:::

พลังแห่งการเคลื่อนไหว——บันทึกงานประชุม FIHRM-AP ประจำปี 2023 ในหัวข้อ “ร่วมกันตื่นตระหนักสิทธิมนุษยชน”(ส่วนที่ 1)

แนะนำผู้เขียน: เฉิน อี๋ ซาน และ เหยียนเย่ว  นักศึกษาระดับมหาบัณฑิตที่ศึกษาพิพิธภัณฑสถานวิทยา มหาวิทยาลัยฟู่เหริน  ร่วมเขียนบทความ


พลังแห่งการเคลื่อนไหว——บันทึกงานประชุม FIHRM-AP ประจำปี 2023 ในหัวข้อ “ร่วมกันตื่นตระหนักสิทธิมนุษยชน”(ส่วนที่ 1)

พิธีเปิดงานประชุม FIHRM-AP ประจำปี 2023 ในหัวข้อ “ร่วมกันตื่นตระหนักสิทธิมนุษยชน: ความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์เอเชียแปซิฟิกและชุมชน” (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

พิธีเปิดงานประชุม FIHRM-AP ประจำปี 2023 ในหัวข้อ “ร่วมกันตื่นตระหนักสิทธิมนุษยชน: ความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์เอเชียแปซิฟิกและชุมชน” (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

คำนำ

สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก ((Federation of International Human Rights Museums- Asia Pacific หรือ FIHRM-AP) มีเป้าหมายเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์ในเอเชียแปซิฟิกและระหว่างประเทศกับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ใช้การแลกเปลี่ยนและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมกันส่งเสริมแนวคิดและปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนร่วมสมัย ในปี 2023 FIHRM-AP จัดประชุมประจำปีที่ไต้หวันเป็นครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวัน เป็นระยะเวลา 3 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน โดยมีข้อเรียกร้อง “ร่วมกันตื่นตระหนักสิทธิมนุษยชน” รวมตัวเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์, นักวิจัย และนักสิทธิมนุษยชนจากไต้หวัน, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, เนปาล, อินเดีย, ไทย, เวียดนาม, ออสเตรเลีย และอื่นๆ ใช้วิธีการหลายรูปแบบ เช่น สัมมนาหัวข้อพิเศษ 3 รอบ, การตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ 16 ฉบับ และการประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายระหว่างประเทศที่ตั้งแห่งมโนธรรม (International Coalition of Sites of Conscience:  ICSC) 1 รอบ เพื่อกระตุ้นการส่งเสริมการศึกษาสิทธิมนุษยชน, มรดกเชิงลบ, ความร่วมมือชุมชน, สิทธิมนุษยชนย้ายถิ่นและแนวความคิดเชิงสหวิทยาการ เพื่อให้พิพิธภัณฑ์และวงการอื่นตื่นตระหนักไปด้วยกัน นอกจากจะมีผู้เชี่ยวชาญ, นักวิชาการและผู้สนใจสิทธิมนุษยชนจากทั่วโลกแล้ว ยังมีผู้เสียหายทางการเมืองเหตุการณ์ความน่าสะพรึงกลัวสีขาวมาร่วมงานด้วย เช่น คุณเฉินชินเซิง, คุณจางเจ๋อโจว, คุณโจวเสียนหนง, คุณอู๋กั๋วโส่ว พวกเขามาแสดงความขอบคุณจากใจจริงและให้กำลังใจกับผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนด้วยตนเอง

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทาสนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร และ ผู้บรรยายอาวุโสด้านการปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย เล่าถึงเหตุการณ์พิพิธภัณฑ์ทาสนานาชาติลิเวอร์พูลจัดการปัญหาการค้าทาสในท้องถิ่น (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทาสนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร และ ผู้บรรยายอาวุโสด้านการปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย เล่าถึงเหตุการณ์พิพิธภัณฑ์ทาสนานาชาติลิเวอร์พูลจัดการปัญหาการค้าทาสในท้องถิ่น (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

พลังของพิพิธภัณฑ์ – แค่ลุกไปทำก็ใช่แล้ว!

