในพิพิธภัณฑ์ของพวกเรา รับผิดชอบผลิตและจัดเนื้อหารายการ และยังเป็นพิธีกรในพ็อดแคสด้วย

งานนิทรรศการเสมือน— “การมีอยู่และการต่อต้านภายใต้ความหลากหลาย”

งานนิทรรศการเสมือน— “การมีอยู่และการต่อต้านภายใต้ความหลากหลาย”

รายการซีซั่นแรกเน้นไปที่การเชื่อมโยงศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีทั้งหมด 16 ตอน ได้สัมภาษณ์ศิลปินทัศนศิลป์ ผลงานของศิลปินเหล่านี้ล้วนพูดถึงประเด็น LGBTIQ+ ของประเทศคอสตาริก้า ตอนพวกเราเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์มีหน้าที่หนึ่งก็คือรวบรวมเรื่องราวของผู้สูงอายุ ต่อมาพวกเราได้นำเป้าหมายนี้ไปใส่ในเนื้อหารายการพ็อดแคสซีซั่นสอง สังคมของคนเหล่านี้ยามหนุ่มสาวอนุรักษ์นิยมยิ่งกว่าปัจจุบันมาก แล้วพวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาความสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น พวกเราอยากจัดแสดงเรื่องราวเหล่านี้ ผ่านพ็อดแคสทั้งหมด 12 ตอน ถ่ายทอดเล่าการผจญภัยและความท้าทายที่ผู้รับการสัมภาษณ์เคยประสบพบเจอมาก่อน

เมื่อรายการมาถึงซีซั่นที่สาม พวกเราให้ความสำคัญกับการแบ่งปันเรื่องราวโลกแดร็กควีน ทั้งหมด 12 ตอน แต่ละตอนจะสัมภาษณ์แดร็กควีนหนึ่งท่าน ให้พวกเขาเล่าประสบการณ์และความยากลำบากในการแสดง เคสนี้จนถึงปัจจุบันก็ยังประสบความสำเร็จอยู่ ทำให้พวกเราได้รวบรวมเนื้อหา เรียบเรียงเป็นเรื่องราวผู้คนหนึ่งซีรีส์ได้

อีกเคสหนึ่ง “การมีอยู่และการต่อต้านภายใต้ความหลากหลาย”เป็นการจัดแสดงที่พวกเราร่วมมือกับคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอสตาริกา ตอนจัดแสดงประจวบเหมาะเป็นช่วงเวลาไพรด์ของปี 2022 พอดี เนื้อหาจะเป็นภาพกราฟฟิตี้ LGBTIQ+ หรือกล่าวได้ว่าเป็นภาพที่วางบนกำแพงในธีม LGBTIQ+ ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า ภาพสร้างสรรค์เหล่านี้วาดที่กำแพงของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอสตาริกา โดยมีเบื้องหลังว่าเมื่อเดือนตุลาคม 2019 เคยเกิดเหตุการณ์เคลื่อนไหวของเหล่านักศึกษา นักศึกษาได้ยึดตึกใหญ่ของคณะแล้วทิ้งประโยคเด็ดไว้ที่กำแพงตึก กลายเป็นคำประกาศของการเคลื่อนไหวนักศึกษาไป พวกเราได้เรียบเรียงเนื้อหาเหล่านั้นอย่างดีแล้วจึงย้ายมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ ระหว่างเตรียมการก็เกิดกิจกรรมต่อต้านขึ้นมาพอดี มีผู้คนจำนวนมากเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวนักศึกษาในปีนั้นกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง

เพื่อนิทรรศการนี้ นักวิจัยมหาวิทยาลัยได้รับภารกิจหนึ่งก็คือต้องพยายามรวบรวม รักษาและเรียบเรียงภาพชุดนี้มาจัดแสดงเจตจำนงค์นิทรรศการก่อนที่ “ร่องรอย” บนกำแพงเหล่านี้จะหายไปตลอดกาล การนำภาพเหล่านี้มาที่พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจคือความหวังที่จะใช้องค์ประกอบในภาพเหล่านี้เปิดบทสนทนากับสื่อที่หลากหลาย เมื่อตั้งเจตจำนงนี้แล้วประกอบกับการได้คุณทาเทียน่า คุณเคลเลอร์รับหน้าที่วางแผนพร้อมกับตัวแทนจากมหาวิทยาลัยคอสตาริกา คุณมาเรียลิน่า วิลเลกัส และคุณเซอร์จีโอ วีเลน่า ทุกท่านร่วมกันวางแผนงานนิทรรศการเสมือนนี้ร่วมกัน นอกจากภาพกราฟฟิตี้เหล่านี้ พวกเรายังจัดแสดงผลงานอื่นๆของกลุ่มคน LGBTIQ+ ไม่ว่าจะเป็นคำวิจารณ์ ผลงานศิลปะหรือเนื้อหาแสดงออกรูปแบบอื่นๆของศิลปินและผู้เคลื่อนไหวทางสังคมอื่นๆอีกมากมาย

