:::

แบ่งปันปรัชญาการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ ร่วมสร้างโลกที่อบอุ่น

แบ่งปันปรัชญาการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ ร่วมสร้างโลกที่อบอุ่น

แบ่งปันปรัชญาการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ ร่วมสร้างโลกที่อบอุ่น

แนะนำผู้เขียน 【ทาดะยูกิ โคมาอิ  (Tadayuki Komai) 】

เกิดปี 1972 ในเมืองโกเซะ จังหวัดนารา ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 1998 เขาก็เป็นภัณฑารักษ์ตอนขณะที่พิพิธภัณฑ์ฯ พึ่งเปิด และในปี 2015 ได้เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯ เขาทำให้แนวคิดการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเผยแพร่ไปทั่วโลกผ่านกิจกรรมสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติและ”มรดกความทรงจำของโลก” เขาเป็นอาจารย์สอนเรื่องว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสถาบันสตรีโกเบ และเป็นผู้ร่วมประพันธ์หนังสือ: “ที่มาของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ” ฉบับใหม่ (สำนักพิมพ์ Jiefang,

2022), “ความอบอุ่นและแสงสว่างของคำแถลงสมาคม เซนโกกุซุยเฮฉะ” (สำนักพิมพ์ Jiefang, 2012),“ปัญหาบุราคุสมัยใหม่” (“สัมมนาปัญหาบุราคุในญี่ปุ่นสมัยใหม่ 1 (หมายเหตุ 2)” สำนักพิมพ์ Jiefang, 2022)

“พิพิธภัณฑ์สุ่ยผิงเซ่อ” (Suiheisha History Museum)

พิพิธภัณฑ์สุ่ยผิงเซ่อ (พิพิธภัณฑ์ฯ) เปิดทำการ ณ คาชิฮาระ เมืองโกเซะ จังหวัดนารา เดือนพฤษภาคม 1998 ซึ่งเป็นสถานที่ก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูต่อยอดวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและเผยแพร่แนวคิดสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการเหยียดและสิทธิมนุษยชน

เดือนกันยายน 2015 พิพิธภัณฑ์ฯ เข้าร่วมการประชุม FIHRM( สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ) เป็นครั้งแรกที่เมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ และเดือนธันวาคมในปีนั้นได้กลายเป็นองค์กรญี่ปุ่นแห่งแรกที่เข้าร่วม FIHRM จากนั้นพิพิธภัณฑ์ฯ จะผลักดันกิจกรรมต่างๆ เพื่อแบ่งปันการ “แสวงหาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสันติภาพ” กับทั่วโลก

 ซึ่งเป็นปรัชญาการก่อตั้งสมาคม

เดือนพฤษภาคม 2016 ในที่ประชุม ICOM (สมัชชาสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ) กับการประชุมสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ (FIHRM) ณ เมืองโรซาริโอ (อาร์เจนตินา) สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะได้แนะนำ “สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะและฮยองพยองซา-บันทึกข้ามพรมแดนของผู้ที่ถูกรังเกียจ(ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ 5 ประเด็นที่พิพิธภัณฑ์ฯ รวบรวมไว้นั้น)  บันทึกดังกล่าวถูกขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจำของโลก(Memory of the World)” แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของยูเนสโก ตอนนี้ยังพยายามที่จะขอขึ้นทะเบียนในกลุ่มระหว่างประเทศ วันที่ 3 มีนาคม 2022 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งก่อตั้ง สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ  พิพิธภัณฑ์ฯ ได้เปิดให้เข้าชมอีกครั้ง


คำนำ

           เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1922 ณ หอประชุมเมืองเมืองเกียวโต ได้จัดตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะขึ้น เพื่อมุ่งแสวงหาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาพ ผู้ก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเป็นคนหนุ่มสาวที่เกิดและโตที่เขตคาชิฮาระ เมืองโกเซะ จังหวัดนารา