เมื่อต้องเผชิญกับประวัติศาสตร์ที่ยากลำบาก นอกจากการคิดทบทวนและการรำลึกถึงแล้ว พิพิธภัณฑ์ยังทำได้มากกว่านั้น! ดั่งที่คุณริชาร์ด เบนจามิน (Richard Benjamin) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทาสนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร และ ผู้บรรยายอาวุโสด้านการปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย ได้กล่าวไว้ว่า “เราจดจำ, เราลงมือทำ” เขาเล่าว่า เมื่อจะจัดการกับประวัติศาสตร์การค้าทาส พิพิธภัณฑ์ทาสนานาชาติลิเวอร์พูลจะเพิ่มเรื่องราวส่วนบุคคลและประวัติครอบครัวที่มักจะสร้างความรู้สึกร่วมให้กับผู้ชมไว้ในนิทรรศการ เพื่อช่วยให้สาธารณชนสนใจและเข้าใจประวัติศาสตร์ที่ละเอียดอ่อนมากขึ้น พร้อมใช้วิธีการ “ร่วมกันลงมือทำ” และ “ร่วมสร้างสรรค์” กับกลุ่มคนในท้องที่ ทำให้พิพิธภัณฑ์กลายเป็นผู้ริเริ่มสิทธิมนุษยชนร่วมสมัย ใช้นิทรรศการและวิธีการอื่นบันทึกการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในคองโกในยุคอาณานิคมเบลเยียม [หมายเหตุ 1] และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวชีวิตคนผิวดำก็มีค่า (Black Lives Matter) ได้ทบทวนประเด็นสิทธิมนุษยชนในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตด้วยมุมมองและวิธีการที่แตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยส่งเสริมสิทธิประโยชน์ พร้อมยังได้ให้ความสนใจกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายมากขึ้น พิพิธภัณฑ์สุ่ยผิงเซ่อ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ต่อต้านการเหยียดบุราคุ” ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น ได้เริ่มให้ความสำคัญกับสิทธิในการเข้าถึงของผู้ชมที่มีสถานะหลากหลาย มีการวางแผนและสร้างรูปแบบการบอกเล่านิทรรศการและวิธีการแสดงในรูปแบบใหม่—เพิ่มแผงสัมผัสแบบโต้ตอบบนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และจัดระดับความสูงที่เหมาะสำหรับผู้ชมเด็กและผู้ใช้รถเข็น เนื้อหาที่แสดงมีการนำเข้ารูปแบบที่เป็นมิตรต่อสาธารณะชน เช่น การ์ดอักษรปริศนา, หนังสือภาพ และการ์ตูน เพื่อสร้างความสนุกและทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ลดระดับความยากในการทำความเข้าใจ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนไปสู่ผู้ชมจากภูมิหลังและมีอายุที่แตกต่างกัน

