พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชา: ทุ่นระเบิดหนึ่งลูก หนึ่งชีวิต
ผู้เขียน: บิล มอร์ส
บิล มอร์ส (Bill Morse)และจิล(Jill)ภรรยาอาศัยอยู่ในเมืองปาล์มสปริงส์ รัฐแคลิฟอร์เนียมากว่า 20 ปี ในปี ค.ศ. 2003 ทั้งสองคนได้ยินเรื่องราวของคุณอคิระ (Aki Ra)ที่คอยเก็บกู้ทุ่นระเบิดในประเทศกัมพูชาแล้วเกิดความประทับใจ จึงเกิดแรงบันดาลใจในการก่อตั้งมูลนิธิเก็บกู้ทุ่นระเบิด (Landmine Relief Fund)ตามข้อบัญญัติมูลนิธิเพื่อการกุศลสหรัฐอเมริกาข้อที่ 501(c)(3) มาสนับสนุนคุณอคิระ คุณมอร์สมักจะเดินทางไปประเทศกัมพูชาเพื่อช่วยเหลือคุณอคิระอยู่บ่อย ๆ เพราะคุณอคิระได้รับเลี้ยงเด็กอุปถัมภ์ไว้ 20 กว่าคน ในปี ค.ศ. 2007 รัฐบาลมีคำสั่งยุติงานกู้ทุ่นระเบิดของคุณอคิระ คู่สามีภรรยามอร์สจึงช่วยเหลือในการก่อตั้งองค์การนอกภาครัฐที่มีชื่อว่าองค์กรความช่วยเหลือกวาดล้างทุ่นระเบิดของชาวกัมพูชา (Cambodian Self Help Demining,CSHD)ขึ้น องค์กรนี้ต่อมายังได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลกัมพูชาในปี ค.ศ. 2008 ในปี ค.ศ. 2009 มอร์สและภรรยาได้ย้ายที่พำนักมายังประเทศกัมพูชาเพื่อช่วยงาน โดยมีคุณจิลเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและวางแผนให้กับองค์กร
พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชาและอคิระ
คุณอคิระเกิดในปี ค.ศ. 1970 เขาทำงานเก็บกู้ทุ่นระเบิดในกัมพูชามาอย่างยาวนาน ช่วยลดและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและอันตรายจากทุ่นระเบิดให้กับชาวบ้านได้มาก จนมีชื่อเสียงเลื่องลือ ตอนคุณอคิระอายุ 5 ขวบได้ถูกรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย (Khmer Rouge หรือเขมรแดง)พาตัวไป คุณอคิระได้ติดตามกองทัพต่าง ๆ กว่า 35 ปี ในช่วงต้นยุค 1990 คุณอคิระได้ร่วมมือกับสหประชาชาติเก็บกู้ทุ่นระเบิดบริเวณโดยรอบนครวัด และได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชา(Cambodia Landmine Museum)และศูนย์ให้ความช่วยเหลือในปี ค.ศ. 2007 ต่อมาในปี ค.ศ. 2008 ได้ก่อตั้งกลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิดอิสระกัมพูชา และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2023 เป็นต้นมาคุณอคิระได้ถอนตัวจากงานเก็บกู้ระเบิดด่านหน้าไปสู่งานหลังบ้าน ได้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการทำงานของพิพิธภัณฑ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับทุ่นระเบิดให้แก่ชาวกัมพูชา
พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชา: ทุ่นระเบิดหนึ่งลูก หนึ่งชีวิต
1. ห่าระเบิด: ความรุ่งโรจน์ของสงครามเวียดนามและเขมรแดง [1]
