:::

พลังแห่งการเคลื่อนไหว——บันทึกงานประชุม FIHRM-AP ประจำปี 2023 ในหัวข้อ “ร่วมกันตื่นตระหนักสิทธิมนุษยชน” (ส่วนที่ 2)

แนะนำผู้เขียน: เฉิน อี๋ ซาน และ เหยียนเย่ว  นักศึกษาระดับมหาบัณฑิตที่ศึกษาพิพิธภัณฑสถานวิทยา มหาวิทยาลัยฟู่เหริน ร่วมเขียนบทความ


พลังแห่งการเคลื่อนไหว——บันทึกงานประชุม FIHRM-AP ประจำปี 2023 ในหัวข้อ “ร่วมกันตื่นตระหนักสิทธิมนุษยชน” (ส่วนที่ 2)

ออบเจอร์นัลลิสต์ (Objournalist) องค์กรภาคประชาสังคมในฮ่องกง และ เอ็มมิวเซียม (Mmuseumm) ซึ่งเป็นห้องนิทรรศการทดลองในนิวยอร์กร่วมกันจัดนิทรรศการ “เราเป็นที่ได้ยินหรือยัง? เครื่องมือแห่งการประท้วง” (Are We Being Heard? Tools of Protest” ในปี 2020 ซึ่งได้รวบรวมและจัดแสดงสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงในฮ่องกง บอกเล่าว่าชาวฮ่องกงใช้วิธีการของตนอย่างไรในการต่อต้านเผด็จการ (ออบเจอร์นัลลิสต์ Objournalist)

ออบเจอร์นัลลิสต์ (Objournalist) องค์กรภาคประชาสังคมในฮ่องกง และ เอ็มมิวเซียม (Mmuseumm) ซึ่งเป็นห้องนิทรรศการทดลองในนิวยอร์กร่วมกันจัดนิทรรศการ “เราเป็นที่ได้ยินหรือยัง? เครื่องมือแห่งการประท้วง” (Are We Being Heard? Tools of Protest” ในปี 2020 ซึ่งได้รวบรวมและจัดแสดงสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงในฮ่องกง บอกเล่าว่าชาวฮ่องกงใช้วิธีการของตนอย่างไรในการต่อต้านเผด็จการ (ออบเจอร์นัลลิสต์ Objournalist)

ผู้ริเริ่มประเด็นร่วมสมัย—โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นวิธีการทำให้เกิดการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน

การเคลื่อนไหวของพิพิธภัณฑ์เกี่ยวข้องประเด็นร่วมสมัยอย่างใกล้ชิด กระแสการรวบรวมตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Rapid Response Collection) ที่เปิดตัวโดย พิพิธภัณฑ์วิคตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต สหราชอาณาจักรในปี 2014 ช่วยให้พิพิธภัณฑ์ บันทึกเหตุการณ์สำคัญทั่วโลกในทศวรรษที่ผ่านมาได้อย่างทันท่วงที เช่น โรคโควิด-19, การเคลื่อนไหวทางสังคม คุณเจียลี่ ศาสตราจารย์ สถาบันวิจัยพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไทเป ได้ยกตัวอย่าง “การประท้วงต่อต้านร่างรัฐบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนในฮ่องกง” ให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้การเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างไร โดยเน้นย้ำผลการเคลื่อนไหวของพิพิธภัณฑ์ในการอนุรักษ์ จัดแสดง และส่งเสริมจิตวิญญาณและแนวคิดการเคลื่อนไหวทางสังคม นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์เชิงลึกว่าพิพิธภัณฑ์สามารถเป็นผู้บันทึกและกระบอกเสียงของการเคลื่อนไหวทางสังคมได้อย่างไร ส่งเสริมให้ผู้คนสนใจและทบทวนประเด็นสังคมร่วมสมัย

อีกกรณีตัวอย่างหนึ่งที่ใช้การเคลื่อนไหวของพิพิธภัณฑ์เป็นแนวทางปฏิบัติ และมุ่งมั่นที่จะบรรลุความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนแปลง ได้แก่ “โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจังหวัดชายแดนใต้” ซึ่งริเริ่มโดย คุณแพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเทศไทย และ คุณภัทรภร ภู่ทอง นักวิจัยอิสระ ทั้งสองได้รวบรวม เก็บรักษาและจัดแสดงประวัติและหลักฐานเอกสารของผู้เสียหายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมใช้นิทรรศการเป็นเครื่องมือในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ด้านการเคลื่อนไหวที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งสามารถยอมรับเสียงที่หลากหลายกับสนับสนุนสันติภาพและความยุติธรรม เพื่อให้ชาวบ้านและคนรุ่นใหม่เข้าใจประวติความเจ็บปวดร่วมในท้องที่อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านการเสวนา