           การก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะมีเป้าหมายเพื่อขจัดการเหยียดบุราคุ (ชนชั้นที่ถูกเหยียดในสังคมญี่งปุ่น), ส่งเสริมเสรีภาพและความเสมอภาพ, สร้างแนวคิดสิทธิมนุษยชน, เคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยบุราคุ คนรุ่นก่อนที่ได้เข้าร่วมความเคลื่อนไหวสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะได้สานต่อจิตวิญญาณนี้ เพื่อให้กระบวนการต่อสู้ของพวกเขาเป็นที่รับรู้ของคนรุ่นหลัง เดือนพฤษภาคม 1998 เงินทุนสนับสนุนจากทั่วประเทศได้สถาปนาพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ซุยเฮฉะขึ้นมา ณ คาชิวาบาระซึ่งเป็นสถานที่ก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ (เปลี่ยนชื่อเป็นพิพิธภัณฑ์สุ่ยผิงเซ่อในปี 1999)

ปรัชญาการก่อตั้งก่อที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน

        คำแถลงการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเรียกร้องให้ “เคารพผู้อื่นเพื่อปลดปล่อยตนเอง” และส่งเสริม “ให้โลกมนุษย์มีความอบอุ่น มนุษย์มีความผ่องใส” เป็นคำแถลงสิทธิมนุษยชนฉบับแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและโลกที่เรียกร้องโดยผู้ถูกเหยียด ปรัชญาการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะคือการทำให้อัตลักษณ์(identity)จากทุกฐานะชนชั้นเป็นที่ยอมรับในสังคม, ร่วมสร้างสังคมที่ไร้การเหยียด สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ได้รับการตอบรับจากบุราคุมิน(Burakumin) ทั้งทำให้ผู้คนเกิดความรู้สึกร่วม เป็นการสร้างแรงกระตุ้นและความกล้าหาญให้กับชาวเกาหลีในญี่ปุ่น, ชาวโอกินุ, ชาวไอนุและผู้ป่วยโรคเรื้อนที่เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชนด้วยตนเอง กระทั่งส่งผลกระทบต่อ “ชาวแบกจอง(Pekuchon)”ที่ถูกเหยียดในเกาหลี เดือนเมษายนปี 1923 นำโดยชาวแบกจองเป็นหลักได้ก่อตั้งสมาคมฮยองพยองซา(Hyonpyonsa) ประวัติการสร้างพันธมิตรระหว่างสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะและสมาคมฮยองพยองซาเป็นบันทึกขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน, เสรีภาพ, ความเสมอภาค, ภราดรภาพ และประชาธิปไตยตามหลักสากล ข้อมูลประวัติศาสตร์การสร้างพันธมิตรนี้ปรากฎให้เห็นที่“สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะและฮยองพยองซา-บันทึกข้ามพรมแดนของผู้ที่ถูกปฏิบัติต่างในปี 2016 ถูกขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจำของโลก” แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของยูเนสโก นอกจากนี้และการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะยังเป็นที่จับตามองของสื่อต่างประเทศอีกด้วย เมื่อวันที่ 5 กันยายน 1923 นิตยสารเดอะเนชั่น (The Nation) ของอเมริกาตีพิมพ์คำแปลภาษาอังกฤษที่แนะนำคำแถลงสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ

อะไรคือการเหยียดบุราคุที่สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะต้องการขจัด

สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะมีแนวคิดตามคำแถลงการก่อตั้ง เป้าหมายของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะคือปลดปล่อยการเหยียดบุราคุที่ “บุราคุมิน”

 (ผู้ที่มาจากชนชั้นที่ถูกเหยียดในสังคมญี่งปุ่น)  กลุ่มน้อยประสบอยู่ในสังคม ที่มาของการเหยียดบุราคุเกิดจากระบบชนชั้นในญี่ปุ่นก่อนยุคสมัยใหม่(pre-modern era) ชนชั้นที่ถูกเรียกว่า “เอตะ(穢多)”จะถูกสังคมดูแคลน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าญี่ปุ่นสมัยใหม่ยกเลิกระบบชนชั้นทางกฎหมาย

