:::

สิทธิมนุษยชน คุณค่าของมนุษย์

ภาพ1 : พันธมิตรพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน

ภาพ1 : พันธมิตรพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน

แนะนำผู้เขียน

เทรซี พูลาสกี (Tracy Puklowski) ขณะนี้อาศัยอยู่ที่อลิซสปริงส์ออสเตรเลีย ดูแลการพัฒนาหอศิลป์ชนพื้นเมืองแห่งชาติแห่งแรกของออสเตรเลีย เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริการศิลปะสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เมืองลอนเชสตัน รัฐทัสมาเนีย รวมทั้งหน้าที่ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ และหอศิลป์ควีนวิกตอเรีย ซึ่งเป็นองค์กรทางวัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย

ก่อนย้ายไปออสเตรเลีย เทรซีเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของอุตสาหกรรม GLAM (หอศิลป์  หอสมุด  หอจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์) ในนิวซีแลนด์ หลายตำแหน่ง เธอจบปริญญาโทจากสถาบันผู้นำพิพิธภัณฑ์เก็ตตี(Getty’s Museum Leadership Institute)

หน่วยงาน

หอศิลป์ชนพื้นเมืองแห่งชาติออสเตรเลียซึ่งตั้งอยู่ที่อลิซสปริงส์ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า แอม-ปาร์น-ทัว (Mparntwe))นั้น จะกลายเป็นจุดมายปลายทางที่โดดเด่น และพื้นที่แห่งใหม่ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางออสเตรเลียนี้จะแสดงถึงวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่สุดที่ยังมีอยู่บนโลก ทำให้ชนพื้นเมืองในออสเตรเลียมีพื้นที่ที่แสดงถึงตัวตนของพวกเขา ผ่านศิลปะการแสดง และเผยแผ่ความสำเร็จในด้านต่างๆ

บนหนทางแห่งการบอกเล่าความจริงของออสเตรเลียนั้น หอศิลป์มีบทบาทที่สำคัญมาก และเพื่อให้การปกครอง การบริหารและใช้แรงงานมีการคำนึงถึงชนพื้นเมืองเป็นหลัก หอศิลป์จึงกลายเป็นสื่อกลางของชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย ที่ทำให้พวกเขาสามารถบอกเล่าเรื่องราวของตนเอง เพิ่มช่องทางการเคลื่อนไหว และเป็นตัวเลือกวิธีการบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ได้อีกวิธีหนึ่ง


ในขณะที่ทั่วโลกกำลังตระหนักว่าสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญต่อวาทกรรม และการปฏิบัติงานจริงของพิพิธภัณฑ์ ในปี 2019 เป็นช่วงเวลาสำคัญในการก่อตั้งสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ สาขาเอเชียแปซิฟิก สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติให้ความสำคัญกับภูมิภาค จึงได้ก่อตั้งสำนักงานสาขาเอเชียแปซิฟิก  เพื่อสะท้อนเสียงที่มักจะถูกมองข้าม และเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญในการแยกแยะ และจัดการกับประเด็นสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ในบทความนี้ ฉันจะบอกเล่าถึงความเป็นมาของสหพันธ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติกับไต้หวัน พร้อมทบทวนการรับมือกับประเด็นสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้เราจะเริ่มจากปัญหาสิทธิมนุษยชนและวกเข้าสู้ประเด็นหลักเพื่อความเข้าใจของทุกฝ่าย

ในปี 2010 ขณะที่สถาปนาสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการก่อตั้งสหพันธ์ การสถาปนาสหพันธ์นี้ทำให้ดิฉันรู้สึกตื่นเต้น และรู้สึกว่าทันท่วงที เพราะวงการพิพิธภัณฑ์ได้ให้ความสำคัญกับความยุติธรรมในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่คือการตอบสนองประเด็นสิทธิมนุษยชนร่วมกับกองกำลังระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก

อีกด้านหนึ่ง ฉันก็รู้สึกหวั่นๆ ขึ้นมานิดหน่อย  เพราะฉันจะมีสิทธิเป็นตัวแทนของพิพิธภัณฑ์แห่งนิวซีแลนด์ เทปาป้า ตองกาเรวา (Museum of New Zealand Te Papa Tongarewa หรือ Te Papa)และประกาศตนว่าเป็น “พิพิธภัณฑ์แห่งมนุษยชน” ได้หรือไม่? พิพิธภัณฑ์ด้านมนุษยชนคืออะไร? ฉันหวังว่าจะไม่ได้ทำให้พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดกลายเป็นพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนจอมปลอม

หากย้อนมองประวัติศาสตร์และคุณค่าของพิพิธภัณฑ์เราแล้ว ข้อสรุปของฉันคือการที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชนนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีพันธกิจด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน พิพิธภัณฑ์ Te Papa มุ่งมั่นที่จะผลักดัน ประเด็นความหลากหลาย การเปิดกว้าง การแก้ไขปัญหา นั่นหมายความว่าเรามีสิทธิที่จะเป็นหนึ่งในขบวนการดังกล่าวได้

 

ในปี 2015 ขณะที่ฉันดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ ฉันได้เขียนไว้ว่า

“สำหรับพิพิธภัณฑ์ Te Papa แล้ว ความยุติธรรมในสังคม สิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ในความหมายอย่างกว้างที่สุดนั้นไม่ใช่ผลพลอยได้ หรือสามารถที่จะเลือกว่าจะเอาหรือไม่เอา นี่คือหัวใจหลักที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ต้องการสืบทอดหรือในภาษาเมาริเรียกว่า whakapap  ในปี 1992 กฎหมายว่าพิพิธภัณฑ์แห่งชาตินิวซีแลนถูกบัญญัติขึ้นมา และได้กลายเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในการมุ่งสู่อีกเส้นทางหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์ได้เลือกใช้นโยบายแบบสองวัฒนธรรม ก็ถือว่าได้กำหนดไว้แล้วว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ว่าจะอยู่ในวงการไหน จะต้องมีการแสดงออกแบบสองวัฒนธรรม

นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ Te Papa มีวิสัยทัศน์ว่า “ปรับเปลี่ยนจิตวิญญาณ ปรับเปลี่ยนความคิด และปรับเปลี่ยนชีวิต” ฉะนั้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เดิมก็มีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขประเด็นที่ยากลำบากและทำให้รู้สึกไม่สบายใจ หากพิพิธภัณฑ์ตั้งใจที่จะให้ผู้ชมหรือกลุ่มคนที่มาเยือน หรือแม้กระทั่งพนักงานได้รับประสบการณ์นแปลกใหม่ ก็จำเป็นต้องสร้างจุดยืนที่ชัดเจน

ดั่งคำแถลงบนเว็บไซต์สหพันธ์พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อท้าทายกความคิดและการกระทำของพิพิธภัณฑ์รูปแบบดั้งเดิม ดังนั้น ฉันคิดว่าพิพิธภัณฑ์ Te Papa เป็นพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน และฉันจะรอต้อนรับการมาเยือนของตัวแทนของเราในเดือนกันยายนนี้」[1]

สิ่งที่น่าสนใจคือบทความดังกล่าวได้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าพิพิธภัณฑ์บางแห่งอาจมองว่าสิทธิมนุษยชนไม่ใช่หัวข้อที่จำเป็น ดังนั้นจะต้องโน้มน้าวให้พิพิธภัณฑ์เหล่านี้ใช้มุมมองนี้พิจารณาตนเอง บางทีพวกเขาอาจจะต้องการเหตุผลที่ชอบธรรมในการให้คำมั่นสัญญาเพื่อผลักดันสิทธิมนุษยชน เหมือนในปี 2010 ฉันก็เช่นกัน

ในบทความเดียวกัน ฉันได้ระบุว่าบริบทด้านสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง “อย่างรวดเร็วและมีนัยยะสำคัญ” ซึ่งขณะนั้นฉันหมายถึงวัฒนธรรม และการเมืองของนิวซีแลนด์ ซึ่งตอนนั้นฉันไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าสำหรับทุกคนแล้ว เพียงไม่กี่ปีหลังจากนั้น โลกจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และยิ่งใหญ่ขนาดนี้ “การเปลี่ยนแปลง” เหล่านี้ก็คือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่แผ่ขยายไปทั่วโลก และพลิกพลันชีวิตของผู้คน มนุษย์ทุกคนต้องเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบในผลลัพธ์ และเราจำเป็นต้องรับมือกันอย่างเด็ดเดี่ยว