งานนิทรรศการเสมือน— “การมีอยู่และการต่อต้านภายใต้ความหลากหลาย”

งานนิทรรศการเสมือน— “การมีอยู่และการต่อต้านภายใต้ความหลากหลาย”

งานนิทรรศการเสมือน— “การมีอยู่และการต่อต้านภายใต้ความหลากหลาย”

งานนิทรรศการเสมือน— “การมีอยู่และการต่อต้านภายใต้ความหลากหลาย”

สองเคสข้างต้นมีความสำคัญต่อพิพิธภัณฑ์เป็นอย่างมาก เพราะได้แสดงออกถึงกลุ่มคนที่หลากหลาย ทำให้ทางพิพิธภัณฑ์และทีมเตรียมงานได้ค้นพบจุดยืนของตัวเองระหว่างเตรียมการ ถึงแม้พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจจะเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก ทรัพยากรมีจำกัด แต่ก็สามารถทำให้แผนจัดแสดงสองแผนสำเร็จได้ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลให้เคสอื่น ๆ ในอนาคตจะมีพื้นที่จัดแสดงของตัวเองมากขึ้น นี่ถือเป็นความท้าทายที่แท้จริง เพราะงานนิทรรศการประเภทนี้จำเป็นต้องพึ่งแรงอาสาสมัครมาช่วยทำให้สำเร็จ ถึงแม้ในช่วงนี้พวกเราจะสามารถระดมทุนทรัพย์มาจ่ายค่าแรงของนักวิจัย แต่ส่วนมากทางพิพิธภัณฑ์จำเป็นต้องพึ่งแรงคน ต้องมีคนที่มีแรงศรัทธาต่องานนิทรรศการเป็นอย่างมาก มีความตั้งใจจริงที่จะรักษาพื้นที่นี้และรวบรวบเรื่องราวของกลุ่ม LGBTIQ+

พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจ : “หากอยากมีโลกที่เสมอภาคก็ต้องยอมรับและเคารพตัวตนที่แตกต่าง” วลีนี้แสดงถึงความตั้งใจที่จะพยายามสร้างโลกที่เท่าเทียมและยุติธรรมขึ้นมา

พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจ : “หากอยากมีโลกที่เสมอภาคก็ต้องยอมรับและเคารพตัวตนที่แตกต่าง” วลีนี้แสดงถึงความตั้งใจที่จะพยายามสร้างโลกที่เท่าเทียมและยุติธรรมขึ้นมา

มองไปยังอนาคต – ก้าวต่อไปของพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และไพรด์

พูดตามความเป็นจริงพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจเพิ่งจะเริ่มย่างก้าวเท่านั้น แต่ก็หวังว่าจะมีวันพรุ่งอันไร้ที่สิ้นสุด ยิ่งไปกว่านั้นหวังว่าพื้นที่นี้จะไม่ถูกจำกัดเพียงคนรุ่นผู้ก่อตั้งเท่านั้น อาจจะเพราะด้วยเหตุนี้ความท้าทายที่พวกเราเผชิญอยู่ก็คือต้องคิดหาวิธีบำรุงรักษาและสืบสานต่อไป เพราะแผนงานนี้มีความหมายที่พิเศษมาก อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์นี้เกิดจากแนวคิดเคลื่อนไหวเชิงรุก เพียงแค่จุดนี้ก็พิเศษแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับพิพิธภัณฑ์อื่นที่ก่อตั้งจากแนวคิดสถาบันนิยม (institutionalism) ที่บอกเล่าเรื่องราวที่มีคนกล่าวถึงมาแล้ว แต่ปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์จำนวนมากขึ้นที่ก่อตั้งเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่เคยถูกเล่ามาก่อนหรือเรื่องที่กำลังถูกลืมหายจากไป