ในช่วงกลางยุค 1960 อเมริกายิงระเบิดใส่กัมพูชาเพราะสงครามเวียดนาม โดยมีจุดประสงค์เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของกองกำลังเวียดนามเหนือ เนื่องจากช่วงนั้นกองกำลังเวียดนามเหนือกำลังสร้างถนนเชื่อมไปยังประเทศลาวและกัมพูชาโดยตรง ทำให้ทหารและทรัพยากรสามารถส่งจากเวียดนามเหนือไปเวียดนามใต้ได้ง่าย ภายหลังปี ค.ศ. 1970 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานิกสันและที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ได้สั่งโจมตีพื้นที่ข้างต้นมากขึ้น ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1965 ถึง 1973 มีการโจมตีทางระเบิดมากกว่า 65,000 ครั้ง จำนวนลูกระเบิดที่โยนลงไปมีมากกว่า 3 ล้านตัน
การโจมตีระเบิดขนาดใหญ่นี้ได้สร้างความไม่มั่นคงแก่รัฐบาลกัมพูชาเป็นอย่างมาก ทำให้รัฐบาลกัมพูชาถูกโค่นล้มลงในปี ค.ศ. 1970 ในวันที่ 17 เมษายน ปี ค.ศ. 1975 เขมรแดงได้เข้ายึดกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา หลังจากรัฐบาลเขมรแดงขึ้นครองอำนาจก็ได้โหมกระพือแนวความคิดของเหมาเจ๋อตุง เรียกร้องให้ประเทศกัมพูชากลับไปสู่โครงสร้างสังคมเกษตรกรรมในอดีต และให้สัตย์สัญญาว่าจะกำจัดชนชั้นกลางและชนชั้นสูงให้หมดสิ้นจากแผ่นดินกัมพูชา
เขมรแดงได้อ้างว่าต้องการชำระล้างชาติพันธุ์ให้บริสุทธิ์และทำการเข่นฆ่าผู้คนไปกว่าสองล้านคน ชาวกัมพูชาที่หนีตายในช่วงนั้นได้หนีไปยังประเทศเวียดนาม และกลายเป็นกองกำลังสนับสนุนเวียดนาม ต่อมาในวันที่ 7 มกราคม ปี ค.ศ. 1979 ด้วยความช่วยเหลือของกองกำลังกัมพูชาลี้ภัยจึงสามารถโค่นล้มรัฐบาลเขมรแดงได้ การต่อสู้นี้กินเวลากว่า 20 ปี ในช่วงเวลาสงครามหนึ่งในอาวุธที่พบได้บ่อยที่สุดคือทุ่นระเบิดซึ่งได้ฝังลงดินไปกว่าล้านลูก แต่กลับไม่มีบันทึกที่ชัดเจนว่าถูกฝังไว้ที่ใดบ้าง
ช่วงปลายยุค 1990 พล โพปู้ ผู้นำเขมรแดงได้เสียชีวิตลง และความขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนานก็จบลงไปพร้อมกับลมหายใจของ พล โพปู้ ทหารเขมรแดงที่เหลือได้ยอมจำนนต่อกองทัพกัมพูชา แต่ทุ่นระเบิดที่ถูกฝังไปกว่าล้านลูกในสงครามยังคงเป็นภัยที่คุกคามความปลอดภัยของชาวกัมพูชาจนถึงปัจจุบัน
2.พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชา - จุดกำเนิด
พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชาก่อตั้งในช่วงต้นปี ค.ศ. 1990 โดยถ่ายทอดจากเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งที่ถูกบังคับให้ไปเป็นทหาร มาให้ความรู้เกี่ยวกับทุ่นระเบิดและบอกเล่าความน่ากลัวของทุ่นระเบิดที่ยังไม่ทำงาน เด็กชายคนนั้นก็คือคุณอคิระ คุณอคิระถูกเขมรแดงพรากจากครอบครัวตั้งแต่อายุ 5 ขวบเนื่องจากนโยบายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของรัฐบาลเขมรแดง ได้กลายเป็นทหารเด็กตอนอายุ 10 ขวบ ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1975 ถึง 1979 ที่รัฐบาลเขมรแดงปกครองกัมพูชา คุณอคิระได้ปฏิบัติภารกิจทหารภายใต้แนวคิดสังคมนิยมสุดโต่งของรัฐบาลเขมรแดง จนต่อมาตกเป็นเชลยและถูกบังคับให้เข้าร่วมกองทัพเวียดนาม ในปีค.ศ. 1989 หลังจากที่คนเวียดนามออกจากประเทศกัมพูชาแล้ว คุณอคิระก็กลับเข้าสู่กองทัพกัมพูชา ในช่วงต้นปีค.ศ. 1990 คุณอคิระเริ่มงานเก็บกู้ทุ่นระเบิด และพบว่าตัวเองเชี่ยวชาญงานด้านการกู้อาวุธอันตรายเหล่านี้ เพราะในอดีตตนเองก็เคยฝังทุ่นระเบิดเองเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาคุณอคิระจึงได้ทุ่มเทหาทุ่นระเบิดโดยร่วมมือกับชาวบ้านและตำรวจในพื้นที่ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้าง “การมีชีวิตที่ปลอดภัยของเพื่อนร่วมชาติ” ขึ้น
