FIHRM-ASIA PACIFIC
เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและเคารพสิทธิมนุษยชนในเอเชีย โดยผ่านการดำเนินการของพิพิธภัณฑ์.
เข้าร่วมเป็นสมาชิก
FIHRM-ASIA PACIFIC
เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและเคารพสิทธิมนุษยชนในเอเชีย โดยผ่านการดำเนินการของพิพิธภัณฑ์.
เข้าร่วมเป็นสมาชิก
FIHRM-ASIA PACIFIC
เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและเคารพสิทธิมนุษยชนในเอเชีย โดยผ่านการดำเนินการของพิพิธภัณฑ์.
เข้าร่วมเป็นสมาชิก

FIHRM-ASIA PACIFIC ข่าวสารกิจกรรม

ข้อมูลข่าวสาร

2024-05-25

เวิร์คชอปแบ่งปันประสบการณ์ วอร์มอัปก่อนงานสัมมนาใหญ่ FIHRM-AP “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต: อิสรภาพในการสร้างสรรค์ศิลปะและนวัตกรรม”  หัวข้อสัมมนา: เริ่มจากประสบการณ์ในไต้หวัน – ไต้หวันรับมือและเยียวยาบาดแผลทางประวัติศาสตร์ในอดีตอย่างไร?  กำหนดการ: 29 พฤษภาคม 2024 14:00-16:30 (เวลาไต้หวัน) ) สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (Federation of International Human Rights Museums-Asia Pacific หรือ FIHRM-AP) ก่อตั้งในงานสัมมนาใหญ่สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติเกียวโต (ICOM Kyoto) เมื่อเดือนกันยายน 2019 FIHRM-AP ได้นำปณิธานของสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ(FIHRM)มาใช้บนแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพิพิธภัณฑ์กับหน่วยงานกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก เชิญชวนให้นานาประเทศติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของผู้คนในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก โดยเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่พิพิธภัณฑ์ที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนเป็นแก่นสำคัญ พร้อมผลักดันให้แนวคิดสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยเกิดขึ้นจริง  ในเดือนมิถุนายนปีนี้ พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (NHRM)และกลุ่มเครือข่ายศิลปินที่มีความเสี่ยง (ARC) จะร่วมกันจัดเวิร์คชอป หัวข้อ “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต: อิสรภาพในการสร้างสรรค์ศิลปะและนวัตกรรม” เวิร์คชอปที่จะจัดขึ้นถือเป็นพื้นที่แห่งการทบทวน ผ่านการนำศิลปะมากระตุ้นให้ผู้คนหยิบยกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมาพูดคุย ก่อนเริ่มเวิร์คชอป พวกเรายังจัดงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ออนไลน์ขึ้น โดยเชิญศิลปินและนักวางแผนนิทรรศการมาพูดคุยกันว่า “จะจัดการเนื้อหาสิทธิมนุษยธรรมที่ซับซ้อนในพื้นที่เอเชียแปซิฟิกอย่างไร” เวิร์คชอปครั้งนี้จะมีบุคคลที่ให้ความสนใจด้านการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมมากมาย ภายในงานมีบริการแปลภาษาจีนและอังกฤษด้วย หากท่านใดสนใจ กรุณาลงชื่อสมัครโดยเร็ว  คลิกที่นี่เพื่อสมัคร ลิงก์เข้าร่วมเวิร์คชอป จะส่งให้ผู้สมัครสำเร็จในภายหลัง      กำหนดการเวิร์คชอป:  📍 14:00 — 14:05   ประธานกล่าวให้โอวาท  หงซื่อฟาง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติและประธานสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (FIHRM-AP) 📍 14:05 — 14:45   การบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ (1)  หัวข้อ | การเขียนความทรงจำครั้งประวัติศาสตร์ : รำลึกประสบการณ์งานเขียนของทนายเหยาเจียเหวินผู้บรรยาย | เหยาเจียเหวิน ที่ปรึกษาชำนาญการแห่งทำเนียบประธานาธิบดี ผู้เสียหายจากยุคความน่าสะพรึงสีขาว (เผด็จการสกุลเจียง) 📍 14:45 — 15:25   การบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ (2)  หัวข้อ | แบ่งปันประสบการณ์ประพันธ์ อิสรภาพ และการเยียวยาบาดแผลทางจิตใจ ผู้บรรยาย | ไช่ไห่หรู ศิลปิน นักออกแบบนิทรรศการ และญาติของผู้เสียหายจากยุคความน่าสะพรึงสีขาว 📍 15:25 — 16:05   การบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ (3)  หัวข้อ | ค้นหาประวัติศาสตร์ในโรงละคร ผู้บรรยาย | ชิวอันเจิ่น หัวหน้าคณะละครถงตั่ง 📍 16:05 — 16:30   การบรรยายรวม พิธีกร | เสิ่นเฟยปี่ ศิลปินและวิทยากรกระบวนการศิลปะ *เวิร์คชอปแบ่งปันประสบการณ์ครั้งนี้ มีบริการแปลภาษาจีนและภาษาอังกฤษ *ลิงก์เข้าร่วมเวิร์คชอป จะส่งให้ผู้สมัครสำเร็จทางอีเมล *หากมีข้อสงสัย กรุณาส่งอีเมลสอบถามที่:nhrm.fihrmap@gmail.com