อนาคตก็คือปัจจุบัน เทคโนโลยีทำให้ผู้คนกับอนาคตใกล้กันมากขึ้น การพัฒนาไปอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าเอไอ) เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผู้คนให้ความสนใจมากที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คุณเทรซี พูลาสกี (Tracy Puklowski)  ผู้อำนวยการอาวุโส รัฐบาลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ออสเตรเลีย แบ่งปันศักยภาพและความเสี่ยงของการประยุกต์ใช้เอไอในพิพิธภัณฑ์: การใช้เอไอวิเคราะห์ข้อมูลสามารถช่วยให้พิพิธภัณฑ์เข้าใจลักษณะและความต้องการของผู้ชม พร้อมสร้างประสบการณ์เฉพาะตัวสำหรับสาธารณชนได้มากขึ้น สำหรับผู้ชมที่มีความหลากหลายทางระบบประสาท [หมายเหตุ 2] ยังสามารถสัมผัสประสบการณ์นิทรรศการที่สะดวกสบายและโอบรับความต้องการที่แตกต่างกันได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เอไอประกอบการจัดการกับประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนของพิพิธภัณฑ์ ใช้หลายภาษาอธิบายประวัติศาสตร์ที่ยากลำบาก หรือแม้แต่ใช้เอไอในการสร้างแบบจำลองดิจิทัลที่สร้างประสบการณ์แบบดื่มด่ำ(immersive digital replica) เพื่อทำการ “ส่งคืนเสมือนจริง” ทำให้ “การส่งคืนโบราณวัตถุทางวัฒนธรรม” มีความเป็นไปได้ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการสร้างความสัมพันธ์อีกรูปแบบหนึ่ง แทนที่ความรู้สึกสูญเสียหรือการสละสิทธิ ทำให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเดินก้าวแรกได้ง่ายขึ้น เมื่อเผชิญกับเอไอ ภัณฑารักษ์ต้องเรียนรู้วิธีการแยกแยะความถูกต้องของข้อมูล ใช้การปฏิบัติจริง เพื่อให้เทคโนโลยีใหม่ๆ มีบทบาทเชิงบวกในพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ยังใช้งานศิลปะ, หนังสือนิทานภาพ, เกม และรูปแบบอื่นที่หลากหลายในการสร้างประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกใกล้ชิด คุณหลินเป่าอัน ศาสตราจารย์ศูนย์การศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเผิงหู นำทีมร่วมกับกลุ่มสิทธิมนุษยชนการศึกษาภาคบังคับ จังหวัดเผิงหู เปลี่ยน “เหตุการณ์เผิงหู 13 กรกฏาคม” ให้กลายเป็นบอร์ดเกม “สมุดเรื่องราวพลัดถิ่น” ทำให้ผู้เล่นรุ่นใหม่ได้ใช้สื่อที่คุ้นเคยในการรู้จักเรื่องราวชีวิตและประวัติของครูและนักเรียนพลัดถิ่นในซานตงช่วงสงคราม การถูกบังคับให้เป็นทหาร การถูกจำคุกและถูกยิงอย่างไม่เป็นธรรมในเหตุการณ์เผิงหู 13 กรกฏาคม การต่อสู้เพื่อที่จะกลับมาเรียนต่อ และการได้รับความเป็นธรรมหลังลงหลักปักฐานแล้ว

ผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีลองเล่นบอร์ดเกม “สมุดเรื่องราวพลัดถิ่น” นอกห้องประชุม (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

ผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีลองเล่นบอร์ดเกม “สมุดเรื่องราวพลัดถิ่น” นอกห้องประชุม (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

ผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีลองเล่นบอร์ดเกม “สมุดเรื่องราวพลัดถิ่น” นอกห้องประชุม (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

ผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีลองเล่นบอร์ดเกม “สมุดเรื่องราวพลัดถิ่น” นอกห้องประชุม (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

ในกรณีตัวอย่างของไต้หวัน คุณหงซื่อฟาง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวัน (NHRM) เริ่มต้นจากบริบททางประวัติศาสตร์ของยุคการปกครองแบบอำนาจนิยม และแบ่งปันประเด็นขัดแย้งมากมายที่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนพบในการวางตำแหน่ง, ส่งเสริมการพูดคุยในสังคม และประเด็นสิทธิมนุษยชนร่วมสมัย มีทั้งปัญหาการวางตำแหน่งระหว่าง “ซากปรักหักพังที่ยากลำบาก” หรือ “พิพิธภัณฑ์”, การเลือกทิศทางระหว่าง “สิทธิมนุษยชนทางการเมือง” หรือ “สิทธิมนุษยชนพหุนิยม”, ความรับผิดชอบสองชั้นระหว่าง “การอนุรักษ์รูปลักษณ์ดั้งเดิม” หรือ “การฟื้นฟูสร้างใหม่” ความยากลำบากในการดำเนินการ เช่น “เอกสารไม่เท่ากับความเป็นจริง” , “การสัมภาษณ์ด้วยวาจาไม่เท่ากับบันทึก” ฯลฯ พร้อมคิดค้นวิธีการดึงดูดผู้คนในกลุ่มเดียวกันสนใจพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนมากขึ้น

 

ตำแหน่งใหม่ของมรดกเชิงลบ - การสร้างขึ้นมาใหม่และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ความทรงจำที่กระทบกระเทือนจิตใจ

