:::

จากการไม่แสดงออกสู่การบอกเล่าอย่างกระตือรือร้น: ข้อสังเกตและการสะท้อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนาออนไลน์เรื่องสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศศึกษา ระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาคม 2021

ข้อมูลผู้เขียน: หยวน ซวี่ เหวิน

ซวี่ เหวิน (Emily)เป็นผู้ช่วยนักวิจัยฝ่ายส่งเสริมการศึกษาพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน เธอมุ่งวิจัยสังคมไต้หวันด้านการยอมรับผู้ย้ายถิ่น และการเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ ในปี 2015 เธอได้รับมอบหมายให้เป็นภัณฑารักษ์นำชมเนื้อหาเกี่ยวกับการย้ายถิ่นภายในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงบริการนำชมหลายภาษา โดยมีภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนเป็นหลัก ทั้งยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์กับชุมชนย้ายถิ่น ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา พิพิธภัณฑ์ และชุมชนย้ายถิ่นชาวเอเชียตะวันเฉียงใต้ได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ตราบจนกระทั่งวันนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมจัดเทศกาลงานศิลป์ นิทรรศการ กิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายครั้ง พร้อมอธิบายศิลปวัตถุของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แนะนำหน่วยงาน

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันก่อตั้งเมื่อปี 1908 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดในไต้หวัน สถาปัตยกรรมทั้งหมดสร้างเสร็จในปี 1915 ณ สถานที่ตั้งปัจจุบัน ตลอดหนึ่งศตวรรษกว่าที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่หน้าสถานีรถไฟไทเปอย่างมั่นคง ด้วยความหลากหลายของศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์ และทำเลที่ตั้งที่มีเอกลักษณ์ ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ที่ขาดไม่ได้ของกรุงไทเป โดยศิลปวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์มุ่งเน้นในหัวข้อมานุษยวิทยา  ธรณีวิทยา  สัตววิทยา พฤษศาสตร์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม กว่า10ปีที่ผ่านมานี้ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันได้เพิ่มหัวข้อด้านความเท่าเทียมทางด้านสิทธิทางวัฒนธรรม และความหลากหลายในการมีส่วนร่วม สนองรับการย้ายถิ่นฐานซึ่งเป็นกระแสสังคมล่าสุด พิพิธภัณฑ์ได้จัดนิทรรศการในหัวข้อต่างๆ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อสิ่งพิมพ์ และโครงการข้ามวัฒนธรรมระหว่างประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างองค์ความรู้แก่มวลชนจากต่างวัฒนธรรม


บทนำ

พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวัน (NHRM) เป็นสถานที่รำลึกสำคัญ เพื่อเตือนให้ประชาชนไต้หวันระลึกถึงยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัวสีขาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในไต้หวันเป็นอย่างมาก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนประเด็นสิทธิมนุษยชน เผยแพร่แนวคิดสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมค่านิยมสากลทางด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อธำรงไว้ซึ่งประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนของไต้หวัน

หลังจากที่สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ(FIHRM) ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญภายใต้การกำกับดูแลของสภาการพิพิธภัณฑ์นานาชาติ(ICOM)ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และผู้เชี่ยวชาญได้ยอมรับ และสนับสนุน พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวันได้กลายเป็นสาขาหนึ่งของสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก (FIHRM-AP)

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติไต้หวัน และสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิกมีพันธกิจใหม่คือการรวมประเด็นสิทธิมนุษยชนภายในประเทศเข้าในบริบทการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทั้งสองหน่วยงานนี้ได้ใช้วิธีสร้างเครือข่ายเพื่อสนองรับประเด็นสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมาโดยตลอด ทั้งยังเป็นแพลตฟอร์ม หรือสะพานเชื่อมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างรัฐบาล องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร พิพิธภัณฑ์ และชุมชนผู้ย้ายถิ่นในไต้หวัน สัมมนาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรมีโอกาสมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเผชิญหน้ากัน ทบทวนประเด็นและจับมือกันจัดการกับประเด็นผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศ และสิทธิมนุษยชนในไต้หวัน

