:::

พิพิธภัณฑ์ภายใต้แรงกดดัน—การยื้อยุดระหว่างรัฐบาล ชุมชน และสิทธิส่วนบุคคล ไฮไลท์ของ FIHRM ประจำปี 2022

คำนำ

FIHRM มีวัตถุประสงค์ในการสถาปนาขึ้นเพื่อให้ผู้คนหันมาสนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และสนับสนุนให้พิพิธภัณฑ์มีส่วนร่วมในประเด็นด้านประชาธิปไตยและความครอบคลุม  งานประชุม FIHRM ประจำปี 2022 จัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ณ เมืองออสโล โดยมีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนแห่งนอร์เวย์ (Demokratinetverket) เป็นเจ้าภาพจัดงาน ระยะเวลาประชุม 3 วัน ทั้งนี้ สถานที่จัดงานประชุมได้ถูกเลือกให้จัดที่พิพิธภัณฑ์รัฐธรรมนูญไอด์สโวลล์ 1814 (Eidsvoll 1814), ศูนย์สันติภาพโนเบล (Nobel Peace Center) และศูนย์การศึกษาความหายนะของชาวยิวและชนกลุ่มน้อยแห่งนอร์เวย์(The Norwegian Center for Holocaust and Minority Studies) จึงมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่ง

งานประชุมเริ่มด้วยการหารือว่าในพื้นที่ที่มีการกดขี่สิทธิมนุษยชนและแนวคิดคิดประชาธิปไตย จะใช้วิธีการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงการปกครองตนเองและความคล่องตัวของพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร ระหว่างพิพิธภัณฑ์ รัฐบาล และชุมชนควรมีความสัมพันธ์แบบใด มีแรงกดดันแบบไหนต่อการพัฒนา? พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนจะกำหนดบทบาทของตนได้อย่างไร และจะมีปฏิสัมพันธ์กับประเด็นที่มีความขัดแย้งได้อย่างไร ส่วนที่สองแสดงถึงสถานการณ์ปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก แก้ไขปัญหาการเปิดกว้างหรือการกีดกันเชิงสังคม วัฒนธรรม และการเมืองจากมุมมองที่แตกต่างกัน เสนอแนวทางหรือกลยุทธ์ที่เปิดกว้างที่เป็นไปได้แก่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน ผู้เข้าร่วมประชุมมาจากยุโรป,เอเชียและสหรัฐอเมริกา คุณหงซื่อฟาง ประธาน FIHRM-AP และผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไต้หวัน และ คุณเทนซิน ท็อปเดน (Tenzin Topdhen) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทิเบตซึ่งเป็นสมาชิกสาขาภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ฯลฯ ต่างได้เข้าร่วมงานประชุมดังกล่าว พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์และวิธีการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง  โดยหวังว่าจะสามารถแก้ไขหารือปัญหาความครอบคลุมในพื้นที่พิพิธภัณฑ์และสังคมโดยรวม โดยมีพิพิธภัณฑ์เป็นจุดเริ่มต้นของการมุ่งมั่นส่งเสริมและสร้างสังคมที่เท่าเทียมกัน

พิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญกับแรงกดดันและความท้าทายทั้งภายในและภายนอกในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน

ทุกคนเท่าเทียมกันเป็นอุดมคติของจิตวิญญาณที่ขาดไม่ได้ในสังคม อย่างไรก็ตาม หนทางสู่ยูโทเปียยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรค พิธีเปิดในวันแรก คุณแคทริน แปบส์ต (Kathrin Pabst) ประธานคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยความขัดแย้งทางจริยธรรมแห่งสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (ICOM International Committee on Ethical Dilemmas : IC Ethics) และผู้จัดนิทรรศการอาวุโสของพิพิธภัณฑ์เวสท์-แอกเดอร์ (Vest-Agder Museum) ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนอาจต้องเผชิญ พิพิธภัณฑ์มักจะต้องเผชิญหน้ากับแรงกดดัน 5 ประการคือความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมวงการ, ความพยายามลบล้างอดีต, การแทรกแซงทางการเมืองอย่างกะทันหัน, สงคราม, และความพยายามที่จะทำลายและปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศชนิดใดชนิดหนึ่ง แรงกดดันเหล่านี้มีที่มาจากทั้งภายในและภายนอก ภายในจากบุคลากรภายในพิพิธภัณฑ์ ส่วนภายนอกมากจากสังคมท้องถิ่นและรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม วิกฤตก็คือโอกาส แม้ว่าการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนเผชิญกับความท้าทายต่างๆ แต่แรงกดดันสามารถเป็นตัวเร่งในการส่งเสริมกระบวนการดังกล่าวได้เช่นกัน คุณเจ็ทเต้ แซนดาห์ล (Jette Sandahl) ประธานคณะกรรมการงานประชุมพิพิธภัณฑ์ยุโรป (European Museum Forum) ให้แนวทางว่าพิพิธภัณฑ์ควรรับมือกับความท้าทายอย่างไร เธอชี้ให้เห็นว่าก็เพราะพิพิธภัณฑ์กำลังเผชิญกับแรงกดดันและวิกฤตมากมาย ยิ่งต้องสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว, ควรพยายามขจัดคติข้อยกเว้นที่มีมาหลายศตวรรษที่ผ่านมา, อย่าใช้แนวความคิดเดิมๆ ควรกล้าที่จะก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซน, มองหาพันธมิตรที่จะก้าวไปด้วยกัน, บนเส้นทางแห่งสิทธิมนุษยชนไม่ควรมีคนเป็นข้อยกเว้น บุคลากรของพิพิธภัณฑ์ควรกล้าที่จะต่อต้านการที่หน่วยงานภายในพิพิธภัณฑ์ไร้ความกระตือรือร้นหรือสมรู้ร่วมคิดกับผู้มีอำนาจ พร้อมยืนหยัดด้วยความเชื่อมั่นอันแน่วแน่และใช้พลังส่วนรวมแก้ไขอุปสรรคและความขัดแย้ง ยืนยันที่จะสู้ต่อไป

พิพิธภัณฑ์จะแสดงจิตวิญญาณแห่งความสามัคคีออกมาได้อย่างไร ลำดับต่อไป นักวิชาการจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติลิเวอร์พูล(National Museums Liverpool) และมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (University of Leicester) จะยกตัวอย่างในการปฏิบัติจริง

พิพิธภัณฑ์ได้ร่วมมือกับวงการอื่นเพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงริมทะเล

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติลิเวอร์พูล(National Museums Liverpool) และมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (University of Leicester) ร่วมกันหารือโครงการปรับปรุงริมทะเล(Waterfront Transformation) โครงการนี้เป็นตัวอย่างการใช้พลังส่วนรวมที่ดีที่สุด การร่วมกันผลักดันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นผ่านความร่วมมือและความพยายามในทุกด้าน เพื่อก้าวสู่สังคมที่เท่าเทียมกัน

โครงการปรับปรุงริมทะเลมุ่งมั่นที่จะทำให้พิพิธภัณฑ์เชื่อมโยงกับสังคมร่วมสมัย โดยเริ่มจากริมทะเลอันเป็นเอกลักษณ์ของลิเวอร์พูล เชื่อมโยงเรื่องเล่า, มรดก, ชุมชนและการท่องเที่ยวอันเป็นสัญลักษณ์ของลิเวอร์พูล นอกจากการสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้แก่นักท่องเที่ยว ยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการปรับปรุงชุมชนและสิ่งแวดล้อม นี่ไม่ใช่เพียงแค่โครงการความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ยังได้รวบรวมพลังของคนท้องถิ่น ร่วมกันสร้างเมืองริมทะเลแห่งลิเวอร์พูลที่ผสมผสานความเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน

รูปที่ 1 โครงการปรับปรุงริมทะเลเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์กับอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ตลอดทางเข้าด้วยกัน ซึ่งรวมทั้งพิพิธภัณฑ์การค้าทาสระหว่างประเทศ (ISM), ท่าเรือแคนนิ่ง (The Canning Dock), พิพิธภัณฑ์แห่งชาติลิเวอร์พูลและสถาปัตยกรรมท่าเรือที่มีประวัติยาวนาน

รูปที่ 1 โครงการปรับปรุงริมทะเลเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์กับอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ตลอดทางเข้าด้วยกัน ซึ่งรวมทั้งพิพิธภัณฑ์การค้าทาสระหว่างประเทศ (ISM), ท่าเรือแคนนิ่ง (The Canning Dock), พิพิธภัณฑ์แห่งชาติลิเวอร์พูลและสถาปัตยกรรมท่าเรือที่มีประวัติยาวนาน

จากข้อความข้างต้น เราเข้าใจดีว่าความร่วมมือเป็นกำลังสำคัญสำหรับพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนในการรับมือกับความท้าทาย และการก่อตั้งสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (FIHRM-AP) เป็นการเน้นย้ำใช้กลยุทธ์ความร่วมมือเชิงหุ้นส่วนภูมิภาคระหว่างพิพิธภัณฑ์และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อต่อสู้กับการกดขี่ทางการเมืองและโครงสร้างสังคม

คุณหงซื่อฟางประธาน FIHRM-AP และผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไต้หวันกล่าวถึงภูมิหลังและวัตถุประสงค์ของ FIHRM-AP โลโก้ของ FIHRM-AP เป็นสัญลักษณ์ของ “ทุกคนมีเสรีภาพและเสมอภาพ จิตวิญญาณของประชาธิปไตยเบ่งบานทุกแห่งหน” นับตั้งแต่การก่อตั้งในปี 2019 จนถึงปัจจุบัน FIHRM-AP มีสมาชิกกว่า 80 รายและเว็บไซต์ทางการมี 10 ภาษาให้บริการ ด้วยจิตวิญญาณหลักขององค์กร FIHRM-AP ได้ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์และภาคประชาสังคมผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรโดยมีสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดหลัก ไต้หวันและประเทศอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกเคยเกิดสงครามมากมายและมีประสบการณ์ถูกปกครองแบบอำนาจนิยมมาอย่างยาวนาน ตัวอย่างเช่น ไต้หวันเคยใช้กฎอัยการศึกมาเกือบ 40 ปี เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาค ประชาธิปไตยในประเทศเอเชียแปซิฟิกก้าวหน้าค่อนข้างช้า ทั้งนี้ FIHRM-AP รับบทเป็นผู้นำรวบรวมพลังของทุกฝ่ายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

รูปที่ 2 ปี 2022 พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดนิทรรศการสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น "Ayo-Ayo! พรุ่งนี้น่าจะดีกว่า" โดยมีประเด็นสิทธิแรงงานข้ามชาติเป็นหัวข้อหลักและส่งเสริมแนวคิดทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

รูปที่ 2 ปี 2022 พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดนิทรรศการสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น "Ayo-Ayo! พรุ่งนี้น่าจะดีกว่า" โดยมีประเด็นสิทธิแรงงานข้ามชาติเป็นหัวข้อหลักและส่งเสริมแนวคิดทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

ประสบการณ์ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพิสูจน์ให้เห็นว่าการปกครองแบบอำนาจนิยมขัดขวางการพัฒนาของสิทธิมนุษยชนอย่างมาก ดังนั้น หลายประเทศที่เคยถูกปกครองแบบอำนาจนิยมจะเรียนรู้จากประวัติศาสตร์อันมืดมิดนี้ อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้บริบทอำนาจนิยมต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง ในงานประชุมนี้ มีหลายท่านแบ่งปันวิกฤตที่พิพิธภัณฑ์ชนิดนี้ต้องประสบและวิธีการรับมือผ่านประสบการณ์จริงให้เราทราบ