ความยากลำบากและความวิตกกังวลเกี่ยวกับมรดกเชิงลบ

ในฐานะที่รวบรวมพื้นที่รูปธรรมหรือความทรงจำนามธรรมที่กระทบกระเทือนจิตใจในรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน มรดกเชิงลบ (negative heritage) หรืออาจเรียกว่า “มรดกที่ยากลำบาก” คุณหวงซูเหมย รองศาสตราจารย์ สถาบันศึกษาสถาปัตยกรรมและการวางแผน มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ชี้ให้เห็นว่าความยากลำบากสามารถแบ่งออกเป็นสองด้าน: ประการแรก หากมองผิวเผิน มรดกเหล่านี้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์อันมืดมนและหนักหน่วง ซึ่งที่นี้จะมีสภาพแวดล้อมที่ทำให้คนรู้สึกอึดอัดและไม่สบายใจตามสัญชาตญาณ ประการที่สอง หากพิเคราะห์จากภายใน กลุ่มคนที่มีส่วนได้เสียแต่ละฝ่ายมีจุดยืนและการรับรู้ประสบการณ์ที่ตกต่างกัน และพวกเขามักจะเล่าเรื่องราวในความทรงจำที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน ส่วนในบริบททางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน “ความสัมพันธ์ที่ยากลำบากในแนวคิดมุมเดียว" มักจะทำให้รูปลักษณ์ที่แท้จริงของผู้กระทำผิด/ผู้เสียหาย, นักล่าอาณานิคม/เหยื่ออาณานิคมดูเรียบง่ายเกินไป มีเพียงการสร้างความร่วมมือและเชื่อใจกันแบบระยะยาวกับชุมชนเท่านั้น ที่จะทำให้เราสามารถบรรลุการปรองดองและสร้างฉันทามติได้อย่างแท้จริง

คุณจูฟางอี๋ นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชามนุษยวิทยาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ยังได้กล่าวว่ามรดกเชิงลบอาจทำให้ผู้อยู่อาศัยโดยรอบเกิดความวิตกกังวล ยกตัวอย่างเช่น อนุสาวรีย์สิทธิมนุษยชนเกาะกรีน เนื่องจากในอดีตนักโทษการเมืองส่วนใหญ่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเกาะกรีน อนุสาวรีย์แห่งนี้ทำให้คนบนเกาะนึกถึงความทรงจำอันแสนอึดอัดใจประกอบกับคนบนเกาะส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮั่นและมองว่าอนุสาวรีย์หินเป็นพาหนะที่สามารถสื่อสารกับภูตผี เทพเจ้าและบรรพบุรุษได้ ด้วยลักษณะที่ “เป็นลางไม่ดี” ของอนุสาวรีย์ทำให้คนบนเกาะพยายามใช้วิธีการจู่โจมต่างๆ เช่น “การสาดเลือดสุนัข” เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและภัยคุกคาม สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งที่เกิดจากความคลุมเครือระหว่างความเชื่อดั้งเดิมของชาวฮั่นในเรื่องภูตผีเทพเจ้ากับอัตลักษณ์ของอนุสาวรีย์ และนี่กลายเป็นแรงบันดาลใจทำให้เราทบทวนและคำนึงถึงความหมายของอนุสาวรีย์อีกครั้ง

 

การใช้พิพิธภัณฑ์มรดกเชิงลบทำลายการบอกเล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในแนวคิดมุมเดียว สร้างพื้นที่ความทรงจำร่วม

อนุสาวรีย์เหตุการณ์ความขัดแย้งควรเริ่มทบทวนจากการระลึกถึงผู้เคราะห์ร้าย การจดจำความทรงจำอันเจ็บปวด และการหลีกเลี่ยงมิให้เหตุการณ์ซ้ำรอย อย่างไรก็ตาม การเล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จากมุมเดียวโดยรัฐบาลอำนาจนิยมมักจะสนับสนุนผู้มีอำนาจ โดยการตีความว่าชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่เป็นกบฏ ขาดแคลนมุมมองจากหลายแง่มุม คุณพัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ (Padtheera Narkurairattana) อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย ได้ยกตัวอย่าง อนุสาวรีย์ดุซงญอ (Dusun Nyor) ทางภาคใต้ของประเทศไทย และอนุสรณ์สถานมรณสักขีทั้งเจ็ดคนที่สองคอนภาคอีสานของไทย เธอใช้วิธีการรวบรวมความทรงจำร่วมกันจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ บอกเล่าประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศไทยที่ยกให้ศาสนาพุทธเป็นใหญ่ นำไปสู่การปราบปรามละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอื่น (ชาวมุสลิมมาเลย์,  ชาวคาทอลิก) ซึ่งการสนทนานี้จะช่วยรื้อฟื้นบทบาทของอนุสาวรีย์ที่พึงจะเป็น คืนศักดิ์ศรีให้กับชุมชนของผู้เสียหาย แสดงให้เห็นว่าอนุสาวรีย์เป็นสถานที่สำคัญแห่งความทรงจำร่วมและเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกดขี่ทางศาสนาซ้ำขึ้นอีก