ที่มา และวัตถุประสงค์ของการสัมมนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ

กระแสการเคลื่อนย้ายถิ่นระหว่างประเทศโดยมีเมืองใหญ่เป็นจุดหมายปลายทางนั้น นำมาซึ่งประเด็นที่หลากหลาย และได้กลายเป็นความท้าทายที่พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยกำลังเผชิญอยู่ สิ่งแรกที่สัมมนานี้ต้องการให้ความสำคัญคือ พิพิธภัณฑ์จะหารือแบบข้ามวัฒนธรรม เพื่อต้อนรับผู้ย้ายถิ่น พร้อมทำลายภาพเหมารวม การเลือกปฏิบัติ และความเกลียดกลัวต่างชาติทางความคิดได้อย่างไร นอกจากนี้ สัมมนานี้ยังพูดคุยถึงเรื่องพิพิธภัณฑ์จะสร้างคลังข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น การรักษาสถานที่กับวัตถุโบราณ พร้อมทั้งสะสมของใช้ส่วนบุคคล เรื่องเล่าต่างๆ และความทรงจำร่วมของผู้ย้ายถิ่นได้อย่างไร การสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างลึกซึ้งตลอดระยะเวลา 3 วันเต็ม ๆ ผู้บรรยายจากไต้หวัน ออสเตรเลีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา บังคลาเทศ ทูโป (ทิเบต) และซูดานใต้ ได้แบ่งปันมุมมอง และประสบการณ์เกี่ยวกับกระแสการเคลื่อนย้ายทั่วโลก และประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ทำให้ในเชิงปฏิบัติ เชิงทฤษฎี และประสบการณ์ที่มีพิพิธภัณฑ์วิทยาเป็นพื้นฐานนั้นมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

วันที่ 20 ตุลาคม หัวข้อสัมมนา : เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ผู้ย้ายถิ่น และความยุติธรรมของสังคม

กลุ่มที่ 1: แผนงานการพูดคุย และเจรจาระหว่างพิพิธภัณฑ์กับชุมชนผู้ย้ายถิ่น (แรงงาน) และประชาชน

โรฮินี แคปปาดาท(Rohini Kappadath) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ผู้ย้ายถิ่นในเครือกลุ่มหอศิลป์แห่งชาติวิกตอเรียออสเตรเลียได้นำเสนอวิธีการดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานให้พิพิธภัณฑ์ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

 

●        ให้ความสำคัญกับบทบาทใหม่ของพิพิธภัณฑ์

●        ทบทวนนโยบายพิพิธภัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

●        ถามตนเองอยู่เสมอว่า เราได้รับฟังเสียงในใจของชุมชนผู้ย้ายถิ่นที่จะร่วมมือกับเราในอนาคตแล้วหรือยัง

 

ด้วยประสบการณ์ทำงานในพิพิธภัณฑ์ผู้ย้ายถิ่นในออสเตรเลียหลายปี โรฮินีได้แบ่งปันวิธีการทำงานที่หลากหลาย

ผู้บรรยายสองท่านในลำดับต่อไปคือคุณหยวน ซวี่ เหวิน (袁緒文) และคุณหลี่อิ้งเซวียน(李映萱) จากไต้หวัน ทั้งสองได้แบ่งปันนโยบายช่วงนี้ของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน และพิพิภัณฑ์แรงงานนครเกาสง

แรงงานย้ายถิ่นกลุ่มแรกมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้ามายังไต้หวันในช่วงปี 1990 จนถึงปี 2021 ไต้หวันมีแรงงานย้ายถิ่นจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 7 แสนคน และมีผู้ย้ายถิ่นกว่า 3 แสนคน แรงงานย้ายถิ่นที่มาไต้หวันนั้นได้ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในไต้หวันด้านโครงสร้างพื้นฐาน การประมงทะเลน้ำลึก อุตสาหกรรมการผลิต และหน้าที่ผู้ดูแลผู้สูงวัยในบ้าน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไต้หวันส่วนมากเป็นผู้ย้ายถิ่นจากการสมรส และได้กลายเป็นแหล่งที่มาของแรงงานพื้นฐาน และองค์ประกอบของครอบครัวในไต้หวัน อย่างไรก็ตาม การดูถูกดูแคลนผู้ย้ายถิ่นชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หยั่งรากลึกในความคิดของสังคมไต้หวัน อุปสรรคเชิงวัฒนธรรม และภาษา ภาพเหมารวม และอคติทำให้เกิดความเข้าใจผิด และการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมกับแรงงานย้ายถิ่น และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ (คู่สมรสต่างชาติ) ในไต้หวันอย่างต่อเนื่อง

พิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไต้หวันคือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงไทเป ในปี 2015 ได้มี “บริการหลายภาษา” และรับสมัครผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นภัณฑารักษ์นำชมพิพิธภัณฑ์ ทำให้พวกเขาสามารถมอบประสบการณ์ในพิพิธภัณฑ์ให้กับคนชาติเดียวกันโดยไร้อุปสรรคด้านภาษา (รูปที่ 1 ) นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันยังได้เป็นฝ่ายเข้าหาชุมชนแรงงานย้ายถิ่น ร่วมกันจัดเทศกาลวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยให้สมาชิกชุมชนดังกล่าวบริหารจัดการแผนงาน และออกแบบเนื้อหารายการเองได้ (รูปที่ 2) ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ และแรงงานย้ายถิ่นสามารถแสดงความงดงามของวัฒนธรรมตนเองได้อย่างอิสระ

รูปที่1 ภาพผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามเป็นภัณฑารักษ์นำชมพิพิธภัณฑ์ แนะนำสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันให้กับนักเรียนชาวเวียดนาม

รูปที่1 ภาพผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามเป็นภัณฑารักษ์นำชมพิพิธภัณฑ์ แนะนำสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันให้กับนักเรียนชาวเวียดนาม

รูปที่ 2 แรงงานย้ายถิ่นชาวอินโดนีเซียได้แสดงระบำคะชัก (Kecak Dance) ซึ่งเป็นระบำดั้งเดิมของบาหลีที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน คุณฟายา นูราดิ (Fajar Nuradi แถวหน้าตรงกลาง) ผู้อำนวยการฝ่ายคุ้มครองพลเมือง และสังคมวัฒนธรรม สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจอินโดนีเซีย (ไทเป) จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ทุกครั้ง

รูปที่ 2 แรงงานย้ายถิ่นชาวอินโดนีเซียได้แสดงระบำคะชัก (Kecak Dance) ซึ่งเป็นระบำดั้งเดิมของบาหลีที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน คุณฟายา นูราดิ (Fajar Nuradi แถวหน้าตรงกลาง) ผู้อำนวยการฝ่ายคุ้มครองพลเมือง และสังคมวัฒนธรรม สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจอินโดนีเซีย (ไทเป) จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ทุกครั้ง

การจัดตั้งพิพิภัณฑ์แรงงานนครเกาสง (พิพิธภัณฑ์แรงงานฯ) ช่วงแรกๆ มีแรงงานไต้หวันเป็นหัวข้อหลัก ตอนนี้ได้ขยายขอบเขตรวมถึงแรงงานย้ายถิ่น ที่ผ่านมาพิพิธภัณฑ์แรงงาน ฯ ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับแรงงานย้ายถิ่น โดยผ่านมุมมองที่หลากหลาย แรงงานย้ายถิ่นในพื้นที่ก็ได้มีส่วนร่วมวางแผนจัดนิทรรศการด้วย เพื่อให้แรงงานย้ายถิ่นสามารถเสนอแนะมุมมองของตนเองได้ ความร่วมมือเช่นนี้ทำให้แรงงานย้ายถิ่นสามารถเป็นผู้เล่าเรื่องและนำเสนอวัฒนธรรมของตนในพิพิธภัณฑ์ภาครัฐได้อย่างเต็มที่ และไม่ถูกภาครัฐแทรกแซง พิพิธภัณฑ์ในฐานะองค์กรของภาครัฐ และสถานศึกษาควรรักษาความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมทั้งท้าทายประเด็นที่สังคมไม่ควรเพิกเฉย