2024-05-25

เวิร์คชอปแบ่งปันประสบการณ์ วอร์มอัปก่อนงานสัมมนาใหญ่ FIHRM-AP “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต: อิสรภาพในการสร้างสรรค์ศิลปะและนวัตกรรม”  หัวข้อสัมมนา: แบ่งปันประสบการณ์เอเชียแปซิฟิก - นักวางแผนนิทรรศการและศิลปินจะจัดการเนื้อหาสิทธิมนุษยธรรมที่ซับซ้อนอย่างไร?  กำหนดการ: 5 มิถุนายน 2024 เวลา 14:00-16:45 (เวลาไต้หวัน)  สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (Federation of International Human Rights Museums-Asia Pacific หรือ FIHRM-AP) ก่อตั้งในงานสัมมนาใหญ่สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติเกียวโต (ICOM Kyoto) เมื่อเดือนกันยายน 2019 FIHRM-AP ได้นำปณิธานของสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ(FIHRM)มาใช้ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพิพิธภัณฑ์กับหน่วยงานกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก เชิญชวนให้นานาประเทศติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของผู้คนในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก โดยเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่พิพิธภัณฑ์ที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนเป็นแก่นสำคัญ พร้อมผลักดันให้แนวคิดสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยเกิดขึ้นจริง  ในเดือนมิถุนายนปีนี้ พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (NHRM) และกลุ่มเครือข่ายศิลปินที่มีความเสี่ยง (ARC) จะร่วมกันจัดเวิร์คชอป หัวข้อ “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต: อิสรภาพในการสร้างสรรค์ศิลปะและนวัตกรรม” เวิร์คชอปที่จะจัดขึ้นถือเป็นพื้นที่แห่งการทบทวน ผ่านการนำศิลปะมากระตุ้นให้ผู้คนหยิบยกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมาพูดคุย ก่อนเริ่มเวิร์คชอป พวกเรายังจัดงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ออนไลน์ขึ้น โดยเชิญศิลปินและนักวางแผนนิทรรศการมาพูดคุยกันว่า “จะจัดการเนื้อหาสิทธิมนุษยธรรมที่ซับซ้อนในพื้นที่เอเชียแปซิฟิกอย่างไร” เวิร์คชอปครั้งนี้จะมีบุคคลที่ให้ความสนใจด้านการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมมากมาย ภายในงานมีบริการแปลภาษาจีนและอังกฤษด้วย หากท่านใดสนใจ กรุณาลงชื่อสมัครโดยเร็ว  คลิกที่นี่เพื่อสมัคร​​​​​​ ลิงก์เข้าร่วมเวิร์กชอป จะส่งให้ผู้สมัครสำเร็จในภายหลัง    กำหนดการเวิร์คชอป  📍 14:00 — 14:05   ประธานกล่าวให้โอวาท หงซื่อฟาง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (FIHRM-AP)  📍 14:05 — 14:45    การบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ (1) หัวข้อบรรยาย | พิพิธภัณฑ์เควียร์—LGBTIQ+กับการผนวกรวมและการก้าวผ่าน ผู้บรรยาย | Craig Middleton นักวางแผนนิทรรศการชำนาญการ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติออสเตรเลีย 📍 14:45 — 15:25   การบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ (2)  หัวข้อบรรยาย | เถ้าไฟแห่งความอึดอัดร้อนรุ่มผู้บรรยาย | Pooja Pant ประธานกลุ่ม Voices of Women Media 📍 15:25 — 16:15   การบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ (3) หัวข้อบรรยาย | พื้นที่ศิลปะปัตตานี (Patani Artspace) —— ศิลปะกับชุมชนผู้บรรยาย | Jehabdulloh jehsorhoh ประธานกลุ่มพื้นที่ศิลปะปัตตานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 📍 16:20 — 16:45   การบรรยายรวม  พิธีกร | หลินเหวินหลิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สถาบันวิจัยการจัดการศิลปะและการวางแผนด้านวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไต้หวันผู้แสดงความคิดเห็น | อู๋เจี้ยเสียง ศาสตราจารย์สาขาวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยครูแห่งชาติจางฮว้า *เวิร์คชอปแบ่งปันประสบการณ์ครั้งนี้ มีบริการแปลภาษาจีนและภาษาอังกฤษ  *ลิงก์เข้าร่วมเวิร์คชอป จะส่งให้ผู้สมัครสำเร็จทางอีเมล *หากมีข้อสงสัย กรุณาส่งอีเมลสอบถามที่:museumfju.website@gmail.com 