 

เรื่องราวของของตนเอง เล่าเอง! ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและเป็นกระบอกเสียงเพื่อสิทธิมนุษยชน

การคืนความคิดริเริ่มและสิทธิในการพูดให้กับเจ้าตัวกลายเป็นหัวข้อสำคัญสำหรับพิพิธภัณฑ์ “เวียร์ริน ยีรา คูรล์ (Wirrin Yira Koorl) (ซึ่งแปลว่า “การปลดปล่อยจิตวิญญาณ” ในภาษาชนเผ่าท้องถิ่น) : โครงการจัดการมรดกชนเผ่าดั้งเดิมเรือนจำฟรีแมนเทิล (Fremantle Prison)”  จากกรมวางแผนที่ดินและมรดก ออสเตรเลียตะวันตก สาธิตให้เราเห็นว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนสามารถมีบทบาทสำคัญในการลบล้างความเป็นอาณานิคมของพิพิธภัณฑ์และการตีความมรดกเชิงลบได้อย่างไร คุณอูนาห์ ควิกเลย์ (Oonagh Quigley) นักบรรยายมรดกเรือนจำฟรีแมนเทิล แบ่งปันว่าพวกเขาใช้โครงการห้าปีในการ “รวมจุดสนใจ, เปลี่ยนแปลง, เพิ่มความเร็ว, รวมจุดสนใจ" เพื่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับชุมชนชาวชนเผ่าดั้งเดิมมากกว่า 200 แห่งในออสเตรเลียตะวันตก และส่งมอบความริเริ่มและสิทธิในการพูดให้กับกลุ่มชาวเผาดั้งเดิม

ระหว่างการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้เสียหายในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง สื่อสำหรับเสียงสตรี (Voice of Women Media) กับครอบครัวของผู้เสียหายในพื้นที่ชนบทในเนปาลร่วมมือกันใช้ภาพ, เสียง, ข้อความ และสื่ออื่นๆ ซึ่งเป็นการรวบรวมเรื่องราวของผู้เสียหายมากกว่า 100 คน ในโครงการริเริ่ม “ความทรงจำ ความจริงและความเป็นธรรม” (MT&J) เพื่อบันทึกการที่เสียงกระแสหลักของเนปาลมองข้ามเหตุการณ์ขัดแย้งกับพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (ลัทธิเหมา)ในระยะยาว จนนำมาซึ่งผลกระทบร้ายแรงที่มีต่อพื้นที่ชนบทภายในสิบปี และหวังว่าจะใช้นิทรรศการเพื่อสร้างพื้นที่สนทนาที่เปิดกว้างและการปรองดองกัน คุณภัทรภร ภู่ทอง นักวิจัยอิสระ พาเราไปดูที่ประเทศไทย ตลอดหลายปีที่ทำงานภาคสนาม ทีมวิจัยทำงานร่วมกับสตรีมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้พัฒนาแนวคิด “พิพิธภัณฑ์แห่งสันติภาพ” เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะแก่สตรี ผู้ซึ่งทีความเปราะบางเชิงสังคมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ ให้พวกเธอบอกเล่าด้วยตนเองถึงความเจ็บปวดจากการสูญเสียญาติและเพื่อนฝูง ประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลพยายามปกปิด และศักดิ์ศรีที่พวกเขาแสวงหาในฐานะที่มนุษย์พึ่งมี

โครงการ “ความทรงจำ ความจริงและความเป็นธรรม” (MEMORY, TRUTH & JUSTICE: MT&J) มีจุดมุ่งหมายเพื่อบันทึก เก็บรักษา และแบ่งปันเรื่องราวส่วนบุคคลของผู้รอดชีวิตและครอบครัวของผู้เสียหายจากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่มีกองกำลังติดอาวุธในเนปาลตั้งแต่ปี 1996 ถึง 2006 และหลังจากโครงการสิ้นสุดลง คำให้การ, คลิปให้บทสัมภาษณ์และภาพถ่ายของผู้เสียหายจะเปิดเผยต่อสาธารณชนผ่านเว็บไซต์และโครงการเผยแพร่ความรู้