กลุ่มที่ 2: ผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศ: การยอมรับ และความเกลียดกลัวชาวต่างชาติในประวัติศาสตร์ผู้ย้ายถิ่น

ในงานกลุ่มนี้ อาจารย์เฉิน เจีย ลี่ (陳佳利) ผู้ทำงานด้านความเท่าเทียมด้านสิทธิทางวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์เป็นผู้ดำเนินรายการ เธอได้กล่าวเปิดประชุมผ่านมุมมองเชิงวิพากษ์วิจารณ์ “ประวัติศาสตร์ของผู้ย้ายถิ่นเต็มไปด้วยนัยยะทางการเมือง” อาจารย์เฉินกล่าว

 ข้อเรียกร้อง และหัวข้อหลักของกลุ่มนี้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์จะสร้างพลังใหม่ให้แก่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้อย่างไร พร้อมแก้ไขภาพเหมารวมและอคติทางสังคมได้ในเวลาเดียวกัน เนื้อหาต่อไปนี้เป็นบทคัดย่อทั้ง3มุมมองของผู้บรรยาย

ในอดีต ผู้บันทึกประวัติศาสตร์ผู้ย้ายถิ่น มักจะไม่ได้ถูกบันทึกโดยตัวผู้ย้ายถิ่นเอง แต่ในครั้งนี้พวกเขาสามารถทำได้ด้วยตัวเองแล้ว

ในกลุ่มนี้ ผู้บรรยายคนแรก คือ คุณแอกเนส อาร์เกซ โรธ(Agnès Arquez Roth) จากปารีส เธอได้แนะนำวิธีที่ตนเองได้หา “พื้นที่ที่เหมาะสม” ให้กับแผนงาน จากนั้น เธอพยายามใช้แผนงานดังกล่าวสะท้อนประเด็นผู้ย้ายถิ่นร่วมสมัยในฝรั่งเศส หากมองว่ายุโรปเป็นดินแดนไร้พรมแดน ผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากมาที่ยุโรปในต่างยุคต่างสมัย ต่างคนต่างมีบริบทที่ซับซ้อนแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสมีนโยบายหลักในการจัดการประเด็นผู้ย้ายถิ่น โดยการมองว่าผู้ย้ายถิ่นไม่ได้เป็นกลุ่มคนที่หลากหลาย และแปลกแยก นโยบายสำหรับการย้ายถิ่นฐานของประเทศฝรั่งเศสนั้น ทางรัฐบาลยึดวัฒนธรรมเดียวเป็นหลักเสมอมา โดยไม่สนใจถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่จากความพยายามของโรส และเพื่อนร่วมงาน  พวกเขาได้เชิญชุมชนผู้ย้ายถิ่นมามีส่วนร่วมกับพิพิธภัณฑ์ ใช้วิธีการที่แปลกใหม่ในการรวบรวมชุมชนผู้ย้ายถิ่นเข้าด้วย และบันทึกคนกลุ่มนี้ลงในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส แม้ว่าจะเต็มไปด้วยความท้าทาย แต่นี่คือวิธีการที่จำเป็น และมีประสิทธิภาพมากกว่าในการเข้าถึง และเชื่อมโยงกับชุมชนผู้ย้ายถิ่น ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ย้ายถิ่นได้มีส่วนร่วม ยังทำให้เจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์สามารถใช้รูปแบบใหม่ในการพูดคุยกับผู้ย้ายถิ่น  

ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของผู้ย้ายถิ่นควรได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้ย้ายถิ่นก็จะมี “พื้นที่” บอกเล่าประวัติศาสตร์ของตนเอง

การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมของผู้ย้ายถิ่นควรมีความท้าทาย สามารถปรึกษาหารือ และแก้ไขภาพเหมารวมกับอคติที่มีต่อผู้ย้ายถิ่นในแต่ละยุคสมัย เพื่อทำให้เป็นที่ประจักษ์ และมีการกล่าวถึงเป็นวงกว้างมากขึ้น