เนื่องจากขณะนี้คำนิยามของพิพิธภัณฑ์ไม่สามารถ “สะท้อนและแสดงออกได้อย่างเหมาะสมถึงความซับซ้อนของศตวรรษที่ 21 ความรับผิดชอบและการตัดสินใจของพิพิธภัณฑ์ ณ ปัจจุบัน พร้อมความท้าทายกับความคาดหวังของพิพิธภัณฑ์ในอนาคต”

ในปี 2019 สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (International Council of Museumsหรือ ICOM)ได้นำเสนอแผนคำนิยามพิพิธภัณฑ์ใหม่[2] พวกเราหลายคนมองสงครามน้ำลายที่ตามมากันอย่างมึนงง  เมื่อสุดท้ายแล้วทุกอย่างยังคงติดอยู่ในช่องว่างคตินิยมจากภาษา และค่านิยมที่แตกต่าง

ปี 2022 งานประชุมใหญ่ในกรุงปรากจะหารือในประเด็นนี้อีกครั้ง เราได้แต่หวังว่า 2 ปีที่ผ่านมานี้จะช่วยให้วงการพิพิธภัณฑ์วิทยาเกิดความสามัคคีขึ้น

และเชื่อว่าคงจะต้องเป็นเช่นนี้ เหตุการณ์ทั่วโลก ผู้ชมและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกจะไม่นั่งรอให้วงการพิพิธภัณฑ์เป็นฝ่ายตัดสินว่าคำนิยามของตนเองถูกต้องหรือไม่ ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การปฏิรูปและความท้าทายไม่ได้แค่ใกล้ตัวเรา แต่สามารถพบเห็นได้ทั่วนิทรรศการการตรวจสอบเนื้อหาหนังสือ ทั้งนี้สร้างความสะพรึงให้กับพวกเราเป็นอย่างมาก

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 27 วรรค 1

ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าร่วมกิจกรรมชีวิตกับวัฒนธรรมของชุมชน เพลิดเพลินกับศิลปะต่างๆ และมีส่วนในความรุดหน้าและคุณประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างอิสระเสรี

เรายังคงติดอยู่กับเหตุการณ์โรคระบาดทั่วโลก และโรคระบาดนี้ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เราเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิงและถาวร พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ไม่เพียงแต่ต้อง “ปรับเปลี่ยน” เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังใช้ไหวพริบ เอาชนะปัญหาการปิดเมือง และทุ่มกำลังปรับตัวสู่การเรียนการสอน ประสบการณ์ การมีส่วนร่วมออนไลน์ พร้อมบริหารจัดการพื้นที่และผู้คน ขณะที่พิพิธภัณฑ์บางส่วนต้องเผชิญหน้ากับการปิดตัวลงอย่างถาวร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง โรคระบาดใช้มาตราฐานแบบเดียวกันกับทุกคน ไม่มีใครสามารถรอดพ้นจากผลกระทบของโรคระบาด และโรคระบาดยังเป็นเพื่อนสนิทของความอยุติธรรม เพราะโรคระบาดได้เพิ่มความยากจน และความเปราะบางให้สูงยิ่งขึ้น

ดังนั้น พิพิธภัณฑ์ที่มีโอกาสสูงที่จะปิดตัวลงอย่างถาวรนั้นยังคงเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กที่มองหาทุนทรัพย์มาโดยตลอด ซึ่งพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ได้ทำการทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งยังรักษาประวัติศาสตร์ และประเพณีของผู้คน และสังคมของพวกเขา

