FIHRM-AP (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก) เปิดรับงานวิจัยสำหรับงานประชุมย่อยประจำปี 2023
สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ
FIHRM-AP (สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก) เปิดรับงานวิจัยสำหรับงานประชุมย่อยประจำปี 2023 (วันปิดรับขยายจนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม )
วันที่ 6 – 10 พฤศจิกายน
ร่วมตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน : ในความร่วมมือของพิพิธภัณฑ์เอเชียแปซิฟิคและกลุ่มชุมชน
สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ (Federation of International Human Rights Museums, FIHRM)ก่อตั้งเมื่อปี 2010 มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้พิพิธภัณฑ์หารือแลกเปลี่ยนในหัวข้อด้านสิทธิมนุษยชนในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน ความร่วมมือและการเรียนรู้ ส่งเสริมให้พิพิธภัณฑ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สัมผัสกับสิทธิมนุษยชนจริง ๆ ทั้งนี้เพื่อสร้างจิตสำนึกที่กระตือรือร้นและกล้าเผชิญหน้ากับความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบ
สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (FIHRM-AP)ก่อตั้งที่งานประชุมสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ( ICOM)เกียวโต ในปี 2019 เดือนกันยายน ในการทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์เอเชียแปซิฟิคและนานาชาติกับกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน โดยผ่านความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และทรัพยากรระหว่างสมาชิกภายในสมาพันธ์เพื่อส่งเสริมแนวคิดของพิพิธภัณฑ์ที่เน้นสิทธิมนุษยชนเป็นแก่นสำคัญ พร้อมกับส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและผลักดันแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนร่วมสมัย
มาจัดการประชุมประจำปีขึ้นในไต้หวันเป็นครั้งแรก ในหัวข้อ “ร่วมตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน” งานนี้เป็นการรวมตัวของหลายภาคส่วน อาทิ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน นักวิจัย รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์และสาขาต่าง ๆ ที่มาเข้าร่วม และถือโอกาสนี้แลกเปลี่ยนความรู้ข้ามศาสตร์สาขา แบบไร้พรมแดน แบ่งปันประสบการณ์และการบรรยายเกี่ยวกับเคสตัวอย่างต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ด้านการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน สร้างความร่วมมือในระดับกลุ่มชุมชน สิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาติ มรดกตราบาป และการข้ามศาสตร์สาขา เพื่อเสริมสร้างแนวคิดใหม่ ทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นผลลัพของแรงสั่นสะเทือนจากความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์และผู้เชี่ยวชาญจากทุกศาสตร์สาขาที่ได้สร้างขึ้นร่วมกัน
งานประชุมประจำปีครั้งนี้เปิดรับการบรรยายปากเปล่าความยาว 15 นาที (oral presentation)หรือการการอภิปรายแบบคณะ (panel discussion)รวมความยาว 60 นาที เนื้อหาครอบคลุมถึงการบรรยายหัวข้อเฉพาะทาง การบรรยายวิทยานิพนธ์ เวิร์คช็อปและการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
หัวข้อที่เปิดรับสำหรับงานประชุมประจำปีได้แก่ :
หัวข้อย่อย1: การถ่ายทอดสิทธิมนุษยชนผ่านพิพิธภัณฑ์
เส้นทางการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนเชิงปฏิบัติในพื้นที่เอเชียแปซิฟิค ที่มีความเฉพาะตัวและมีประวัติศาสตร์ที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก อาจเคยมีภูมิหลังของการถูกยึดเป็นอาณานิคม กดขี่และปกครองแบบเผด็จการมาก่อน ดังนั้นพิพิธภัณฑ์บางประเทศเรื่องสิทธิมนุษยชนจึงถูกจัดแสดงอย่างยิ่งใหญ่ แต่บางประเทศจัดแสดงเพียงกลุ่มวัฒนธรรมขนาดเล็ก ชุมชนท้องถิ่น หรือกลุ่มรากหญ้า และข้อเรียกร้องของกลุ่ม NGO องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร พวกเราจะสามารถทำให้พิพิธภัณฑ์กลายเป็นช่องทางหรือวิธีการนำเสนอหนึ่ง ไม่ว่าจะด้วยวิธีการเก็บรวบรวม วิจัย จัดแสดงและให้ความรู้ความเข้าใจ หลักปฏิบัติในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้หัวข้อด้านสิทธิมนุษยชนได้รับความสนใจมากขึ้นได้อย่างไร ในหัวข้อนี้เราเปิดรับงานวิจัย เคสตัวอย่างที่ถูกเก็บรวบรวม การวางแผนวิธีการจัดแสดงงาน พร้อมพูดคุยเชิงลึกเกี่ยวกับเคสตัวอย่างของด้านต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ
หัวข้อย่อย2: การผลักดันชุมชนให้มีส่วนร่วมส่งเสียงเรียกร้องสิทธิมนุษยชน
ในปี 2022 คำนิยามของพิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ ได้เน้นย้ำการมีส่วนร่วมของชุมชน สะท้อนให้เห็นว่ายุคสมัยแห่งชุมชนได้มาถึงแล้ว พิพิธภัณฑ์และกลุ่มวัฒนธรรมในพื้นที่เอเชียแปซิฟิคจะพัฒนาผลักดันให้ชุมมีส่วนร่วมมากขึ้นอย่างไร? จะเปลี่ยนการพูดคุยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนจากกลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญมาเป็นเสียงจากมวลชนได้อย่างไร? ต้องใช้กลไกร่วมอะไรที่จะสามารถผลักดันให้ชุมชนที่ไม่ค่อยมีส่วนร่วมกับพิพิธภัณฑ์ให้รู้สึกอยากเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น? หัวข้อย่อยนี้ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและเคสตัวอย่างเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน
หัวข้อย่อย3: ความท้าทายในการข้ามเส้นแบ่งด้านสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ
ประวัติศาสตร์ของพื้นที่เอเชียแปซิฟิคมีความซับซ้อนมาก การร่วมมือซึ่งกันและกันและการพัฒนาของแรงงานข้ามชาติในพื้นที่มีประวัติศาสตร์มานานแล้วเช่นกัน หัวข้อย่อยนี้เนื้อหาที่เน้นคือการเหยียดชาติพันธุ์และปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านของประชากรอย่างรวดเร็วในพื้นที่เอเชียแปซิฟิค จากภูมิหลังและประสบการณ์ความหลากหลายชาติพันธุ์ของแต่ละประเทศนี้ โดยเฉพาะในด้านการอยู่รวมกันในพื้นที่ สิทธิมนุษยชนของแรงงานและผู้ย้ายถิ่นฐาน การอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมที่หลากหลาย พิพิธภัณฑ์และกลุ่มวัฒนธรรมสามารถทำให้เกิดการถกประเด็นนี้อย่างไร ทำเช่นไรจึงจะสามารถทำให้สิทธิและเสียงของ “คนอื่น” ในสังคมได้รับการมองอย่างเป็นธรรม?
หัวข้อย่อย 4: มรดกตราบาปแปลเปลี่ยนเป็นเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานรำลึก
ภูมิรัฐศาสตร์ของเอเชียแปซิฟิคมีอดีตของการถูกยึดเป็นอาณานิคม การกดขี่และการปกครองแบบเผด็จการอยู่ ปัจจุบันความยุติธรรมเปลี่ยนผ่านเป็นหัวข้อสำคัญที่หลาย ๆ ประเทศต้องเผชิญหน้าและจัดการ
พิพิธภัณฑ์จะหยิบยกเรื่องราวการเผชิญหน้ากับการทำลายสิทธิมนุษยชนในประวัติศาสตร์มาอธิบาย และจัดแสดงในรูปแบบใหม่ได้อย่างไร ผ่านการศึกษาจากการบันทึกที่ผ่านมามรดกตราบาปที่ตกค้างจากยุคเผด็จการจะแปลเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานรำลึกได้อย่างไร? จะจัดแสดงและเรียบเรียงเป็นเรื่องราวแบบไหน? เรื่องราวเหล่านี้จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมอย่างไร? หัวข้อย่อยนี้คาดหวังผลลัพที่จะทำให้ผู้ชมได้จุดประกายแนวคิด และเกิดการพูดคุยในหลากหลายมิติ
หัวข้อย่อย 5: การเรียกร้องด้านสิทธิมนุษยชนในแต่ละศาสตร์สาขา และพลังสะท้อน
เรื่องราวและเหตุการณ์การลิดรอนสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบในสังคม พิพิธภัณฑ์นอกกรอบและกลุ่มวัฒนธรรมได้พยายามประยุคต์ใช้ศาสตร์และศิลป์ในสาขาอื่น ๆ ทุกรูปแบบเพื่อสร้างสรรค์สื่อแบบใหม่ในการจัดแสดงเรื่องราวเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ การแสดง ภาพยนตร์ สื่อโซเชีลมีเดีย เป็นต้นมาเป็นสื่อแบบใหม่ในการสื่อสารกับผู้ชม ให้พวกเราร่วมหารือว่าจะผสมผสานศาสตร์และศิลป์ในแขนงอื่น ๆ อย่างไร เพื่อทำให้สิทธิมนุษยชนได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้น และถือโอกาสนี้สร้างแนวความคิดใหม่และทำให้พิพิธภัณฑ์เกิดความสร้างสรรค์มากขึ้น
วันที่ 29 เดือน กรกฎาคม ปี 2023 เที่ยงคืน (เวลาไต้หวัน) |
ปิดรับบทย่อ |
วันที่ 14 เดือน สิงหาคม ปี 2023 |
ประกาศผลการคัดเลือก |
วันที่ 14 เดือน กันยายน ปี 2023 (เวลาไต้หวัน) |
ปิดรับเอกสารและพรีเซ้นเทชั่น |
วันที่ 6-10 เดือน พฤศจิกายน ปี2023 |
เปิดงานประชุมประจำปีสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก (FIHRM-AP) |
ข้อมูลการติดต่อ
พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คุณ ซือเจียหรู/02-22182438 ext.605/nhrm.fihrmap@gmail.com
ชื่อ | รูปแบบ | วันที่ |
---|---|---|
Conference Proposal Form | odt | 2024-06-30 04:32:19 |