พิพิธภัณฑ์ที่คุณอคิระก่อตั้งในตอนแรกตั้งอยู่ริมแม่น้ำเสียมราฐในกรุงเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ก่อสร้างด้วยไม้ มีรั้วล้อมรอบ เมื่อคุณอคิระทราบว่าทุ่นระเบิดอยู่ตรงไหนก็จะมุ่งหน้าไปเก็บกู้ทันที แถมยังลงมือทำด้วยมือเปล่าอีกด้วย หรือการใช้เทคนิคพิเศษที่คุณอคิระคิดค้นไปจุดชนวนให้ระเบิดทำงาน แต่เนื่องจากคุณอคิระไม่มีใบอนุญาตจากทางการ ในบางครั้งจึงเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลท้องถิ่นบ้าง ในขณะนั้นไม่ได้มีเพียงคุณอคิระที่เก็บกู้ระเบิดในกรุงเสียมราฐ แถมยังมีข่าวคนกู้ระเบิดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตระหว่างกู้ระเบิดอยู่บ่อยครั้งด้วย
ระหว่างการเก็บกู้ทุ่นระเบิด คุณอคิระได้พบเด็กกำพร้าหลายคน เด็กที่ถูกทอดทิ้งและรวมถึงคนที่ได้รับบาดเจ็บจากทุ่นระเบิด คุณอคิระพาพวกเขากลับบ้าน แล้วมอบปัจจัยสี่และการศึกษาให้กับพวกเขา
ในปี ค.ศ. 2007 พิพิธภัณฑ์ได้ถูกสั่งปิดเพราะปัญหาสิทธิ์ที่ดิน และปัญหาความปลอดภัยของระเบิดและอาวุธที่คุณอคิระกู้กลับมาซึ่งไม่ได้รับการตรวจสอบจากทางรัฐบาลก่อน ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรแคนาดา พิพิธภัณฑ์จึงสามารถย้ายไปสร้างใหม่ที่บริเวณปราสาทบันทายศรีในเขตนครธม คุณอคิระได้รับอุปถัมภ์เด็กกำพร้าและเด็กที่ถูกทอดทิ้งไว้ 10 กว่าคน หนึ่งในนั้นเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2018 รัฐบาลเริ่มปราบปรามหน่วยงานรับเลี้ยงเด็กที่ไม่มีใบอนุญาต เด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในพิพิธภัณฑ์หากไม่ได้กลับไปหาครอบครัวของตนก็จะต้องถูกย้ายไปยังสถานที่รับเลี้ยงเด็กที่รัฐบาลอนุญาตเท่านั้น
3. .เริ่มเป็นระบบระเบียบ : พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชาและองค์กรพี่น้อง
ปี ค.ศ. 2003 มูลนิธิกู้ทุ่นระเบิดรีบให้ความช่วยเหลือ
หากคุณอคิระต้องการยื่นขอใบอนุญาตจากทางการ จำเป็นจะต้องก่อตั้งองค์การนอกภาครัฐและต้องได้รับการยอมรับจากรัฐบาลด้วย ในปี ค.ศ. 2003 คุณมอร์สนายทหารเกษียณจากกองทัพบกสหรัฐอเมริกาหลังได้รับรู้เรื่องราวของคุณอคิระ ว่าเมื่อก่อนเคยเป็นเป็นทหารเขมรแดง และมีความเชี่ยวชาญในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด คุณมอร์สและคุณจิลภรรยาจึงได้เดินทางไปยังกรุงเสียมราฐ เพื่อพบกับคุณอคิระและมีโอกาสทำความเข้าใจงานของคุณอคิระอย่างลึกซึ้ง หลังจากที่คู่สามีภรรยามอร์สได้พบคุณอคิระแล้ว ทั้งสองก็กลับไปก่อตั้งมูลนิธิกู้ทุ่นระเบิดเพื่อส่งแรงสนับสนุนงานกู้ทุ่นระเบิดของคุณอคิระ หน่วยงานนี้ถือเป็นมูลนิธิประเภท 501 (c) ของอเมริกา มีสาขาหลักที่เมืองปาล์มสปริงส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย

บิล มอร์สและจิล ภรรยา
ปี ค.ศ. 2008 เดินหน้าก่อตั้งองค์กรพี่น้องอย่างต่อเนื่อง กลุ่มกู้ทุ่นระเบิดอิสระกัมพูชา
หลังจากได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิเก็บกู้ทุ่นระเบิดกัมพูชาแล้ว คุณอคิระจึงยื่นขอใบอนุญาตกับรัฐบาลสำเร็จ สามารถทำงานภายใต้ระบบและก่อตั้งกลุ่มกู้ระเบิดได้ คุณอคิระยังมีโอกาสได้ร่วมฝึกอบรมการเก็บกู้ทุ่นระเบิดอย่างจริงจังที่ประเทศอังกฤษ จนได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาชีพว่ามีความสามารถในการเก็บกู้ระเบิดอย่างมืออาชีพ พร้อมทั้งเงินทุนที่มูลนิธิเก็บรวบรวมไว้ด้วยเหตุนี้จึงสามารถโน้มน้าวรัฐบาลกัมพูชาให้ยอมรับว่าคุณอคิระเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านมาตรฐานแล้ว หลังจากที่รัฐบาลออกใบอนุญาตให้แก่คุณอคิระแล้ว กลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิดกัมพูชาจึงได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปี ค.ศ. 2008 และในช่วงในปี ค.ศ. 2009 ถึง ค.ศ. 2023 คุณอคิระได้เป็นผู้รับผิดชอบองค์การนอกภาครัฐนี้ หลังจากเกษียณแล้วก็ยังทุ่มเทแรงกายแรงใจทำงานในพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิด
4. ไม่เพียงแต่กู้ทุ่นระเบิด ยังเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
ในกัมพูชามีทุ่นระเบิดถูกฝังไว้เต็มไปหมด และยังมีอาวุธระเบิดต่าง ๆ เช่น ลูกระเบิด ทุ่นระเบิด ลูกปืนใหญ่ ลูกปืนครก และอื่น ๆ ที่ยังไม่ทำงาน จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ระเบิดและทำให้ผู้คนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตโดยไม่แบ่งชายหญิงหรืออายุอยู่บ่อยครั้ง ในช่วงยุค 1990 จำนวนผู้เสียชีวิตจากทุ่นระเบิดสูงถึง 1000 คน ตลอดจนถึงปี ค.ศ. 2023 จำนวนผู้เสียชีวิตได้ลดลงเหลือน้อยกว่า 40 คน ซึ่งต้องขอบคุณงานเก็บกู้ทุ่นระเบิด ประกอบกับการให้ความรู้เกี่ยวกับทุ่นระเบิดจึงทำให้สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงได้มากขนาดนี้
ขั้นตอนที่ 1: พื้นที่กู้ทุ่นระเบิด
ปัจจุบันกลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิดอิสระกัมพูชายังมีกลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิดย่อยหนึ่งกลุ่ม กลุ่มจัดการวัตถุระเบิดสองกลุ่มและกลุ่มให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของวัตถุระเบิดอีกหนึ่งกลุ่ม ซึ่งกลุ่มให้ความรู้มีหน้าที่ให้ความรู้แก่คนท้องถิ่นให้รู้วิธีจำแนก จดบันทึก รายงานสิ่งของต้องสงสัยในหมู่บ้านหรือเปิดการเรียนการสอนในโรงเรียน จนถึงปัจจุบันกลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิดได้กู้ทุ่นระเบิดไปแล้วอย่างน้อย 250 พื้นที่ กินพื้นที่ประมาณเก้าล้านตารางเมตร สำหรับชาวบ้านหลายหมื่นคนแล้ว เรื่องราวเหล่านี้ให้รู้สึกถึงในที่สุดพื้นที่อันตรายที่อาจคร่าชีวิตได้ทุกเมื่อ ก็ได้กลับมาเป็นพื้นที่ที่สามารถเหยียบได้อย่างสบายใจได้เสียที
กลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิดอิสระกัมพูชาเริ่มกู้ทุ่นระเบิดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ส่วนมากจะทำงานในพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา เพราะในปี ค.ศ. 1965 ถึง 1973 อเมริกาได้โจมตีทางระเบิดในพื้นที่อย่างกว้างขวาง กองทัพเขมรแดงยังเคยขุดสนามเพลาะที่นี่ ดังนั้นพื้นที่นี้แทบจะไม่มีสิ่งก่อสร้างพลเรือนเลยจนกระทั่งปลายปี ค.ศ. 1990 หลังจากสงครามยุติลงจึงได้เริ่มมีการสร้างสิ่งก่อสร้างของพลเรือน ยกตัวอย่างเคสหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ผู้ใหญ่บ้านต่งถง (Dong Tong)เคยเชิญกลุ่มกู้ทุ่นระเบิดอิสระมาช่วยสร้างโรงเรียนไม้ในหมู่บ้าน และมีการเชิญหนึ่งในสองแม่บ้านที่อ่านออกเขียนได้มาเป็นครูสอนหนังสือ ทางกลุ่มใช้เวลาเกือบหนึ่งเดือนเพื่อสร้างโรงเรียนแบบง่าย ๆ ขึ้นมาจากไม้ที่หามาได้ พื้นอาคารเรียนยังคงเป็นดินโคลนอยู่ ส่วนอุปกรณ์เครื่องเขียนและเงินเดือนครูสมทบเล็กน้อยก็ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเก็บกู้ทุ่นระเบิด เมื่อผ่านไปหนึ่งปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ได้มีคำสั่งให้นำโรงเรียนไม้แห่งนี้เข้าสู่ระบบการศึกษา รวมถึงโรงเรียนที่สร้างด้วยไม้ที่อื่น ๆ ด้วย จากนั้นจัดให้ครูที่มีใบอนุญาตมาทำการเรียนการสอนแก่นักเรียน ทำให้นักเรียนสามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาของทางการได้
ขั้นตอนที่ 2: การศึกษาชนบท ก่อตั้งองค์การนอกภาครัฐพี่น้องขึ้นอีกองค์กรในปี ค.ศ. 2019 – องค์กรช่วยเหลือโรงเรียนชนบท
มูลนิธิเก็บกู้ทุ่นระเบิด ได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อสร้างโรงเรียนในชนบทมาเป็นเวลายาวนาน ในปี ค.ศ. 2018 ขอบเขตของแผนส่งเสริมการศึกษามีขนาดใหญ่พอที่จะก่อตั้งองค์การนอกภาครัฐแล้ว จึงได้จัดตั้งองค์กรแยกออกมาจากกลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิด ดังนั้นในปี ค.ศ. 2019 จึงเริ่มก่อตั้งองค์กรช่วยเหลือโรงเรียนชนบท ((Rural School Support Organization,RSSO)ขึ้น จนถึงเดือนเมษายนของปี ค.ศ. 2024 องค์กรนี้ได้ทำการเปิด 32 โรงเรียนใน 7 จังหวัด ได้ให้การศึกษาแก่นักเรียนประถมกว่า 4,000 คน และยังช่วยวางแผนสร้างโรงเรียนในหลาย ๆ หมู่บ้าน จนทางหมู่บ้านได้รับใบอนุญาตในการเปิดโรงเรียนแล้ว จึงใช้เงินทุนของมูลนิธิเก็บกู้ทุ่นระเบิดสร้างอาคารเรียน ซื้อโต๊ะเก้าอี้ กระดานดำและหนังสือเรียน ซื้อเครื่องเขียนให้นักเรียนทุกคน เพียงสร้างอาคารเรียน 4 ห้องพร้อมอุปกรณ์การเรียนการสอนแบบครบครันก็ต้องใช้เงินกว่าสามหมื่นดอลล่าร์สหรัฐ