สิ่งนี้ได้เตือนให้เราทราบว่าหน้าที่ของพวกเราคือการพัฒนาชุมชน ให้บริการประชาชน เก็บรักษาเรื่องราว และบอกเล่าความทรงจำของพวกเขา เราจะต้องขจัดอุปสรรคการเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ ร่วมสร้างสรรค์แต่ไม่ใช่เป็นผู้บงการ เราจะต้องร่วมมือกับชุมชนหรือปัจเจกบุคคล  บันทึกช่วงเวลาคับขันนี้เพื่อคนรุ่นหลัง หลังจากที่มนุษย์มีประสบการณ์ร่วมอันลึกซึ้งแล้ว เราจะช่วยสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ และเยียวยา ทั้งหมดนี้คือความท้าทาย และเกียรติภูมิที่พิพิธภัณฑ์จะได้รับ

เรื่องที่ศิลปะมีพลังในการรักษาเยียวยาไม่ใช่แนวคิดใหม่ หลังจากที่เกิดความบอบช้ำแล้ว พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ปลอดภัย (และจำเป็น) ซึ่งจะทำให้ผู้คนมาพบปะหรือตั้งคำถาม พร้อมรำลึกถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญในช่วงเวลานั้น แต่นี่ก็ไม่ใช่ตรรกะใหม่อะไร แต่มันจะมีความลึกซึ้งมากกว่าเดิม จากสถาณการท้องถิ่นกลายเป็นเหตุการณ์ระดับโลก และก็เป็นเช่นนี้ในทางกลับกัน

วิกฤตสภาพภูมิอากาศทั่วโลกเป็นภัยร้ายแรงต่อวิถีชีวิตของเรา ทั้งเป็นวิกฤตด้านมนุษยชนที่ร้ายแรง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นภัยต่อความมั่นคงทางอาหาร ที่อยู่อาศัย และสิ่งมีชีวิต แม้ว่าประเทศที่เป็นเกาะเล็ก ๆ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 3

ทุกคนมีสิทธิในชีวิต อิสรภาพ และความปลอดภัยของตนเอง

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 25 วรรค 1

ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของตน และครอบครัว รวมทั้ง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการทางสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในหลักประกัน ยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย ชราภาพ หรือปราศจากการดำรงชีพอื่น ในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน

เรายังคงติดอยู่กับเหตุการณ์โรคระบาดทั่วโลก และโรคระบาดนี้ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เราเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิงและถาวร พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ไม่เพียงแต่ต้อง “ปรับเปลี่ยน” เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังใช้ไหวพริบ เอาชนะปัญหาการปิดเมือง และทุ่มกำลังปรับตัวสู่การเรียนการสอน ประสบการณ์ การมีส่วนร่วมออนไลน์ พร้อมบริหารจัดการพื้นที่และผู้คน ขณะที่พิพิธภัณฑ์บางส่วนต้องเผชิญหน้ากับการปิดตัวลงอย่างถาวร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง โรคระบาดใช้มาตราฐานแบบเดียวกันกับทุกคน ไม่มีใครสามารถรอดพ้นจากผลกระทบของโรคระบาด และโรคระบาดยังเป็นเพื่อนสนิทของความอยุติธรรม เพราะโรคระบาดได้เพิ่มความยากจน และความเปราะบางให้สูงยิ่งขึ้น

ดังนั้น พิพิธภัณฑ์ที่มีโอกาสสูงที่จะปิดตัวลงอย่างถาวรนั้นยังคงเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กที่มองหาทุนทรัพย์มาโดยตลอด ซึ่งพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ได้ทำการทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งยังรักษาประวัติศาสตร์ และประเพณีของผู้คน และสังคมของพวกเขา

สิ่งนี้ได้เตือนให้เราทราบว่าหน้าที่ของพวกเราคือการพัฒนาชุมชน ให้บริการประชาชน เก็บรักษาเรื่องราว และบอกเล่าความทรงจำของพวกเขา เราจะต้องขจัดอุปสรรคการเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ ร่วมสร้างสรรค์แต่ไม่ใช่เป็นผู้บงการ เราจะต้องร่วมมือกับชุมชนหรือปัจเจกบุคคล  บันทึกช่วงเวลาคับขันนี้เพื่อคนรุ่นหลัง หลังจากที่มนุษย์มีประสบการณ์ร่วมอันลึกซึ้งแล้ว เราจะช่วยสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ และเยียวยา ทั้งหมดนี้คือความท้าทาย และเกียรติภูมิที่พิพิธภัณฑ์จะได้รับ