ยืนหยัดในพันธกิจภายใต้บริบทอำนาจนิยม

อำนาจนิยมเป็นคตินิยมที่ทั้งรัฐบาลและประชาชนไม่อยากเอ่ยถึงและอันตราย ดังนั้น พิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นภายใต้บริบทนี้จึงต้องพยายามเป็นอย่างมากเพื่อเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยรวม ดอย-โคดิ (Doi-Codi)[1]  เป็นหน่วยข่าวกรองและหน่วยปราบปรามทางการเมืองของบราซิลในช่วงการปกครองแบบเผด็จการทหาร ดร. เด็บโบราห์ เนเวส (Dr. Deborah Neves) ชี้ให้เห็นว่าวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอนุสรณ์สถานดอย-โคดิ เพื่อยกย่องผู้ที่ถูกสังหารหรือถูกทรมานในช่วงเวลานั้น ขณะเดียวกัน เพื่อใช้เป็นหลักฐานให้ผู้ที่ไม่เคยอยู่ในช่วงประวัติศาสตร์อันมืดมิดนี้ทราบว่ารัฐบาลบราซิลเคยกระทำความผิดทางอาญาร้ายแรง รวมถึงทราบว่าการปฏิบัติการและโครงสร้างการปราบปรามประชาชนของเผด็จการทหารบราซิล

การก่อตั้งช่วงแรกๆ พิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญกับความท้าทายจำนวนมาก เฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลก็ใช้เวลาไม่น้อยในการรับมือกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ต่อให้ข้อมูลบางส่วนขาดหายไปก็ตาม ทั้งยังต้องตามหาผู้ที่เคยถูกกดขี่ทางการเมืองหรือญาติมิตรของบุคคลดังกล่าว และใช้เอกสารและคำบอกเล่าปากเปล่าเพื่อรื้อฟื้นช่วงยุคเผด็จการทหาร อนุสรณ์สถานเป็นผู้บุกเบิกในการสร้างความร่วมมือครั้งแรกระหว่างองค์กรอนุรักษ์มรดกและอดีตนักโทษการเมือง, ยอมรับและปกป้องอาคารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รัฐบาลปราบปรามประชาชน, เปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นสถานที่แห่งความทรงจำและความตระหนัก พร้อมประกาศความสำคัญของประชาธิปไตยและเสรีภาพ

คุณคาล์เล คาล์ลิโอ (Kalle Kallio) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แรงงานฟินแลนด์ (The Finnish Labour museum) บอกเล่าถึงวิกฤตที่พิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญหลังเกิดสงครามโซเวียต – รัสเซียและวิธีการรับมือ ปี 2014 พิพิธภัณฑ์เลนินได้ควบรวมกับพิพิธภัณฑ์แรงงานฟินแลนด์ แม้ว่าพิพิธภัณฑ์จะอ้างว่าเป็นตัวแทนของสิทธิมนุษยชน, สังคมที่ยั่งยืน, ความสามัคคีและสันติภาพ ฯลฯ ประกอบกับมีพันธกิจที่จะสร้างประวัติศาสตร์อันชอบธรรม อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์เลนินเหมือนถูกกำหนดให้ไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้ เมื่อรัสเซียโจมตียูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 กระแสต่อต้านลัทธิเลนินอย่างรุนแรงได้กลับมาอีกครั้ง เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตอย่างกะทันหัน พิพิธภัณฑ์ด้านหนึ่งก็สนับสนุนให้ต่อต้านสงครามด้วยสันติวิธีและสนับสนุนยูเครน อีกด้านหนึ่งก็ได้ระงับความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์รัสเซียและยุติการใช้กลวิธีทางการตลาดที่มีอารมณ์ขบขัน พร้อมมีท่าทีจริงจังในการแสดงถึงการต่อต้านระบอบเผด็จการ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดกระแสต่อต้านพิพิธภัณฑ์ขึ้นอีกครั้ง

พิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นภายใต้บริบทอำนาจนิยมอาจต้องเผชิญกับภาวะยากลำบากที่รัฐบาลมาขัดขวางหรือหลักฐานถูกทำลายในช่วงก่อตั้งระยะแรก หรือต่อให้สามารถก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ได้สำเร็จ แต่เมื่อมีเหตุการณ์ทางสังคมบางอย่างสร้างความไม่สบายใจให้กับสาธารณชนในเรื่องเผด็จการนิยม ก็อาจทำให้พิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรง สิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นแรงกดดันที่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนถูกกำหนดให้ต้องแบกรับ อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์เหล่านี้นอกจากจะต้องแบกรับประวัติศาสตร์อันน่าเศร้า ทั้งยังเป็นบทเรียนที่ไม่อาจลืมเลือนได้ คอยเตือนชาวโลกอย่ากลับไปสู่เส้นทางแห่งเผด็จการนิยม ฉะนั้น เพื่อสร้างสังคมที่เสรีภาพและเท่าเทียมกัน พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนควรยึดมั่นในพันธกิจของตน

เช่นเดียวกับปรัชญาการก่อตั้งของดอย-โคดิ พิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นภายใต้บริบทอำนาจนิยมมีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายในเวลานั้น บนหนทางแห่งสิทธิมนุษยชนไม่ควรมีผู้ถูกลืมเลือน เราทำได้เพียงไว้ทุกข์ผู้ตาย และตอนนี้เรายังมีโอกาสห่วงใยผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติที่อยู่รอบๆ ช่วยส่งเสริมพัฒนาสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อย

พื้นที่ของชนกลุ่มน้อย: การพบกันของรัฐบาลและพิพิธภัณฑ์และคำจำกัดความของคำว่าอำนาจ

งานประชุมช่วงท้ายเน้นหารือประเด็นชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะชาวซามี (Sámi) พูดคุยถึงแนวคิดเรื่องการลบล้างความเป็นอาณานิคม ชาวซามีเป็นชนพื้นเมืองที่อยู่เหนือสุดของยุโรปและเป็นชนพื้นเมืองเพียงกลุ่มเดียวที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยชนพื้นเมือง แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลับถูกเหยียดและได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในระดับหนึ่ง จนทุกวันนี้ยังมีข้อพิพาททางกฎหมายด้านกฎหมายในประเทศและศาลระหว่างประเทศ

เจเรมี แม็กโกแวน (Jérémie McGowan) อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะซามี (Sámi Dáiddamusea) ชี้ให้เห็นว่าคนทั่วไปไม่รู้การเป็นอยู่ของชาวซามี มักจะเห็นอกเห็นใจชาวซามี เข้าใจว่าเป็นกลุ่มคนที่เคยถูกทารุณกรรมโดยชาตินักล่าอาณานิคม พร้อมคิดว่าปัญหาทารุณกรรมและความอยุติธรรมนี้ผ่านไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่ความจริง ดังนั้นพิพิธภัณฑ์จำเป็นต้องร่วมมือกับชุมชนซามีอย่างเร่งด่วน เพื่อผู้คนให้เข้าใจชนพื้นเมืองมากขึ้น ปลูกฝังวิธีชีวิตแบบพหุวัฒนธรรม

คุณเอ็มมา เอลีอานี่ ออสคาร์ล วาล์คีอาปา (Emma Eliane Oskal Valkeapää) ชาวซามีได้เล่าถึงโครงการผู้เบิกทางซามี  (Sami Pathfinders programme) โดยมีมหาวิทยาลัยซามี, รัฐบาลท้องถิ่นและหน่วยงานพัฒนาภูมิภาคร่วมสนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย ในขณะเดียวกัน มีการเสนอว่าพิพิธภัณฑ์สามารถทำให้ผู้คนรู้จักชนกลุ่มน้อยมากขึ้นจากมุมมองที่แตกต่าง ด้วยการเน้นไปที่ความหลากหลายและการพัฒนาของชนพื้นเมือง