คุณเอ็ด เทปพอร์น (Ed Tepporn)ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ผู้อพยพเกาะแองเจิล ได้แนะนำประวัติศาสตร์พลัดถิ่นของผู้ย้ายถิ่นชาวสหรัฐเชื้อสายจีน และเชื้อสายเอเชียว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา  ไม่ว่าจะเป็นสังคมท้องถิ่นหรือนโยบายรัฐบาลสหรัฐต่างไม่ได้ให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมกันกับชุมชนผู้ย้ายถิ่นเชื้อสายเอเชีย ในปี 2020 เมื่อโรคโควิด-19 ระบาดในสหรัฐอเมริกา ผู้ย้ายถิ่นเชื้อสายเอเชียตกเป็นเป้าหมายของการกระทำทางอาชญากรรมด้วยความโกรธแค้นเกลียดชัง เทปพอร์น ยังได้เปิดเผยอีกว่า ในช่วงแรกๆ ผู้ย้ายถิ่นเชื้อสายเอเชียถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเกาะแองเจิล ผู้ย้ายถิ่นชาวยุโรปได้ขึ้นฝั่งตะวันออกสหรัฐอเมริกาด้วยความกระตือรือร้น และความหวัง ในขณะที่ผู้ย้ายถิ่นจากทวีปเอเชีย และหมู่เกาะแปซิฟิกที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเกาะแองเจิลสู่ฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกานั้นกลับได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม ซึ่งแตกต่างกับผู้ย้ายถิ่นชาวยุโรป พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เก็บรักษาภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมของพื้นที่ดังกล่าว เพื่อแสดงถึงความทุกข์ทรมาน และความยากลำบากที่ผู้ย้ายถิ่นเชื้อสายเอเชียได้เผชิญ และได้ทำให้เรื่องราวดังกล่าวกลายเป็นการบอกเล่าส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย เจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ และผู้กำหนดนโยบายควรสนับสนุนให้ผู้ย้ายถิ่นมีส่วนร่วมในการบอกเล่าเรื่องราวของตนกับพิพิธภัณฑ์ให้มากขึ้น

คล้ายกับที่คุณอู๋ เจีย หนี (吳佳霓) หัวหน้าฝ่ายการบริการสาธารณะ และการศึกษาพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ไต้หวันแห่งชาติได้กล่าวไว้ว่า พวกเขาควรที่จะสร้างพันธมิตร และเครือข่ายแลกเปลี่ยนกับชุมชนผู้ย้ายถิ่น และนี่ก็ได้กลายเป็นหัวข้อหลักของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัย ในประวัติศาสตร์ไต้หวันมีกระแสผู้ย้ายถิ่นหลายระลอก ซึ่งได้แสดงถึงสิ่งที่ผู้ย้ายถิ่นได้ประสบในหลากหลายแง่มุม เนื้อหานิทรรศการพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ไต้หวันในระยะแรกได้เน้นไปที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ แต่ไม่ใช่ผู้ย้ายถิ่นรายบุคคล หลายปีผ่านไป เนื้อหานิทรรศการได้ให้ความสำคัญกับเรื่องราวส่วนบุคคลมากขึ้น หัวหน้าอู๋ได้ชี้ว่า การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์ และชุมชนผู้ย้ายถิ่นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หากจะร่วมมือ หรือรวบรวมชุมชนผู้ย้ายถิ่นเข้าด้วย การสร้างความเชื่อมั่นเป็นเงื่อนไขประการแรกของทุกกิจกรรม