คุณมารีญา เดล พิลาร์ อัลบาเรซ ยกกรณีตัวอย่าง18 พฤษภาคม ความเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในกวางโจว วิเคราะห์กระบวนการที่สถานที่ทางประวัติศาสตร์กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

คุณมารีญา เดล พิลาร์ อัลบาเรซ ยกกรณีตัวอย่าง18 พฤษภาคม ความเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในกวางโจว วิเคราะห์กระบวนการที่สถานที่ทางประวัติศาสตร์กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก)

พิพิธภัณฑ์ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่พัฒนาการสะสม นิทรรศการ และการศึกษา ทั้งยังมีบทบาทในการอนุรักษ์และการทำให้ปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง การเปลี่ยนมรดกเชิงลบเป็นพิพิธภัณฑ์ จะเป็นการช่วยบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เชิงรุก คุณมารีญา เดล พิลาร์ อัลบาเรซ (Maria del Pilar Alvarez) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรเกาหลีศึกษา วิทยาลัยสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยเอลซัลวาดอร์ อาร์เจนตินา ได้ทำกรณีศึกษาเชิงคุณภาพพื้นที่ความทรงจำหลายแห่งในกวางโจว และ สัมภาษณ์สมาชิกของมูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคม เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่ความทรงจำหลายสิบแห่งที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ซึ่งเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในกวางโจว ประเทศเกาหลีใต้ โดยกำหนดว่าจะการจำลองความทรงจำและการทำให้สอดคล้องกับท้องถิ่นจะอยู่ในกรอบความทรงจำร่วม เนื่องจากกวางจูเป็นพื้นที่เก็บรักษาความทรงจำไว้ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากชุมชนในพื้นที่ ทำให้กวางจูได้กลายเป็นเมืองแห่ง “ความทรงจำ”

นิทรรศการมีความรุนแรงของรัฐเป็นหัวข้อสำคัญ คุณอันดี้ อาชเดียน (Andi Achdian) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติอินโดนีเซีย และ ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนมูเนียร์ ใช้พิพิธภัณฑ์โคมาร์ก้า บาไลด์ (Comarca-Balide) เป็นกรณีตัวอย่าง พูดถึงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่ยุติธรรม (เรือนจำสำหรับนักโทษการเมืองในติมอร์ตะวันออกในปี 1975) ให้กลายเป็นพื้นฐานของพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน สร้างความหมายใหม่แก่ดินแดนแห่งนี้ ในเวลาเดียวกัน ได้มีการหลอมรวมแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลเข้าในนิทรรศการ เช่น LGBTQ, สิทธิมนุษยชนของสตรีและเด็ก เพื่อตอบสนองต่อประเด็นร่วมสมัย พร้อมชวนให้ผู้ชมคิดและลงมือปฎิบัติ

※หมายเหตุ:

หมายเหตุ 1: พิพิธภัณฑ์ทาสนานาชาติลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร ในปี 2015 ร่วมกับสมาคมปฏิรูปคองโก(the Congo Reform Association) จัดนิทรรศการเปิดเผยความโหดร้ายในคองโก (Brutal ExPosure The Congo) บันทึกเหตุการณ์ชาวคองโกถูกขูดรีดและประสบกับความโหดร้ายอันเป็นผลมาจากการถูกบังคับให้เป็นอาณานิคมโดยกษัตริย์ลีโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม (Leopold II of Belgium)

หมายเหตุ 2 : ความหลากหลายทางระบบประสาท (neurodiversity)หมายถึงความหลากหลายของการพัฒนาทางระบบประสาทของมนุษย์ แนวคิดนี้รวมถึงกลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางระบบประสาท เช่น โรคสมาธิสั้น, โรคทูเร็ตต์, พัฒนาการทางภาษาผิดปกติ, ความบกพร่องในการประสานสัมพันธ์ของร่างกาย และโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ ฯลฯ