ไม่แน่ใจว่าทับเสียงถูกไหม

3 ชาวซามีรุ่นใหม่รับบทเป็นผู้เบิกทางชาวซามี ถ่ายทอดวัฒนธรรมซามีในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษากับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศนอร์เวย์

3 ชาวซามีรุ่นใหม่รับบทเป็นผู้เบิกทางชาวซามี ถ่ายทอดวัฒนธรรมซามีในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษากับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศนอร์เวย์

แม้ว่าเนื้อหาที่ประชุมจะเน้นที่ชาวซามีเป็นหลัก แต่ปัญหาการเหยียดทางเชื้อชาติมีอยู่ทุกมุมโลก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ผู้คนรู้สึกรังเกียจ, กลัว, เห็นอกเห็นใจหรือมีอารมณ์อื่นเพราะไม่เข้าใจวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย ชนกลุ่มน้อยเข้ากับสังคมที่มีวัฒนธรรมอื่นไม่ได้เพราะไม่เข้าใจวัฒนธรรมของอีกฝ่าย ดังนั้นการเข้าใจวัฒนธรรมของฝ่ายตรงข้ามอย่างถ่องแท้ จึงกลายเป็นส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติ

นอกจากนี้ ชนกลุ่มน้อยนอกจากอาจโดนเหยียดและอยู่ร่วมสังคมได้ยากแล้ว ยังอาจต้องโดนกดขี่อย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด คุณลอร่า เปเรซ ดิอาซ (Laura Pérez Díaz) และ คุณเทนซิน ท็อปเดน (Tenzin Topdhen) เล่าถึงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานการต่อสู้ของชาวโดมินิกัน (Memorial Museum of the Dominican Resistance) และพิพิธภัณฑ์ทิเบต (The Tibet Museum) ล้วนเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ก่อตั้งโดยมีชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่เป็นหัวข้อสำคัญ

ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ทิเบต พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งโดยชาวทิเบตในปี 1998 เพื่อทำให้ทิเบตเป็นที่รู้จักมากขึ้น  ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงวัฒนธรรมทิเบต, ประวัติการถูกเนรเทศ, คำสอนและมรดกขององค์ทะไลลามะ เพื่อแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, การเมืองและความสำคัญระดับสากล วัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์ชนิดนี้คือการบันทึก, เก็บรักษา, วิจัย, จัดแสดง และให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเชื้อชาติของพวกเขา พร้อมเผยวิกฤตการณ์ที่ชนกลุ่มน้อยต้องเผชิญ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน, การทำลายสิ่งแวดล้อมและข้อจำกัดทางวัฒนธรรม  โดยหวังว่าพิพิธภัณฑ์จะแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ ประกาศคุณค่าของชีวิตและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ การกระทำ และการแสดงออก

สรุป

งานประชุมสามวันแสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อำนาจนิยมเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น  ทำให้บทบาทของพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญมากขึ้น นอกจากประเด็นเรื่องเสรีภาพและประชาธิปไตยแล้ว สิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยควรได้รับความสนใจเช่นกัน ควรพยายามขจัดการเหยียดและสร้างสังคมที่เท่าเทียมกัน แม้จะการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนยังมีอุปสรรคมากมาย ตราบใดที่พิพิธภัณฑ์ทั้งหลายสามัคคีและเดินหน้าไปด้วยความแน่วแน่ เมล็ดพันธุ์แห่งค่านิยมสากลจะงอกงามและเบ่งบานทั่วทุกมุมโลกตามกาลเวลา