โครงการ “ความทรงจำ ความจริงและความเป็นธรรม” (MEMORY, TRUTH & JUSTICE: MT&J) มีจุดมุ่งหมายเพื่อบันทึก เก็บรักษา และแบ่งปันเรื่องราวส่วนบุคคลของผู้รอดชีวิตและครอบครัวของผู้เสียหายจากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่มีกองกำลังติดอาวุธในเนปาลตั้งแต่ปี 1996 ถึง 2006 และหลังจากโครงการสิ้นสุดลง คำให้การ, คลิปให้บทสัมภาษณ์และภาพถ่ายของผู้เสียหายจะเปิดเผยต่อสาธารณชนผ่านเว็บไซต์และโครงการเผยแพร่ความรู้

เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ทิเบตจัดนิทรรศการประจำในหัวข้อ “เราคือชาวทิเบต และ นี่คือเรื่องราวของเรา” (We are Tibet & This is our story) ซึ่งเป็นนิทรรศการเสมือนจริง จัดแสดงวัฒนธรรมทิเบต ประวัติการพลัดถิ่น ตลอดจนคำสอนขององค์ทะไลลามะและมรดกทางวัฒนธรรม

เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ทิเบตจัดนิทรรศการประจำในหัวข้อ “เราคือชาวทิเบต และ นี่คือเรื่องราวของเรา” (We are Tibet & This is our story) ซึ่งเป็นนิทรรศการเสมือนจริง จัดแสดงวัฒนธรรมทิเบต ประวัติการพลัดถิ่น ตลอดจนคำสอนขององค์ทะไลลามะและมรดกทางวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์ทิเบต (The Tibet Museum) ในอินเดียเป็นตัวอย่างของการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนพลัดถิ่น สร้างขึ้นโดยชุมชนทิเบตเอง มุ่งมั่นที่จะเน้นย้ำให้ชาวโลกทราบถึงการปกครองตนเองและสิทธิทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ พร้อมเปิดเผยความจริงอันโหดร้ายที่ตนถูกขดขี่ข่มเหงทางการเมือง คุณเทนซิน ท็อปเดน (Tenzin Topdhen) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทิเบต มองว่าพิพิธภัณฑ์เป็นสื่อสำคัญในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและผลักดันการบอกเล่าการล้มล้างอำนาจอาณานิคม ในส่วนนิทรรศการประจำ ใช้ชาติพันธุ์ทิเบตเป็นสาระสำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวนิทรรศการ ไม่เพียงจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นข้อมูลมือหนึ่งที่ได้รับบริจาคจากพลเรือนพลัดถิ่นทั่วโลก เช่น ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน,  ภาพถ่ายอันมีค่า, คำให้การจากนักโทษการเมือง, เครื่องมือทรมาน ฯลฯ  ตลอดจนภาพถ่ายบุคคลและจดหมายลาตายเพื่อรำลึกถึงชาวทิเบต 157 คน ผู้จุดไฟเผาตนจนเสียชีวิตในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของชาติพันธุ์ โดยหวังว่าจะถ่ายทอดเรื่องราวและความจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง เพื่อต่อต้านการลบล้างวัฒนธรรมทิเบตของรัฐคอมมิวนิสต์

คุณหยวน ซวี่ เหวิน ผู้ออกแบบนิทรรศการ “เสวนาร้อยปี: การพบกันของผู้ย้ายถิ่นฐานข้ามชาติและของสะสม” พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน แบ่งปันกระบวนการออกแบบนิทรรศการ พูดคุยถึงพิพิธภัณฑ์เป็นแพลตฟอร์มสำหรับแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการร่วมมือกับกลุ่มคนที่หลากหลาย เพื่อนำมาซึ่งความเท่าเทียมกันทางวัฒนธรรม (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

คุณหยวน ซวี่ เหวิน ผู้ออกแบบนิทรรศการ “เสวนาร้อยปี: การพบกันของผู้ย้ายถิ่นฐานข้ามชาติและของสะสม” พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน แบ่งปันกระบวนการออกแบบนิทรรศการ พูดคุยถึงพิพิธภัณฑ์เป็นแพลตฟอร์มสำหรับแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการร่วมมือกับกลุ่มคนที่หลากหลาย เพื่อนำมาซึ่งความเท่าเทียมกันทางวัฒนธรรม (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