เรื่องที่ศิลปะมีพลังในการรักษาเยียวยาไม่ใช่แนวคิดใหม่ หลังจากที่เกิดความบอบช้ำแล้ว พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ปลอดภัย (และจำเป็น) ซึ่งจะทำให้ผู้คนมาพบปะหรือตั้งคำถาม พร้อมรำลึกถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญในช่วงเวลานั้น แต่นี่ก็ไม่ใช่ตรรกะใหม่อะไร แต่มันจะมีความลึกซึ้งมากกว่าเดิม จากสถาณการท้องถิ่นกลายเป็นเหตุการณ์ระดับโลก และก็เป็นเช่นนี้ในทางกลับกัน

วิกฤตสภาพภูมิอากาศทั่วโลกเป็นภัยร้ายแรงต่อวิถีชีวิตของเรา ทั้งเป็นวิกฤตด้านมนุษยชนที่ร้ายแรง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นภัยต่อความมั่นคงทางอาหาร ที่อยู่อาศัย และสิ่งมีชีวิต แม้ว่าประเทศที่เป็นเกาะเล็ก ๆ


ที่ดูเหมือนจะได้รับกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศน้อยกว่าประเทศอื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วประเทศที่เป็นเกาะเล็ก ๆ กลับได้รับผลกระทบนี้มากที่สุด นี่คือภัยคุกคามที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 

ในส่วนของการยกระดับความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการดำเนินการนั้น พิพิธภัณฑ์ทุกที่ต่างมีความรับผิดชอบต่อเรื่องดังกล่าว ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนมีหน้าที่ปกป้องข้อเท็จจริงของ“เบื้องหลังความจริง”ในโลกใบนี้ พิพิธภัณฑ์จะต้องรับบทเป็นผู้พิทักษ์หลักฐาน ในขณะที่ดิฉันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ และหอศิลป์ควีนวิกตอเรีย(Queen Victoria Museum and Gallery หรือ QVMAG)นักวิทยาศาสตร์ของเราพบว่าเมื่อสภาพแวดล้อมที่เริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้น สัตว์ (แมลง) ได้ทยอยอพยพสู่ภาคใต้ เมื่อปรากฎหลักฐานชิ้นนี้ ประกอบกับหน่วยงานกำกับดูแลท้องถิ่นได้ประกาศว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้มาถึงแล้ว พิพิธภัณฑ์ได้กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหัวข้อสำคัญ[3]

อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ และหลักฐานที่ถูกเก็บรักษานั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญประการเดียว พฤติกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย ในต้นปี 2020 พิพิธภัณฑ์และสวนฮอนนีแมนได้มีประกาศการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบอย่างมาก ไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับการร่วมมือกับผู้ชมพิพิธภัณฑ์เพื่อยกระดับการรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งยังทำให้พิพิธภัณฑ์จะต้องพิจารณาธรรมเนียม และกิจกรรมของตน

วงการพิพิธภัณฑ์จำเป็นต้องคิดว่าตนเองสามารถมีส่วนร่วมประการใดที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เราจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด? เราจะเริ่มออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืนได้หรือยัง? ผู้สนับสนุนของเราจะเห็นด้วยกับค่านิยมของพวกเราหรือไม่? และในเร็ว ๆ นี้ข้อหารือว่าพิพิธภัณฑ์ได้รับเงินสนับสนุนจากบริษัทน้ำมันไม่ได้เกิดขึ้นในการประชุมคณะกรรมการ แต่กลับเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะแทน

จะทำอย่างไรกับความต้องการของผู้ลี้ภัยเนื่องจากสภาพอากาศ? หากคุณคิดว่านั่นเป็นปัญหาในอนาคต คุณคิดผิดมหันต์ เพราะปัญหานั้นได้เกิดขึ้นแล้วในปี 2020ที่ผ่านมา ทั่วโลกมีผู้คนพลัดถิ่นจำนวนกว่า 30.7 ล้านคน ซึ่งในนั้นกว่า 98% ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ[4] ประชาชนในหมู่เกาะมาร์แชลล์หลายพันคนได้ย้ายไปพักพิงที่สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ว่าจะรักษาวัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิมของตนไว้อย่างไร