หลังจากการแบ่งปันประสบการณ์ของไต้หวัน สิ่งที่ผู้ลี้ภัยทูโปอินเดีย (ทิเบต) ได้ประสบนั้นทำให้บรรยากาศตึงเครียดขึ้นมาทันที คุณจาฮีบิงโจ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทูโป(ทิเบต) เมืองธรัมศาลาอินเดียได้บอกเล่าประวัติศาสตร์พลัดถิ่น สาเหตุ และความท้าทายของชาวทูโป (ทิเบต) เป็นเรื่องที่น่าเศร้าโศกอย่างยิ่ง เขาได้เล่าตั้งแต่ช่วงเกิดสงครามภายในระยะเวลา 10 ปีระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งก็คือตั้งแต่ปี 1959 ณ เวลานั้นประชาชนชาวทูโป (ทิเบต) ได้ติดตามตามองค์ทะไลลามะพระองค์ที่ 14 อพยพออกจากทิเบต การอพยพครั้งนี้ดำเนินจนถึงทุกวันนี้ ผู้อำนวยการจาฮีบิงโจได้ใช้วิธีการเปรียบเทียบเพื่ออธิบายเส้นทางอพยพสามสายผ่านสามประเทศ นโยบายของอินเดีย ภูฏาน และเนปาล รัฐบาลอินเดียมี “นโยบายฟื้นฟูชาวทิเบตที่อพยพ” เท่ากับว่ารัฐบาลอินเดียระดับรัฐได้มีการกำหนดแนวทางมาตรฐานในการคุ้มครองชาวทิเบต ปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของชาวทิเบต เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ในปี 2019 เนปาลได้ลงนามข้อตกลงกับประเทศจีน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของชาวทิเบตที่พำนักอยู่ในดินแดนเนปาลอาจจะถูกจับกุมส่งกลับประเทศจีน พิพิธภัณฑ์ทูโป(ทิเบต) ได้เก็บรักษาประวัติศาสตร์ และบอกเล่าถึงความยากลำบากในการอพยพของชาวทิเบต พร้อมนำเสนอนโยบายที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้

หัวข้อสัมมนาวันที่ 21 ตุลาคม : GITJR(ข้อริเริ่มความยุติธรรม ความจริง และการประนีประนอมทั่วโลก) และสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่น

กลุ่มที่ 1 ความจริง ความทรงจำ และความยุติธรรม

ในหัวข้อนี้ คุณบราเดน เพนเตอร์ (Braden Paynter) ผู้อำนวยการระเบียบวิธีวิจัย และการปฏิบัติแนวร่วมโบราณสถานเชิงความสำนึกระหว่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้บรรยายมาจากสหรัฐอเมริกา แอฟริกาตะวันออก และไต้หวัน พวกเขาได้แบ่งปันความจริง และข้อเท็จจริงของเหตุการณ์กระทำผิดมนุษยธรรมและวิธีการปฏิบัติในชีวิตจริง

หนึ่งในความยากลำบากคือขั้นตอนเก็บรวบรวมหลักฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้เสียหายจำเป็นจะต้องหวนนึกถึงประสบการณ์ที่ถูกทำร้าย ดังนั้น เงื่อนไขแรกคือต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นส่วนตัว และปลอดภัย พร้อมสร้างความไว้วางใจ ให้ผู้เสียหายสามารถบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองได้อย่างแท้จริงโดยไม่รู้สึกอับอาย หรือรู้สึกหวาดระแวง หลังจากผู้เสียหายรู้สึกปลอดภัยแล้ว เจ้าหน้าที่ต้องกำลังใจผู้เสียหายเพื่อให้พวกเขากล้าบอกเล่าเรื่องราวเพื่อตัวเขาเอง ตลอดระยะเวลาขั้นตอนการทำงานนั้น นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่ในสถานสงเคราะห์จะต้องให้การสนับสนุนและช่วยเหลือผู้เสียหายให้เกิดความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มที่ 2 : ระบบความคุ้มครอง เยียวยารักษา และสนับสนุนผู้ย้ายถิ่น