ชุมชนที่หลากหลาย—พิพิธภัณฑ์และสิทธิมนุษยชนย้ายถิ่น

เนื่องจากจำนวนผู้คนเดินทางข้ามประเทศและชายแดนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาผู้ย้ายถิ่นฐานและแรงงานข้ามชาติจึงกลายเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของพิพิธภัณฑ์ในการบอกเล่าเรื่องราวร่วมสมัย  ดร. มรกต ไมยเออร์ (Morakot Meyer) รองศาสตราจารย์ ศูนย์สถาบันมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย สำรวจจากมุมมองของผู้ย้ายถิ่นฐานภายในประเทศไทยและผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติว่าการเคลื่อนไหวของประชากรในประเทศไทย พิพิธภัณฑ์มีบทบาทสำคัญอย่างไรในการบอกเล่าความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ การยอมรับ และการหล่อหลอมค่านิยม คุณหยวน ซวี่ เหวิน ผู้ช่วยนักวิจัย พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน “เสวนาร้อยปี: การพบกันของผู้ย้ายถิ่นฐานข้ามชาติและของสะสม” (Century Dialogue: Encounters between Transnational Movers and Collections) นำนิทรรศการพิเศษประจำปี 2022 ของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันมาเป็นตัวอย่าง เพื่อศึกษาความร่วมมือระหว่างผู้ย้ายถิ่นฐานชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนักวิจัยพิพิธภัณฑ์ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พร้อมวิเคราะห์ปรากฏการณ์ของ “การยอมรับ” และ “การกีดกัน”ที่เป็นไปได้ เพื่อสร้างทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมโดยการค้นหาจุดเชื่อมโยงระหว่างกัน

บทสรุป

การประชุมประจำปีนี้แสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์และองค์กรวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีจิตวิญญาณพร้อมเผชิญกับความท้าทายในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ไม่เกรงกลัวอำนาจและไม่พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ อีกทั้งยังคงดำเนินงานและต่อสู้เพื่อคุณค่าสิทธิมนุษยชนที่เราเชื่อมั่นไปอย่างมั่นคง จากกรณีศึกษาและงานวิจัยที่ผู้เขียนนำเสนอ เราได้เป็นสักขีพยานการเคลื่อนไหวของพิพิธภัณฑ์นำมาซึ่งพลังอันเต็มเปี่ยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ แม้ว่าบริบทแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันบ้าง แต่ยังคงสามารถสรุปแนวคิดหลักร่วมกันได้สามประการ ได้แก่ การกระทำเชิงรุก ความหลากหลายที่เป็นมิตร การร่วมมือและสร้างสรรค์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์แบบสถานที่จริง หรือองค์กรทางวัฒนธรรมที่มีนิทรรศการเคลื่อนที่และจะมีสถานที่จริงหรือไม่ ล้วนแสดงความเป็นอิสระและความคิดริเริ่มด้วย “การลงมือทำเลย!” ซึ่งเป็นทัศนคติเชิงบวก  สร้างพื้นที่สนทนาอย่างเสรีและโอบอ้อมอารีต่อความคิดเห็นที่หลากหลายให้กับผู้คนจากหลากภูมิหลังทางวัฒนธรรม ชนชั้นสังคมและจุดยืนทางการเมือง นอกจากนี้ นักสิทธิมนุษยชนยังได้เผยแพร่ความคิดริเริ่มไปสู่ความร่วมมือกับชุมชนผู้เสียหาย ทำให้เจ้าของเรื่องมีสิทธิในการพูด เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการด้วยพลังจากประสบการณ์จริงของตนเอง

อย่างไรก็ตาม การกระทำเชิงรุกเหล่านี้ยังนำความวิตกกังวลแฝงมาให้กับผู้ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนแนวหน้า เช่น ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยส่วนตัวของพวกเขา ความลำบากในการบรรเทาความรู้สึกเชิงลบจากการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้เสียหาย ฯลฯ ในขณะที่พิพิธภัณฑ์ชูธงเดินหน้าเพื่อกลุ่มผู้เคราะห์ร้าย ก็ควรหันกลับมาดูแลนักสิทธิมนุษยชนที่กำลังชูธงอยู่ มีแต่เพียงการคุ้มครองสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อร่างกายและจิตใจของพวกเขาเท่านั้น ที่จะทำให้งานด้านสิทธิมนุษยชนของพิพิธภัณฑ์ดำเนินไปอย่างยั่งยืน