คุณออสการ์ก็คิดว่าการรักษาพิพิธภัณฑ์จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ สำหรับพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจก็เป็นเช่นนี้เช่นกัน จึงทำให้ระหว่างทางเจอความยากลำบากที่เหนือกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่พิพิธภัณฑ์ก็หาได้ถอยหลังด้วยเหตุนี้ไม่ ต่อให้หนทางเบื้องหน้าเต็มไปด้วยขวากหนาม ก็ให้มันเป็นไปเช่นกัน

คุณออสการ์กล่าวว่า “มีอุปสรรคสามประการ ประการแรกคือสร้างความมั่นคงให้แก่งานบริหารและงานบัญชี พิพิธภัณฑ์นี้จึงจะสามารถพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปได้ ประการที่สองประสิทธิภาพบริหารจัดการ เพราะตอนนี้งานส่วนใหญ่ต้องพึ่งแรงอาสาสมัคร และเงินบริจาค ความช่วยเหลือ แรงสนับสนุนจากทุกฝ่าย ด้วยเหตุนี้พวกเราจึงยังหาเพื่อนร่วมงานประจำสำหรับงานในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้ และเพื่อนร่วมงานประจำต้องได้รับเงินตอบแทนที่เหมาะสม ที่จริงควรจะบริหารจัดการเช่นนี้ถึงจะถูกต้อง ประการที่สามคือประเด็นทางการเมือง ลองจินตนาการดูสิว่าหากตัวคุณไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมหรือมีส่วนเรียกร้องเกี่ยวกับ LGBTI เลย คุณจะมาเข้าร่วมได้อย่างไร ความหมายก็คือสิ่งที่ทางพิพิธภัณฑ์เรียกร้อง ทางพิพิธภัณฑ์อาจจะไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้จริง ๆ พวกเราต้องคิดวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย”

อุปสรรคเหล่านี้ที่จริงเกิดมาจากลักษณะเดิมของพิพิธภัณฑ์ก็คือพวกเราอยากสร้างสะพานเชื่อมต่อ สร้างพื้นที่ให้คนคิดทบทวน แล้วเรื่องราวเหล่านี้ทำได้เพียงจัดแสดงในพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์เท่านั้น

สำหรับสมาชิกผู้แทนราษฎรเอนริเก่แล้วเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์ก็คือเก็บรักษาความทรงจำ ติดตามการต่อสู้ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันต่อไป “โปรดอย่าได้ลืมว่ากลุ่มข้ามเพศยังคงเป็นกลุ่มคนเปราะบางที่สุด โอกาสที่พวกเขาไขว่คว้ามาโดยตลอดได้มาถึงล่าช้าไปกว่าสิบปี ในเวลาเดียวกันคนรักร่วมเพศทุกท่านบนโลกมีสถานการณ์ที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัย คนยากจนที่อาศัยในพื้นที่ชายขอบ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์แอฟริกา คนที่อาศัยในตัวเมือง หรือแม้แต่คนที่มีสถานะทางสังคมสูงล้วนมีความแตกต่างกันทั้งสิ้น

บนโลกนี้ยังมีการต่อสู้มากมายเกิดขึ้นอยู่ มีเส้นทางมากมายที่ยังต้องก้าวเดิน เพราะความเท่าเทียมจริงแท้ยังมิได้ปรากฎเป็นที่ประจักษ์ชัด ต่อให้มีสักวันที่เป็นจริงแล้ว พวกเราต้องทำเช่นไรเพื่อป้องกันไม่ให้ความเท่าเทียมนี้สั่นคลอนล้มหาย

หรือกลับไปเป็นเหมือนเดิม?

มีคนกลุ่มหนึ่งที่ดิ้นรนต่อสู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้พิพิธภัณฑ์สามารถอยู่ต่อไปได้ ยึดมั่นในปณิธานอย่างหนักแน่นมั่นคง ถึงแม้การเงินจะค่อนข้างจำกัด ต่อให้ทีมพบเจอความท้าทายแบบใดก็ตาม ในสภาพแวดล้อมของประเทศกำลังพัฒนาที่สังคมค่อนข้างอนุรักษ์นิยมแล้วพวกเขาก็ยังคงเชื่อมั่นในพื้นที่สร้างสรรค์นี้ เชื่อว่าพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมได้ พวกเขายึดถือในเจตจำนงค์นี้เป็นแรงผลักดันให้พวกเขามุ่งไปเบื้องหน้าต่อไป