2023-11-06

งานประชุมประจำปีของ FIHRM-AP ในครั้งนี้จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 6 ถึง 7 พฤศจิกายน ที่ห้องประชุมนานาชาติอาคารหลินเจ๋อ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันในหัวข้อ “ร่วมตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน ” โดยมีพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติรวบรวมข้อมูล พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยฝู่เหรินช่วยในการวางแผนงาน ภายในงานมีการปาฐกถาทั้งหมด 3 รอบและการบรรยายวิทยานิพนธ์16เล่ม ผู้บรรยายเป็นนักวิจัยจากนานาประเทศ อาทิ ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เนปาล อินเดีย ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย อาเจนติน่าและอื่น ๆ วันที่ 8 พฤศจิกายนช่วงเช้าได้เชิญหน่วยงาน ICSC (International Coalition of Sites of Conscience)ร่วมจัดเวิร์คช็อปในหัวข้อ “สร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ: พิพิธภัณฑ์ ชุมชน สิทธิมนุษยชน” โดยเวิร์คช็อปนี้เปิดโอกาสให้ผู้คนในพิพิธภัณฑ์ได้เข้าร่วมพูดคุย กระตุ้นให้มรการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ข่าวสาร ประกาศ รายละเอียดล่าสุดของงานประชุมประจำปีครั้งนี้ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์หลักของงาน FIHRM-AP 2023 อย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะได้เป็นคนแรกที่ได้รับข่าวสารล่าสุด!   หน่วยงานผู้จัดงาน: หน่วยงานผู้จัดงานหลัก: พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หน่วยงานปฏิบัติการ: ศูนย์วิจัยพิพิธภัณฑศึกษา มหาวิทยาลัยฝู่เหริน บริษัทกรีนฮิลล์ อีเวนตส์ จำกัด ช่องทางติดต่อ: หน่วยนิทรรศการเพื่อการศึกษาพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 02-2218-2438 #605 | nhrm.fihrmap@gmail.com อีเมลสำหรับงานประจำปี 2023FIHRM-AP | fihrmap2023@gmail.com