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 7

ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันโดยปราศจากการถูกทำร้ายใด ๆ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้

ตำรวจใช้ความรุนแรงกับคนผิวสีได้ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านจากทั่วโลก ขบวนการเคลื่อนไหวเรื่อง “ชีวิตของคนผิวสีก็มีความหมาย” ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง การเคลื่อนไหวนี้เดิมได้มุ่งเน้นเรื่องที่ตำรวจได้ใช้ความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยม แต่เมื่อได้รับเสียงตอบรับจากทั่วโลกแล้ว ก็ขยายขอบเขตมากขึ้น ครอบคลุมถึงประเด็นการเหยียดเชื้อชาติเชิงโครงสร้างและผลกระทบที่หลงเหลือจากการล่าอาณานิคม ฯลฯ เหตุการณ์นี้ได้ทำให้ผู้คนมองเห็นอดีตและการกระทำของพิพิธภัณฑ์อย่างชัดเจนมากขึ้น
การตั้งคำถามกับการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์จากแง่มุมต่างๆ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้ว การที่ภาครัฐเรียกร้องไห้พิพิธภัณฑ์บริติชส่งคืนประติมากรรมประดับวิหารพาร์เธนอนสามารถห้วนกลับไปถึงช่วงต้นปี 1980 โดยมอริส แบร์เช่ (Maurice Berger)นักประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาสหรัฐอเมริกาตั้งคำถามว่า “หอศิลป์เป็นผู้เหยียดเชื้อชาติหรือไม่?” อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เช่นนี้ยังไม่เคยได้รับกระแสตอบรับที่มาพร้อมกับจิตวิญญาณแห่งยุคสมัยใหม่เหมือนกับตอนนี้

แม้ว่ารัฐบาลท้องถิ่นในรัฐต่างๆ (ในออสเตรเลีย) มีมาตรการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของพลเมือง แต่ที่นี่คือประเทศที่ไม่มีกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนระดับสหพันธรัฐ การใช้ชีวิตที่นี่และในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ ฉันพบว่าตนเองกำลังอยู่ในจุดยืนที่น่าขบขัน แม้ว่าทุกอย่างจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ทุกประการ แต่สถานการณ์แบบควรที่จะส่งคืนหน้าที่รักษาและเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนนั้นกลับสู่มือของปัจเจกบุคคลและองค์กร ฉันกำลังสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ นั่นก็คือหอศิลป์ชนพื้นเมืองแห่งชาติออสเตรเลีย หอศิลป์ดังกล่าวตั้งอยู่ที่อลิซสปริงส์ของนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ซึ่งเป็นพื้นที่งดงาม มีความขัดแย้ง มีวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ พร้อมมีความเปราะบางและบาดแผลระหว่างผู้คนแต่รุ่น

กลุ่มนักแสดงอย่าง “กลุ่มปลดปล่อยอาณานิคม ณ พื้นที่แห่งนี้” ( Decolonize This Place)และ“กลุ่มน้ำมันอังกฤษจะปล่อยไว้ต่อไปหรือไม่” เหล่านี้ได้ใช้วิธีการแสดงเพื่อได้มาซึ่งพื้นที่ในพิพิธภัณฑ์และดึงดูดความสนใจของผู้คนในการให้เงินทุนสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ การส่งคืนวัตถุทางวัฒนธรรม วิธีการได้มาซึ่งศิลปวัตถุ การเป็นตัวของตัวเองของชนพื้นเมืองและการทำงานของพนักงานในพิพิธภัณฑ์ บริษัท ไวซ์ มีเดีย กรุ๊ป ได้ผลิตรายการ “การนำชมประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ผ่านการคัดกรอง” (The Unfiltered History Tour) มีการถงเถียงเรื่องราว “ศิลปวัตถุที่มีข้อพิพาท” ในพิพิธภัณฑ์บริติช[5] หลายปีที่ผ่านมานี้ มีอดีตพนักงานขององค์กรวัฒนธรรมหลายแห่งได้ต่อว่าเรื่องความไม่เท่าเทียมในที่ทำงานและการเหยียดเชื้อชาติเชิงโครงสร้าง ซึ่งในนั้นมีทั้งพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแคนาดา ช่างเป็นการเสียดสีที่น่ากลัวยิ่งนัก