ชนชั้น “เอตะ(穢多)” ถูกยกเลิก ในปี 1871 แล้ว แต่ในสังคมเมืองสมัยใหม่(Civil Society) การเหยียดบุราคุมินที่เปลี่ยนชนชั้นใหม่แล้วกลายเป็นปัญหาสังคมดเฉพาะในสังคมญี่ปุ่น การเหยียดบุราคุถูกมองว่ามีความคล้ายคลึงกับการเหยียด “ผู้ที่แตะต้องไม่ได้(Untouchables)” “ผู้อยู่นอกวรรณะ(outcasts)”และ “ทลิต(Dalit)” (*ผู้ที่แตะต้องไม่ได้, ผู้อยู่นอกวรรณะและทลิตเป็นคำเรียกผู้ถูกเหยียดที่แตกต่าง แต่ไม่ได้หมายรวมถึงชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน) ตามระบบวรรณะในอินเดีย

นอกจากนี้ มาตรา 14 รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นที่ประกาศใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1946 ตีความว่าการเหยียดบุราคุเป็นการเหยียดที่เกี่ยวข้องกับ “ฐานะทางสังคมและภูมิหลังครอบครัว” ดังที่ปรากฎใน “อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ(ICERD)” ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 20 เห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม 1965 การเหยียดบุราคุมินถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม การเหยียด “ชั่วอายุคน(descent)” การขจัดการเหยียดไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เป็นปัญหาสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน

ตั้งแต่ปี 1868 ญี่ปุ่นใช้ “การปฏิรูปเมจิ” (*1868เป็นจุดเริ่มต้น มิได้เกิดขึ้นในปีนี้อย่างเดียว) เป็นจุดเริ่มต้นของประเทศสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม การเหยียดชนชั้นก่อนยุคสมัยใหม่กลายเป็นกฎเกณฑ์ในการเหยียดรูปแบบใหม่ในสังคมยุคใหม่ (*การใช้คำประธานจะทำให้เข้าใจผิด การเหยียดมิได้เกิดจาก “การจัดการ” แต่มันเกิดขึ้นเองขณะที่กฎเกณฑ์ทางสังคมเกิดขึ้นใหม่)

แต่สังคมสมัยใหม่ยังคงมีการเหยียดบุราคุมินอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราวปี 1900 การเหยียดบุราคุรุนแรงขึ้นอย่างมาก รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้เริ่มใช้นโยบายจากบนสู่ล่างปรับเปลี่ยนบุราคุเพื่อแก้ไขปัญหาการเหยียดบุราคุมิน และช่วยให้บุราคุมินและผู้ที่มิใช่บุราคุมินอยู่ร่วมกันได้

แต่บุราคุมินยังไม่พอใจเพียงแค่นี้ หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทุกภาคส่วนเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อแสวงหาเสรีภาพ, ความเสมอภาคและภราดรภาพ โดยหวังว่าการปลดปล่อยบุราคุมินจะเกิดขึ้นจริง ผู้ผลักดันให้เกิดการปลดปล่อยบุราคุก็คือสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ

เป้าหมายคือทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นจริง

           แม้ว่าหลังปี 1942 สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะจะไม่มีสถานะทางกฎหมายแล้ว แต่ปรัชญาการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะที่มุ่งแสวงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมกันยังคงสืบทอดต่อไป การเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยบุราคุยังคงดำเนินการต่อเนื่อง

                     ในปี 1948 “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”ที่สหประชาชาติได้ผ่านนั้นได้วางหลักการสิทธิมนุษยชน ในปี 1995 เริ่มผลักดัน “ทศวรรษสหประชาชาติเพื่อการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน” ในปี 2005 สหประชาชาติริเริ่ม “การทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นกระแสหลัก” ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดผลกระทบมากเลยทีเดียว ทำให้กระแสสิทธิมนุษยชนเป็นความเห็นร่วมของประชาคมโลก และในปี 2015 การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน  สมาชิกทุกคนลงมติเป็นเอกฉันท์ผ่านเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนSDGs เพื่อสร้างโลกที่ไม่มีคนถูกกีดกัน(leave no one behind) มีเป้าหมายให้คนทุกคนบนโลกใบนี้สามารถกินดีอยู่ดีใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในอนาคต

 เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีสิทธิมนุษยชนเป็นคำสำคัญ พร้อมได้กำหนดเป้าหมาย 17 ประการและโครงการชี้วัด 169 นี่มีความสอดคล้องกับ “แนวความคิด” ของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะที่มองว่า “รู้ถึงหลักการความเป็นมนุษย์และมีการมุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ขั้นสูงสุดเป็นเป้าหมาย” ในฐานะเป็นพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่นแห่งแรกที่เข้าร่วมสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ (FIHRM) พิพิธภัณฑ์ฯ ได้เผยแพร่แนวคิดการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะไปทั่วโลก โดยผ่าน “มรดกความทรงจำของโลก” และกิจกรรมของFIHRM

           พิพิธภัณฑ์ฯ ใช้นิทรรศการและการถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ได้มาซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กิจกรรมเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์กร คาชิวาบาระซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ฯ ในปี 1999 ได้มีการสถาปนาสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะท้องถิ่น โดยมีบุคคลจากองค์กรต่างๆ เป็นองค์ประกอบและมีคณะกรรมการปกครองตนเองเป็นแกนหลัก สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะท้องถิ่นได้ปรับภูมิทัศน์ในสวนสาธารณะใกล้เคียงกับพิพิธภัณฑ์ฯ ให้มีความเขียวขจี เพื่อต้อนรับผู้มาเยือนอย่างอบอุ่น

นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ฯ และเพื่อเป็นการรักษาและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ฯ กลุ่มบุคคลด้านการศึกษา, กีฬา, ศาสนา, ธุรกิจ, สหภาพแรงงาน ฯลฯ ในจังหวัดนาราได้ก่อตั้งคณะสบทบพิพิธภัณฑ์ฯ (*ประธานประโยคผิด)”สหพันธ์จังหวัดนาราพันธมิตรเพื่อปลดปล่อยบุราคุ” (สหพันธ์ฯ) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มในเครือของคณะสบทบพิพิธภัณฑ์ฯ มีพื้นฐานมาจากจิตวิญญาณของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะและสืบทอดการเคลื่อนไหวการปลดปล่อยบุราคุ ทุกปี สหพันธ์ฯ จะซื้อตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ  เพื่อเพิ่มยอดจำนวนคนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ นอกจากนี้ หนึ่งในกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ ประกอบกับมีการปรับปรุงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ฯ สหพันธ์ฯ ได้ช่วยทบทวนเนื้อหานิทรรศการ พร้อมพิจารณาความคิดเห็นจากมุมมองต่างๆ เพื่อทำให้เนื้อหาของนิทรรศการมีความสมบูรณ์มากขึ้น สร้าง “ความประทับใจ” แก่ผู้เยี่ยมชมจำนวนมาก

          นิทรรศการ“ปัจฉิมกถา(epilogue)”หลังการปรับปรุง นิทรรศการ ได้นำเสนอวลีอันจับใจของบุคคลที่มีชื่อเสียงและรวบรวม “คำพูดที่เป็นที่จดจำ”ของประชาชนทั่วไป บนผนังสีขาวใช้ตัวอักษรนูนคงที่จัดแสดงวลี “โลกมนุษย์ที่อบอุ่นกว่าเดิม” เป็นต้น ซึ่งเป็นคำพูดที่สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเรียกร้อง (โปรดดูภาพประกอบด้านล่าง) นอกจากนี้ บนหน้าจอขนาดใหญ่ 5 จอที่ติดตั้งบนผนังได้โชว์ประโยคที่ผู้มาเยือนรู้สึกจับใจ” เปลี่ยนไปเรื่อยๆ  นิทรรศการได้รับขนานนามว่าเป็น “พิพิธภัณฑ์ศิลปะภาษา” จากนี้ไปจะเปิดรับ“คำพูดที่สร้างความประทับใจ” เช่นนี้ให้บุคคลทั่วไปนำเสนอได้ต่อเนื่อง โดยหวังว่าพื้นที่ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมนี้ จะเป็นพื้นที่ส่วนรวมสำหรับทุกคนในการแบ่งปันแนวคิด “การทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นจริง”