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และช่วงปี 90  เพื่อรับมือกับสงครามข้อพิพาทในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และสงครามภายในประเทศ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรท้องถิ่น และระหว่างประเทศที่สนับสนุนชนกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัยและกลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
คุณโมฟิดุล โฮค (Mofidul Hoque) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และความยุติธรรมพิพิธภัณฑ์สงครามเพื่ออิสระภาพบังกลาเทศได้กล่าวว่า หลังจากมีการรายงาน และการจัดนิทรรศการ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และวิกฤตผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเป็นที่จับตามองของทั่วโลก เขาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักว่าวิกฤตโรฮิงญาเป็นปัญหาระดับโลก และปัญหาระดับโลกต้องการแก้ไขโดยการปฏิบัติอย่างพร้อมเพรียงของทั่วโลก หากประชาคมโลกไม่สามารถแทรกแซงข้อพิพาทของภูมิภาคอย่างประเด็นโรฮิงญาได้ อย่างน้อยประเทศใกล้เคียงควรให้ความช่วยเหลือ และมีมาตรการรับมือที่รวดเร็ว เพื่อไม่ให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง นักวิชาการ และนักปฏิรูปควรวิจัยและรายงานให้มากขึ้น เพื่อให้ประชาคมโลกเข้าใจสถานการณ์มากกว่าเดิม จากนั้น ควรร่วมมือกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนรวดเร็วและทันท่วงที เพื่อไม่ให้ชนกลุ่มน้อยในพม่าถูกกดขี่ทำร้าย

ต่อจากผู้อำนวยการโฮค ผู้บรรยายอีก 2 ท่านล้วนมาจากไต้หวัน คือคุณหลี ข่าย ลี่ (李凱莉) ผู้อำนวยการศูนย์บริการผู้ย้ายถิ่นมูลนิธิลี่ชิน และคุณเฉินซิ่วเหลียน(陳秀蓮) นักวิจัยสมาคมแรงงานนานาชาติไต้หวัน (TIWA) ทั้งสองหน่วยงานนี้เป็นที่พักพิง และสนับสนุนแรงงานย้ายถิ่นในไต้หวัน ทั้งยังให้คำปรึกษาด้านกฎหมายกับแรงงานย้ายถิ่นที่ถูกทำร้ายร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศ และแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บขณะทำงาน สมาคมแรงงานนานาชาติไต้หวันเป็นหนึ่งในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรแห่งแรกที่ทำให้สังคมไต้หวันสนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนแรงงานย้ายถิ่นมากขึ้น พวกเขาได้ใช้วิธีการเรียกร้อง และโน้มน้าวที่มุ่งมั่น (รูปที่ 3 ถึงรูปที่ 5) เพื่อให้แรงงานย้ายถิ่นได้รับความคุ้มครองที่ดีขึ้น

รูปที่ 3 การเดินขบวนพาเหรดแรงงานย้ายถิ่นที่จัดขึ้นทุก 2 ปี บันทึกรูปเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2022 ในหัวข้อ “การเปลี่ยนนายจ้างตามความสมัครใจ”

รูปที่ 3 การเดินขบวนพาเหรดแรงงานย้ายถิ่นที่จัดขึ้นทุก 2 ปี บันทึกรูปเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2022 ในหัวข้อ “การเปลี่ยนนายจ้างตามความสมัครใจ”

รูปที่ 4 แผงรั้วกั้นเป็นสัญลักษณ์ของข้อกฎหมายที่ไม่เหมาะสมในการห้ามแรงงานย้ายถิ่นเปลี่ยนนายจ้างตามความสมัครใจ

รูปที่ 4 แผงรั้วกั้นเป็นสัญลักษณ์ของข้อกฎหมายที่ไม่เหมาะสมในการห้ามแรงงานย้ายถิ่นเปลี่ยนนายจ้างตามความสมัครใจ

รูปที่ 5  เมื่อมีเสียงคำสั่ง มวลชนได้ผลักรั้วกั้น (หรือลูกกรงเรือนจำ) ต่อต้านข้อกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม

รูปที่ 5 เมื่อมีเสียงคำสั่ง มวลชนได้ผลักรั้วกั้น (หรือลูกกรงเรือนจำ) ต่อต้านข้อกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม

วันที่ 22 ตุลาคม การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างกองกำลังเฉพาะทางด้านสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่น