ตามด้วยแหล่งที่มาของวัตถุสู่ชุมชน(source communities)เรียกร้องอย่างชอบธรรมให้ส่งคืนมรดกทางวัฒนธรรมของพวกเขา เสียงของพวกเขาก็ดังขึ้นเรื่อยๆ คนรุ่นหลังของชนเผ่าราปา นุย(Rapa Nui)บนเกาะอีสเตอร์ ในปี 2018 ได้ไปพิพิธภัณฑ์บริติชทวงคืนตูปูนา Tupuna  (บรรพบุรุษ) หรืออีกชื่อหนึ่งคือรูปปั้นโมอาย โฮอา ฮากานานาอิอา (Hoa Hakananai'a) รายการพิเศษเรื่องการขโมยโฮอา ฮากานานาอิอา (Hoa Hakananai’a) ในยุคล่าอาณานิคมในรายการ “การนำชมประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ผ่านการคัดกรอง” ตาลิตา ราปู (Talita Rapu) (คนรุ่นหลังของชนเผ่าราปา นุยและผู้ว่าราชการเกาะอีสเตอร์) ได้พูดอย่างตรงไปตรงมาว่า “ชนเผ่าราปา นุยมีแต่ร่างกายเปลือกนอก แต่วิญญาณอยู่ในมือของคุณ เมื่อพวกเราไม่มีวิญญาณ ก็เปรียบเสมือนซากศพที่ดำรงอยู่บนโลกใบนี้” [6 ] นักวิจัยศิลปวัตถุชนพื้นเมืองหลายคนเข้าใจดีกว่า จิตวิญญาณของวัตถุเชิงวัฒนธรรมอยู่เคียงข้างชนเผ่า ครอบครัวและคนรุ่นหลัง ซึ่งสิ่งนี้ควรจะเป็นเรื่องปกติทั่วไปแต่ไม่ใช่กรณีพิเศษไม่ใช่หรือ? หากผู้มีกรรมสิทธิ์เดิมมองว่า “การรวมเป็นหนึ่งเดียวของร่างกายและวิญญาณเป็นทางออกที่ดีที่สุด” แล้วพิพิธภัณฑ์จะมีจุดยืนในการโต้แย้งอย่างไร? หากเราไม่ยอมปลดปล่อยตนเองออกจากการเป็นอาณานิคมอย่างกระตืนรือร้น เราก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เลวร้ายกว่าเดิมได้

ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง มาตรา 3

พวกเรามีสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง  

พวกเรามีอิสระที่จะกำหนดสถานภาพทางการเมืองและดำเนินการ พัฒนาเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมของตนได้อย่างอิสระ

ชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย [7]เป็นตัวแทนวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่บนโลกจนถึงทุกวันนี้ ทัศนศิลป์ของพวกเขาไม่ล้าสมัยและเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เมื่อศิลปะชนพื้นเมืองได้ย้ายจากก้อนหินดินไปอยู่บนกระดานวาดรูปและผ้าวาด  ร่องรอยประวัติศาสตร์ศิลปะออสเตรเลียจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจแก้ไขได้ ชวนผู้ชมทั่วโลกหลงใหล ศิลปินและชุมชนของตนได้รับประโยชน์เชิงสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ การนำเสนอเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของชนพื้นเมืองให้กับผู้ชมกลุ่มใหม่ ทั้งยังเสริมสร้างการเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น นอร์เทิร์นเทร์ริทอรีที่ฉันได้มองว่าพื้นที่นี้เป็นบ้านของตนนั้นได้กลายเป็นหอศิลป์เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและใหญ่ที่สุดในโลก และยากที่จะมองข้ามพลังสร้างสรรค์ศิลปะ ณ ที่นี้