สร้างโลกมนุษย์ให้อบอุ่นกว่าเดิม

นับตั้งแต่ปี 1992 หลังการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ การเคลื่อนไหวเพื่อขจัดการเหยียดบุราคุและการเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 100 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาญี่ปุ่นในปัจจุบัน ชนกลุ่มน้อยที่ถูกเหยียดที่ก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะยังคงถูกเหยียดเมื่อมีการแต่งงานหรือทำสัญญาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ พูดได้ยากว่าได้ขจัดการเหยียดให้หมดสิ้นไปแล้ว

นอกจากนี้ ขณะนี้ยังมีพฤติกรรมแย่ๆ เกิดขึ้น คนทั่วไปมีอคติพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเกี่ยวข้องกับบุรา อคตินี้ถูกใช้ไปในทางที่ผิด เช่น การใช้ข้ออ้างว่าเข้าใจบุราคุมินไม่เพียงพอ เพื่อขายหนังสือราคาแพงลิ่ว ฯลฯ ทั้งหมดนี้ เป็นการอ้างปัญหาบุราคุมิเพื่อได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม หรือขอให้คนอื่นเป็นทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของพวกเขา พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเหตุทำให้เกิดอคติและความเข้าใจผิด จนกระทั่ง บนอินเทอร์เน็ตมีข้อความใส่ร้ายป้ายสีบุราคุมินอย่างไม่จบไม่สิ้น เป็นสาเหตุทำให้ปัญหาการเหยียดรุนแรงยิ่งกว่าเดิม

ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ในปี 2016 ญี่ปุ่นจึงได้ปรับแก้ “กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 3 ฉบับ” ประกอบด้วย “พระราชบัญญัติว่าด้วยผลักดันขจัดการเหยียดบุราคุ”, “พระราชบัญญัติว่าด้วยขจัดเหยียดคนพิการ” และ “พระราชบัญญัติว่าด้วยขจัดวาจาสร้างความเกลียดชัง” ในปี 2019 ได้มีการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วย “มาตรการส่งเสริมชาวไอนุ”

ในสภาพการเหยียดบุราคุในปัจจุบันและการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง การปลดปล่อยบุราคุและความเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนได้เชื่อมโยงกันผ่านเครือข่ายชุมชนที่สร้างขึ้นในแต่ละพื้นที่ ยังมีความพยายามที่จะขจัดการเหยียดเป็นแกนหลัก โดยมีจังหวัดนาราเป็นฐานทัพอีกครั้ง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องสู่ภายนอก พิพิธภัณฑ์ฯ ร่วมมือกับความเคลื่อนไหวนี้ พร้อมรับบทเป็นฐานทัพในการเผยแพร่ข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชน รับเอาความมุ่งมั่นที่จะได้มาซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และจิดวิญญาณอันแน่วแน่ที่ไม่ยอมจำนงต่อการเหยียดของสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ พร้อมฝากฝังความคิดนี้ส่งต่อสู่อนาคต

หวังว่าเราจะมี“โลกมนุษย์ที่อบอุ่นกว่าเดิม”ตามที่สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะคาดหวังไว้ ร่วมทำให้อุดมการณ์ในการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะเกิดขึ้นจริง ร่วมสร้างสังคมที่โอบอ้อมอารี ให้ทุกคนมีชีวิตเป็นของตัวเอง ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย

เรามั่นใจว่าผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ฯ จะเห็นด้วยและมีความรู้สึกร่วมกับแนวนี้ของเรา

“ขอให้โลกมนุษย์มีความอบอุ่น เมืองมนุษย์มีความผ่องใส”

 

แบ่งปันปรัชญาการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ ร่วมสร้างโลกที่อบอุ่น

แบ่งปันปรัชญาการก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ ร่วมสร้างโลกที่อบอุ่น

【ข้อมูลเพิ่มเติม】

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ปี 1922 ที่ประชุมก่อตั้งสมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะผ่าน“แนวความคิด” และ “คำแถลง”

แนวความคิด

1.บุราคุมินกลุ่มพิเศษหวังว่าจะได้เป็นอิสระอย่างแท้จริงด้วยการกระทำของตนเอง!