งานวิจัย

2024-09-02

เกี่ยวกับผู้เขียน: หลี่อีตง หลี่อีตง เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง “วีรสตรีประชาธิปไตยฮ่องกง” และ “พันธมิตรประชาธิปไตยฮ่องกงญี่ปุ่น” เกิดที่ฮ่องกง และเคยศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ต่อมาในปี2017 ได้ไปศึกษาต่อปริญญาโท คณะสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยโตเกียว หลังจบการศึกษาได้เข้าทำงานด้านสถาปิกต่อในญี่ปุ่น ปีค.ศ. 2019 คุณหลี่ได้ก่อตั้งกลุ่ม “วีรสตรีประชาธิปไตยฮ่องกง” (Lady Liberty Hong Kong)(ต่อไปจะเรียกโดยย่อว่า LLHK)กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งจากวีรสตรีหญิงแนวหน้าการชุมนุนในฮ่องกง ก่อตั้งขึ้นในช่วงที่ชาวฮ่องกงต่อต้านกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ ต่อมากลุ่มนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยในฮ่องกงอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 2020 หลังจากที่ “กฎหมายของเขตปกครองพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ”ผ่านมติสภาแล้ว คุณหลี่ได้ย้ายไปบริหารจัดการกลุ่ม LLHK ที่ประเทศญี่ปุ่นแทน และจัดกิจกรรมเรียกร้องต่างๆ เช่น นิทรรศการศิลปะและงานปาฐกถาที่โตเกียว ไทเป แคนาดา และอื่นๆ ตามลำดับ คุณหลี่เผยแพร่การเรียกร้องด้านประชาธิปไตยในฮ่องกงผ่านงานศิลปะให้แก่สังคมอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในปีค.ศ. 2023 คุณหลี่ได้ก่อตั้ง “พันธมิตรประชาธิปไตยฮ่องกงญี่ปุ่น” ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมพูดคุยและกิจกรรมด้านมวลชนอื่นๆ ที่จะช่วยเผยแพร่ปัญหาฮ่องกงไปสู่วงการเมืองญี่ปุ่นได้ เกี่ยวกับวีรสตรีประชาธิปไตยฮ่องกงและพันธมิตรประชาธิปไตยฮ่องกงญี่ปุ่น “วีรสตรีประชาธิปไตย”และ “พันธมิตรประชาธิปไตยฮ่องกงญี่ปุ่น” เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งโดยพลเมืองกลุ่มแรกก่อตั้งในปีค.ศ. 2019 ในช่วงระหว่างต่อต้านการผ่านกฎหมายความมั่นคงฮ่องกงฉบับใหม่ ต่อมาวันที่ 1 เมษายน ค.ศ 2024 ทั้งสองกลุ่มได้ควบรวมกัน สมาชิกเดิมจากทั้งสองกลุ่มได้จับมือขยายศักยภาพและร่วมแรงร่วมใจจัดกิจกรรมทุกรูปแบบเพื่อผลักดันประชาธิปไตย ข้อเรียกร้องท้องถิ่นและแผนวิจัยนโยบายต่าง ๆ ในฮ่องกง เพื่อมุ่งหมายจะเป็นฐานเสียงของคนฮ่องกงในเอเชียตะวันออก รางวัลศิลปะอิสระฮ่องกง 2023: การเชื่อมโยงระหว่างประเทศของศิลปะและการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน

2024-06-12

เกี่ยวกับ MIKE! Michael Brady (หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ MIKE!) ศิลปินและนักออกแบบเควียร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาสหศาสตร์ศิลป์ ปัจจุบันพำนักอยู่ที่ลูทริวิตา/แทสเมเนีย เข้าของผลงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย หรือสื่อดิจิทัล สิ่งที่เบรดีมุ่งเน้นให้ความสำคัญ คือ การแบ่งปันเรื่องราวของ LGBTIQIA+ ผ่านอาร์ตเวิร์กและศิลปะแห่งการจัดวางในรูปแบบอิมเมอร์ซีฟซึ่งรังสรรค์จากประสบการณ์ส่วนบุคคล ประวัติศาสตร์ และป๊อบคัลเจอร์   เกี่ยวกับ Counihan Gallery Counihan Gallery เป็นแกลเลอรีสาธารณะซึ่งเปิดให้เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งอยู่ ณ ใจกลางเมืองบรันสวิก ดินแดนของชาววูรันด์เจรี วอย-เวอร์รัง แกลเลอรีแห่งนี้เปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 1999 และตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Noel Counihan ศิลปินและนักเคลื่อนไหวชาวออสเตรเลีย (ค.ศ. 1913-1986) แกนนำผู้สนับสนุนความยุติธรรมทางสังคมและเสรีภาพในการแสดงออก นิทรรศการแสดงผลงานศิลปะของพวกเขาสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่อการเคลื่อนไหวทางสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืน และการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ จากห้องนอนสู่แกลเลอรี: การสำรวจอัตลักษณ์เควียร์ในออสเตรเลีย ช่วงทศวรรษที่ 1980 บทความนี้เขียนขึ้นจากการสัมภาษณ์ระหว่างคุณนิโคลา ไบรอัน (Nicola Bryant)ผู้วางแผนนิทรรศการแกลลอรี่ศิลปะคูลนิฮัน (Counihan) กับศิลปินไมเคิล บราดี (Michael Brady)  