ขณะเดียวกัน นอร์เทิร์นเทร์ริทอรีมีจำนวนชนพื้นเมืองออสเตรเลียและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสที่เยอะที่สุดในโลก 45 % ของครัวเรือนชนพื้นเมืองที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน [8] อัตราการฆ่าตัวตายของคนหนุ่มสาวสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ 3 เท่าตัว [9] เกือบ 85% ของประชากรที่ถูกคุมขังในเรือนจำนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีคือชนพื้นเมือง[10]

ดังนั้น สิ่งที่เราควรถามตัวเองคือ ไม่ใช่หอศิปล์อย่างหอศิลป์ชนพื้นเมืองแห่งชาติแห่งนี้ (ถ้าใช้ความหมายนี้ หอศิลป์อื่นฯ ก็ทำได้) ควรจะเรียกร้องสิทธิมนุษยชนหรือไม่ แต่ควรถามว่าเราควรจะเรียกร้องสิทธิมนุษยชนได้อย่างไร หากเราอยากจะมีความหมายและสร้างความหมาย เราก็ต้องสร้างสรรค์และออกแบบระบบนิเวศของเราขึ้นมาใหม่ สำหรับหอศิลป์ชนพื้นเมืองแห่งชาตินั้น นั่นหมายความว่าเราจะต้องมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้เกิดการเรียกร้อง การเป็นตัวของตัวเอง การมีสิทธิหน้าที่ร่วมกัน และการบอกเล่าความเป็นจริง หากออสเตรเลียต้องการเยียวยาบาดแผลในอดีตสู่การประนีประนอมทั่วประเทศก็จำเป็นต้องทำเช่นนี้ ซึ่งกระบวนทัศน์ทั่วไปของพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์นี้

พวกเรามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั่วโลกและความท้าทายของสิทธิมนุษยชนที่บทความนี้ได้กล่าวไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก จะมีที่ตั้งที่อยู่แห่งหนใดหรือเป้าหมายใดๆ หลายปีที่ผ่านมา องค์กรเชิงวัฒนธรรมส่วนใหญ่จะเอาผู้ชมเป็นศูนย์ ข้อดีของการเอาผู้ชมเป็นศูนย์กลางคือสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ตอบสนองความต้องการได้ตรงจุดมากขึ้น ฯลฯ แต่ตอนนี้ ถึงเวลาที่จะต้องก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง เราต้องเรียนรู้การเอามนุษยธรรมเป็นศูนย์กลาง ให้เราเริ่มต้นตั้งแต่หน้าที่ยอมรับสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน

ภาพ2 : สิทธิมนุษยชน คุณค่าของมนุษย์

ภาพ2 : สิทธิมนุษยชน คุณค่าของมนุษย์

[1] พิพิธภัณฑ์ สิทธิมนุษยชน | CAMD – หน้าเว็บไซต์

[2]นิยามในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์:เรียนรู้ได้มากกว่า 250ข้อ!——สมาคมพิพิธภัณฑ์นานาชาติ——สมาคมพิพิธภัณฑ์นานาชาติ(icom.museum)

[3]เมืองลอนเซสตัน(Launceston)ประกาศ「วิกฤติทางสภาพอากาศ」——เมืองลอนเซสตัน

[4]สถิติการย้านถิ่นเนื่องด้วยสภาพอากาศ(migrationdataportal.org)

[5]Acast

[6]Hoa Hakananai'a | Podbay

[7]รัฐธรรมนูญของออสเตรเลี่ย ณ ปัจจุบันไม่ได้กล่าวถึงชนพื้นเมืองและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสดังนั้นจึงไม่มีการยอมรับที่มาของชนเผ่า

[8]ส่งเอกสารวันที่18—สมาชิกสภาบริการสังคมภาคเหนือ (NTCOSS) —สภาเด็กภาคเหนือสนับสนุน—รับมอบหมายให้ทำวิจัย (pc.gov.au)

[9]สถาบันวิจัยการป้องกันการฆ่าตัวตายเชิงลึกภาคเหนือ(missionaustralia.com.au)

[10]北พื้นที่ทางตอนเหนือเริ่มใช้ข้อตกลงกับชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อลดอัตตราการถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว— ABC News