ในปี ค.ศ. 2019 องค์กรนี้ได้เสนอแผนช่วยเหลือที่ชื่อ “The Together Project” ใช้พื้นที่เกษตรในโรงเรียนสอนชาวบ้านปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ปลูกโดยใช้ระบบไฮโดรโพนิก ปลูกในเรือนกระจก เรือนเพาะเห็ด และอื่น ๆ การเรียนรู้เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากมูลนิธิเก็บกู้ทุ่นระเบิดจึงสามารถเปิดสอนได้ฟรี และผู้ที่เสนอแผนนี้เป็นคนที่เติบโตมากับพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดในเวลานั้น ต่อมาได้จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรกรรมหลวง ปัจจุบันเป็นผู้รับผิดชอบแผนงานดังกล่าวอยู่
5.สถานการณ์ปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชา
ภายในพิพิธภัณฑ์มีบ่อน้ำ รอบบ่อน้ำมีอาคารจัดแสดงล้อมรอบ กลางบ่อน้ำมีศาลาพักร้อนที่สร้างด้วยกระจกตั้งอยู่ ข้างในจัดแสดงทุ่นระเบิดจากรัสเซีย จีน อเมริกา เยอรมันตะวันออก เวียดนาม กัมพูชา โซเวียด และอื่น ๆ ทั้งหมดเป็นทุ่นระเบิดที่คุณอคิระและกลุ่มเก็บกู้ทุ่นระเบิดไปเก็บกู้มา
ทุ่นระเบิดที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
ทุ่นระเบิดที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้เข้ามาเยี่ยมเยียนอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งถือเป็นความท้าทายของพิพิธภัณฑ์ เพราะหากต้องการบอกเล่าเรื่องราวใด ๆ ไม่ว่าจะบอกกล่าวผ่านกี่ภาษาก็อาจยังไม่ครอบคลุม ดังนั้นแรกเริ่มทางพิพิธภัณฑ์ได้เตรียมเอกสารแนะนำทั้งหมด 7 ภาษา ปัจจุบันทุกห้องจัดแสดงจะมีคิวอาร์โค้ดที่สามารถสแกนอ่านคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี ภาษาสเปนและภาษารัสเซีย และยังมีไกด์ที่สามารถพาเที่ยวชมแนะนำความขัดแย้งที่เกิดภายในประเทศกัมพูชา สถานการณ์การใช้ทุ่นระเบิด วัตถุระเบิด รวมถึงวัตถุระเบิดอื่น ๆในยุคสงครามและผลกระทบเชิงลบระยะยาวต่อคนในท้องถิ่นผ่านการบรรยายด้วยภาษากัมพูชาและภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ เนื้อหาการบรรยายแก่ชาวกัมพูชาเอง และชาวต่างชาติจะมีความแตกต่างกัน หากเป็นชาวต่างชาติจะบรรยายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทุ่นระเบิดกัมพูชาและขั้นตอนการเก็บกู้ทุ่นระเบิด แต่สำหรับชาวกัมพูชาเองจะบรรยายเกี่ยวกับความเสี่ยงของทุ่นระเบิด แจ้งเตือนหากชาวบ้านไปยังเขตชนบทต้องระวังอะไรบ้าง จะจำแนกความเสี่ยงต่าง ๆ ต้องทำการบันทึกและรายงานทุ่นระเบิดอย่างไร
6. ความท้าทายและอนาคตของพิพิธภัณฑ์
เป้าหมายของประเทศกัมพูชาคือการเก็บกู้ทุ่นระเบิดในพื้นที่ที่ทางการทราบทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030 หลังจากนั้นต้องการลดจำนวนทุ่นระเบิดที่ยังไม่เกิดการระเบิดทั่วประเทศให้อยู่ที่หลักแสนถึงหลักล้านแห่ง จนถึงปัจจุบันยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังเก็บกู้ทุ่นระเบิดที่ยังไม่ระเบิดจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี ค.ศ. 1918 และงานเก็บกู้ทุ่นระเบิดนี้กินเวลานานหลายปี