2024-05-09

ยูนีส บาแอส ซันเชส คุณซันเชสทำงานในวงการพิพิธภัณฑ์ มีประสบการณ์มากมาย นอกจากจะให้บริการที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังศึกษาเกี่ยวกับสื่อข่าวสารวัฒนธรรม และทำงานในวงการบริหารสื่อและการตลาดอีกด้วย โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่หลากหลาย  ปัจจุบันคุณซันเชสดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสภาพิพิธภัณฑ์นานาชาติคอสตาริก้า (International Council of Museums,ICOM)และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการร่วมของพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และไพรด์ (Museo de la Identidad y el Orgullo, MIO)ด้วย พิพิธภัณฑ์นี้เป็นพิพิธภัณฑ์ LGBTIQ+ แห่งแรกในภูมิภาคละตินอเมริกา นอกจากนี้คุณซันเชสยังเป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้กับสำนักงานข้ามภูมิภาคขององค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำกรุงซาน โคเซ่ ประเทศคอสตาริกา คุณซันเชสใช้ความสามารถของตัวเองอย่างเต็มที่ ทำงานด่านหน้าเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและมรดกท้องถิ่น ใช้สื่อประชาสัมพันธ์และวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและสร้างนิยามใหม่ในสังคม จนเกิดเป็นกระแสใหญ่อย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับของฉัน ของเธอ ความทรงจำของพวกเรา พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจ พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจ เกิดจากแนวคิดการเคลื่อนไหวเชิงรุก (activism) ผู้ก่อตั้งเชื่อว่าพื้นที่ในพิพิธภัณฑ์จะสามารถรวบรวมความทรงจำร่วม LGTBIQ+ ของคนคอสตาริกาที่มีเจตจำนงเดียวกันได้ ในภาษาสเปน “MIO” ประกอบด้วยภาษาสเปนสามคำด้วยกัน : พิพิธภัณฑ์ (Museo)อัตลักษณ์ (Identidad)และความภาคภูมิใจ (Orgullo)และในเวลาเดียวกัน “MIO”ก็มีความหมายของมันเองแปลว่า “ของฉัน” ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อที่ทีมผู้ก่อตั้งตั้งขึ้นมาเฉย ๆ แต่เป็นชื่อที่ผ่านการพูดคุยและคิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว โดยทีมผู้ต่อตั้งมุ่งมั่นตั้งใจที่จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ในประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศคอสตาริกา ประเทศคอสตาริกามีชื่อเสียงเกี่ยวกับธรรมชาติที่สวยงามและสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย และยังมีจุดเด่นในด้านความสงบสุขในสายตาของชาวโลก เพราะในปี 1948 ประเทศคอสตาริกาได้ยกเลิกกองทัพลง แต่กระนั้นประเทศนี้ก็ยังพบปัญหาการเหยียดกลุ่มคน LGBTIQ+ อยู่ เคสละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ประมาณสามสิบปี เกิดการระบาดของโรดเอดส์ทั่วโลก ตำรวจในกรุงซาน โคเซ่มักจะสุ่มตรวจบาร์เหล้า Ambiente อยู่เป็นระยะ เพราะในอดีตกลุ่ม LGBTIQ+ มักจะมาร่วมตัวกันที่นี่ ในปีนั้นเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งมากมาย เช่น เหตุการณ์ใช้ความรุนแรง หมิ่นประมาทผู้อื่น ฯลฯ ขึ้นมากมาย แต่เหตุการณ์เหล่านี้สามารถส่งต่อถึงปัจจุบันเหตุเพราะผู้คนที่ได้ประสบพบเจอกับตัวโดยตรงยินยอมที่จะบอกเล่าออกมา ถึงแม้เรื่องเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นเหตุการณ์เก่าในอดีต แต่กาลเวลาต้องดำเนินถึงปัจจุบันถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ในปี 2020 ประเทศคอสตาริกาประกาศใช้กฎหมายสมรสเรักร่วมเพศท่าเทียมอย่างเป็นทางการ เป็นประเทศแรกในภูมิภาคละตินอเมริกาที่ให้การคุ้มครองคู่รักและครอบครัวเพศเดียวกัน แต่ความสำเร็จนี้ไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ใช่ในเวลาอันสั้น แต่เป็นผลลัพธ์จากความมานะบากบั่นของผู้คนนับไม่ถ้วนที่บางส่วนถูกละเมิดสิทธิในระหว่างที่ต่อสู้ต่างหาก คุณเอนริเก่ ซันเชส คาร์บาโล่ (Enrique Sánchez Carballo)อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสภานิติบัญญัติคอสตาริกาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกที่เปิดเผยว่าตัวเองเป็นคนรักร่วมเพศ และเป็นหนึ่งในผู้ต่อตั้งพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์และความภาคภูมิใจด้วย คุณเอนริเก่กล่าวว่า : “ตอนที่สิทธิ LGBTIQ+ ในนานาชาติทั่วโลกมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ อย่างเช่น สมรสเท่าเทียมในประเทศคอสตาริกา ในเวลานี้จะมีความเสี่ยงหลักสองประการ ประการแรกคนรุ่นใหม่จะลืมการเสียสละและความท้าทายที่ผู้คนและกลุ่มคนมากมายในอดีตเคยเผชิญ ประการที่สองอาจจะมีคนเข้าใจผิดว่าสมรสเท่าเทียมเป็นเป้าหมายสูงสุดในเส้นทางการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม” อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเอนริเก่พบว่ากฎหมายและการเปลี่ยนแปลงใหญ่เหล่านี้มีผลต่อประเทศคอสตาริกาในภาพรวม แต่ความสำเร็จใหญ่แบบนี้อาจจะทำให้ทุกคนลืมความยากลำบากในอดีต ทำให้การรวบรวมเรื่องราวการต่อสู้จากปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนอย่างเป็นระบบในปัจจุบันเป็นไปได้ยาก ซ้ำร้ายพื้นที่ส่งต่อเรื่องราวเหล่านี้อาจจะถูกบีบให้น้อยลง สิ่งที่ทุกคนควรคิดคำนึงคือกลุ่มคนเหล่านี้ต้องอาศัยความยืดหยุ่นถึงจะสามารถสร้างความสำเร็จในวันนี้ แล้วพวกเราควรจะใช้วิธีใดในการเก็บรักษาประวัติศาสตร์ของคนกลุ่มนี้กัน? ยิ่งไปกว่านั้นต้องทำเช่นไรถึงจะสามารถเตือนทุกคนได้ว่าปัจจุบันก็ยังมีการต่อสู้มากมายเกิดขึ้นอยู่