2.พวกเราบุราคุมินกลุ่มพิเศษหวังว่าจะเรียกร้องต่อสังคมและได้รับเสรีภาพทางเศรษฐกิจและเสรีภาพในการประกอบอาชีพจากสังคมอย่างสมบูรณ์!

3.พวกเราได้รู้ถึงหลักการความเป็นมนุษย์และมีการมุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ขั้นสูงสุดเป็นเป้าหมาย"

คำแถลง

บุราคุมินกลุ่มพิเศษที่กระจายทั่วประเทศมาร่วมสามัคคีกันเถอะ!

พี่น้องทั้งหลายที่ถูกทารุณมานานถึงครึ่งศตวรรษที่ผ่านไปนั้น วิธีการต่างๆ และการเคลื่อนไหวที่หลายคนได้กระทำเพื่อเรานั้น ไม่ได้สร้างผลลัพธ์อันทรงคุณค่าใดๆ ให้แก่เรา ข้อเท็จจริงนี้เป็นการลงโทษอย่างหนึ่ง เนื่องจากพวกเราปล่อยให้ตนเองและผู้อื่นละเมิดความเป็นมนุษย์ ความเคลื่อนไหวในอดีตที่ดูเหมือนจะเมตตาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน กลับทำให้พี่น้องหลายคนตกต่ำ เมื่อพินิจถึงข้อนี้ พวกเราด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การสถาปนาความเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยตนเองเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

พี่น้องทั้งหลาย บรรพบุรุษของเราเป็นผู้ชื่นชมและผู้ปฏิบัติในอิสรภาพและความเสมอภาพ ทั้งยังเป็นผู้เสียสละภายใต้นโยบายแบ่งแยกชนชั้นอันต่ำทราม เป็นผู้พลีชีพในการงานอาชีพที่ผู้ชายประกอบอาชีพอยู่ พวกเราถลกหนังสัตว์ร้าย กลับต้องแลกด้วยการถูกถลกหนังมนุษย์แบบเป็นๆ พวกเราเด็ดเอาหัวใจของสัตว์ร้าย กลับต้องแลกด้วยหัวใจมนุษย์ที่อุ่นๆ ต้องถูกฉีกขาด แม้จะถูกเยาะเย้ยดูหมิ่น อยู่ท่ามกลางฝันร้ายของค่ำคืนที่ถูกสาป เลือดแห่งเกียรติยศของความเป็นมนุษย์ยังคงไม่เหือดแห้ง เราในฐานะผู้สืบทอดสายเลือดนี้เข้าสู่ยุคที่มนุษย์และเทพพยาดาได้รับเกียรติเช่นเดียวกัน นี่คือยุคที่ผู้เสียสละจะละทิ้งรอยด่างและมงกุฎหนามของผู้พลีชีพจะได้รับคำชื่นชม

พวกเรามาถึงยุคแห่งความภาคภูมิใจในการเป็น “เอตะ”

พวกเราจงอย่าใช้ภาษาที่ต่ำต้อยและพฤติกรรมที่ขี้ขลาดจนทำให้บรรพบุรุษของเราต้องเสียหน้าและเหยียดหยามมนุษยชาติ เมื่อเราทราบดีว่าความเฉยเมยของโลกมนุษย์มันหนาวเหน็บแค่ไหน เมื่อเราทราบดีว่าสิ่งใดคือความเมตตาต่อมนุษย์ เราขอสวดอ้อนวอนจากใจเพื่อสรรเสริญแสงสว่างและความอบอุ่นในชีวิต

ขอประกาศ ณ ที่นี้ว่า สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะได้ถูกสถาปนาขึ้นมาแล้ว

“ขอให้โลกมนุษย์มีความอบอุ่น มนุษย์มีความผ่องใส”

3 มีนาคม 1922

สมาคมเซนโกกุซุยเฮฉะ