สงครามภายในประเทศกัมพูชาสิ้นสุดลงในปลายปี ค.ศ. 1990 คนที่เติบโตผ่านช่วงเวลานั้นจนถึงปัจจุบันก็ยังมีอาการโรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนจิตใจอยู่ ประเทศกัมพูชาไม่เคยประกาศสงครามกับใคร แต่กลับถูกดึงไปเกี่ยวข้องกับสงครามอเมริกากับเวียดนาม ทำให้ชาวกัมพูชาต้องได้รับผลกระทบจากสงครามเป็นเวลานานกว่า 35 ปี ดังนั้นบาดแผลที่ฝังลึกภายในจิตใจนี้หากไม่ได้รับการเยียวยาจากมืออาชีพก็ยากที่จะฟื้นคืนเป็นปกติได้
พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชาได้นำเสนอบทเรียนราคาแพงโดยหวังว่าผู้คนจะเข้าใจผลกระทบที่ร้ายแรงจากสงครามที่มีต่อเด็ก รวมถึงผลกระทบของทุ่นระเบิดที่มีต่อเด็กก็เช่นกัน การที่เด็กหนึ่งคนได้รับผลกระทบแบบนี้ หากผู้ชมลองเอาผลกระทบนี้คูณไปอีกล้านเท่า ก็จะสามารถจินตนาการได้ถึงสถาณการเมื่อ 60 ปีก่อนที่กัมพูชาต้องเผชิญ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เรียบง่าย ก่อตั้งโดยคนเพียงคนเดียว โดยบอกเล่าเรื่องราวส่วนตัวของคนคนนั้น และส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวนำเรื่องราวนี้กลับบ้านโดยทางพิพิธภัณฑ์หวังว่าจะได้ไม่ต้องมีประเทศไหนใช้ทุ่นระเบิดอีก พิพิธภัณฑ์นี้บริหารจัดการและดำรงอยู่ได้เพราะเงินบริจาคและตั๋วค่าเข้า ไม่มีเงินสนับสนุนจากรัฐบาลหรือมูลนิธิขนาดใหญ่มาสนับสนุนแต่อย่างใด แต่เพราะความเรียบง่ายนี้จึงทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมและเข้าถึงได้ง่าย
หลังรัฐบาลกัมพูชาอนุญาตให้ก่อตั้งของพิพิธภัณฑ์นี้แล้ว ต่อมาการทำงานร่วมมือกับกลุ่มกู้ทุ่นระเบิดภายในประเทศเป็นไปอย่างใกล้ชิดมากขึ้น คุณอคิระได้รับคำชมเชยจากองค์กรนานาชาติมากมายจากความพยายามที่ไม่ย่อท้อ ในปี ค.ศ. 2010 คุณอคิระได้รับเลือกให้เป็นฮีโร่ประจำปีของ CNN สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ของอเมริกา ในปีนั้นมีผู้ที่มีผลงานโดดเด่นได้รับการเสนอชื่อนับหมื่นคน แต่คุณอคิระได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในสิบคนสุดท้าย ในปี ค.ศ. 2012 คุณอคิระยังได้ได้รับรางวัลสันติภาพมันแฮของประเทศเกาหลีใต้ (Manhae Grand Prize for Peace in South Korea)
มีคนเคยถามผมว่าผมเป็นคนกัมพูชาหรือไม่ (เพราะคุณมอร์สผู้เขียนบทความนี้มีสายเลือดยุโรป) คำตอบของผมก็คือผมก็เป็นคนอเมริกัน คนเยอรมัน คนจีน คนออสเตรเลีย คนรัสเซีย ในเวลาเดียวกัน ผมก็คือลูกของดาวดวงนี้ ผมได้ถามกลับไปยังนักเรียนคนนั้นว่าเห็นด้วยกับคำตอบของผมหรือไม่ นักเรียนคนนั้นตอบว่าเห็นด้วย ผมบอกกับนักเรียนคนนั้นว่าเธอก็เป็นเหมือนน้องสาวของผม เธอเองก็สามารถมองผมเป็นพี่ชายได้ หากพี่น้องของคุณล้มลง คุณก็จะยื่นมือไปประคองโดยอัตโนมัติ พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดกัมพูชาของพวกเราก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน
เขมรแดงได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบเหมาเจ๋อตุง เรียกร้องสังคมนิยมเกษตรกรรม หัวรุนแรงสุดโต่ง ใช้ระบบพรรคเดี่ยว ต่อต้านความทันสมัยและความคิดตะวันตก และยึดทรัพยส์ ินส่วนบุคคลท้งัหมด “จุดก าเนิดเขมรแดง” พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อเมริกา