จากคนกลุ่มน้อยสู่คนหมู่มาก จากการไม่แสดงออกสู่การบอกเล่าอย่างกระตือรือร้น

วันสุดท้ายของการประชุมเชิงปฏิบัติการได้พูดคุยถึงประเด็นประเทศเป้าหมายที่ไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่นในอดีตใครคือผู้มีสิทธิตัดสินเนื้อหาการจัดแสดง ใครมีสิทธิในการอธิบายตีความ ขณะที่เศรษฐกิจโลกได้ผลักดันให้เกิดการย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้ามผ่านทวีป และพรมแดนทั้งหลาย เบื้องหลังของกระแสโลกาภิวัตน์  ประเด็น และข้อขัดแย้งทางการเมืองก็มีส่วนผลักดันประเด็นผู้ย้ายถิ่นของประเทศต่างๆ ย่ำแย่กว่าเดิม ไม่ว่าจะสังคมไหนต่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่าเราได้เข้าสู่ยุคใหม่แล้ว และผู้ย้ายถิ่นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสังคมเราไม่มากก็น้อย สิ่งที่แตกต่างอย่างเดียวก็คือ “ใครมาก่อนมาหลัง” ด้วยเหตุนี้ “ผู้ตั้งถิ่นฐาน” จริงๆ แล้วเป็น “คนส่วนใหญ่” ของสังคม ทุกสังคมควรมองว่าชุมชนผู้ย้ายถิ่นเป็นทรัพยากรใหม่ของสังคม และเปิดกว้างยอมรับ การช่วยให้สังคมเปิดใจยอมรับผู้ที่แตกต่าง การเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างมีผลกระทบมาก มีเพียงแต่พิพิธภัณฑ์เป็นผู้นำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนผู้ย้ายถิ่น ทบทวนความคิด และเปิดอกยอมรับความท้าทายเหล่านี้ พิพิธภัณฑ์จึงจะกลายเป็นแพลตฟอร์มเรียกร้องสำหรับผู้ย้ายถิ่น ผลักดันให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันในสังคม พิพิธภัณฑ์ สถานที่เชิงวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ และนักวิจัยควรร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชน เนื่องจากรัฐบาลอาจจะเพิกเฉยต่อประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่น หรืออาจจะเป็นผู้กระทำด้วยซ้ำ ความสามัคคีระหว่างพิพิธภัณฑ์ สถานที่เชิงวัฒนธรรม  องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และผู้เชี่ยวชาญแต่ละวงการจึงมีความสำคัญมาก การร่วมมืออย่างใกล้ชิดถึงจะสามารถทำให้ประเด็นที่หารือในงานประชุมครั้งนี้ได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด

บทสรุป

การประชุมเชิงปฏิบัติการตลอดสามวันได้แสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกล้วนมีวิธีการจัดการกับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นภาระหน้าที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ความสามารถในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชนผู้ย้ายถิ่นเป็นสิ่งจำเป็น และต้องปฏิบัติ ความสามารถในการสร้างปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมที่ผ่านการอบรมมาก่อน นอกจากนี้ ภารกิจของพิพิธภัณฑ์ก็คือการสร้างฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ พร้อมวางแผนนิทรรศการที่มีมุมมองเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้สังคมเข้าใจถึงประเด็นของสิทธิมนุษยชน และผู้ย้ายถิ่น สุดท้ายแต่มีความสำคัญเท่ากันคือ พิพิธภัณฑ์ควรจะร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และโรงเรียนต่าง ๆ สร้างเครือข่ายเพื่อเข้าใจสังคมในต่างมุมมอง พร้อมช่วยกันผลักดันประเด็นที่เกี่ยวข้อง

 

จากการไม่แสดงออกสู่การบอกเล่าอย่างกระตือรือร้น: ข้อสังเกตและการสะท้อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนาออนไลน์เรื่องสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศศึกษา ระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาคม 2021

จากการไม่แสดงออกสู่การบอกเล่าอย่างกระตือรือร้น: ข้อสังเกตและการสะท้อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนาออนไลน์เรื่องสิทธิมนุษยชนผู้ย้ายถิ่นระหว่างประเทศศึกษา ระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาคม 2021